เสน่ห์ จามริก
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม 2516 – 25 มกราคม 2518 | |
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2544–2552 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งใหม่ |
ถัดไป | อมรา พงศาพิชญ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 จังหวัดพิจิตร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 เมษายน พ.ศ. 2565[1] (94 ปี) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ |
อาชีพ | นักวิชาการ |
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 – 9 เมษายน พ.ศ. 2565) เป็นนักวิชาการชาวไทย ได้รับยกย่องเป็นราษฎรอาวุโส และมีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง ได้แก่ ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน[2] ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การศึกษา
[แก้]- มัธยมปลาย โรงเรียนวัดราชบพิธ
- พ.ศ. 2491 ธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2500 ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
ประวัติการทำงานและผลงาน
[แก้]- กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
- กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2503-2530 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ
- พ.ศ. 2516-2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
- พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ปัจจุบันคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน
- หัวหน้าโครงการรัฐศาสตร์ศึกษา และหัวหน้าสาขาวิชาการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2518 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2518 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีบทบาททางด้านการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยหลายด้าน ดังเช่น
- หัวหน้าโครงการวิจัย "พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย" ของมูลนิธิฟอร์ด และมูลนิธิเอเชีย
- ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายกสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
- กรรมการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีกหลายแห่ง งานที่ทำล้วนเน้นหนักไปทางด้านชนบท ชุมชนท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ตำแหน่งสำคัญคือ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2552
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2529 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฏ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศ.เสน่ห์ จามริก นักรัฐศาสตร์ เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 95 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 9 เมษายน 2022.
- ↑ กษิดิศ อนันทนาธร (27 กรกฎาคม 2017). "บทเสวนาแห่งสามัญชน คนชื่อ "เสน่ห์ จามริก"". The 101 World.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 90 ตอนที่ 171 ฉบับพิเศษ หน้า 16 วันที่ 24 ธันวาคม 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 118 ตอนที่ 22ข หน้า 2 วันที่ 4 ธันวาคม 2544.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่มที่ 103 ตอนที่ 213 ฉบับพิเศษ หน้า 6 วันที่ 3 ธันวาคม 2529.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2565
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- การเมืองภาคประชาชน
- นักสิทธิมนุษยชน
- ราษฎรอาวุโส
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544