ข้ามไปเนื้อหา

เอเชียนเกมส์ 2018

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18
เมืองเจ้าภาพจาการ์ตาปาเล็มบัง[1]
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
คำขวัญแรงพลังแห่งเอเชีย[2]
(อินโดนีเซีย: Energi Asia)
ประเทศเข้าร่วม45 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม11,300 คน
กีฬา46 ชนิดกีฬา
ชนิด465 ประเภท (61 การลงโทษ)[3]
พิธีเปิด18 สิงหาคม 2561 (2561-08-18)[4]
พิธีปิด2 กันยายน 2561 (2561-09-02)
ประธานพิธีเปิดโจโก วีโดโด
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
ประธานพิธีปิดอาห์เหม็ด อัล-ฟาฮัด อัล-อาห์เหม็ด อัล-ซาบาห์
ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
นักกีฬาปฏิญาณอาร์กี ดิกาเนีย วิสนู
ผู้ตัดสินปฏิญาณWahyana
ผู้จุดคบเพลิงซูซี ซูซานติ
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาเกลอรา บังการ์โน[5]
เว็บไซต์ทางการasiangames2018.id
คนพิการ
จาการ์ตา 2018
เยาวชน



อินดอร์และมาร์เชียลอาตส์เกมส์

บีชเกมส์
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว

กีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 (อินโดนีเซีย: Pesta Olahraga Asia 2018) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ จาการ์ตา ปาเล็มบัง 2018 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญที่สุดในทวีปเอเชีย ควบคุมโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นในกรุงจาการ์ตา และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2561

ประเทศอินโดนีเซียได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557[6] ในการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 33 ณ เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ กรุงจาการ์ตาเคยเป็นเจ้าภาพมา 1 ครั้ง คือ กีฬาเอเชียนเกมส์ 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งครั้งนี้กรุงจาการ์ตาเป็นเมืองที่ 3 ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์มากกว่า 1 ครั้ง และเมืองปาเล็มบังเป็นเมืองที่อยู่นอกเขตเมืองหลวงเมืองที่ 5 ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ รวมถึงกรุงจาการ์ตาก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ 2018 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน

กระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพ

[แก้]

กระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2018 ที่ถูกรับรองโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ซึ่งครั้งได้มอบสิทธิ์นี้ให้แก่ฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมีซูราบายา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองผู้ท้าชิง ขณะดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ถอนตัวในนาทีสุดท้ายในการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 31 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นอกจากนี้แล้ว โดยครั้งแรกเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ได้กำหนดแข่งขันในปี 2018 (พ.ศ. 2561) แต่ในระหว่างการประชุมสามัญแห่งสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย สมัยที่ 28 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีมติให้ย้ายปีการแข่งขันจากปี 2018 ไปยังปี 2019 (พ.ศ. 2562) ซึ่งเป็นปีก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[7]

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศในการถอนสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557[8]

เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 คณะผู้บริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้รับรองให้ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ซึ่งครั้งนี้ได้ย้ายปีการแข่งขันจากปี 2019 ไปยังปี 2018 เช่นเดิม[9] เพราะในปี 2019 ประเทศอินโดนีเซียจะมีการจัดเลือกตั้งประธานาธิบดี[10]

ครั้งที่ 1 (เอเชียนเกมส์ 2018)

[แก้]

เมืองที่ผ่านการคัดเลือก

[แก้]
ผลการตัดสิน[11][12]
เมือง ประเทศ คะแนน
ฮานอย เวียดนาม เวียดนาม 29
ซูราบายา อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 14
เมือง ประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ผลการแข่งขัน
ฮานอย  เวียดนาม คณะกรรมการโอลิมปิกเวียดนาม ชนะเลิศ
เวียดนามได้เข้าร่วมการคัดเลือกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554[13] ซึ่งเวียดนามเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ 2003 (พ.ศ. 2546) และได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนบีชเกมส์ 2016 (พ.ศ. 2559) ซึ่งรัฐบาลเวียดนามจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30 ล้านบาทไทย แก่เมืองที่ได้รับเลือก[14]
ซูราบายา  อินโดนีเซีย คณะกรรมการโอลิมปิกอินโดนีเซีย รองชนะเลิศ
ทางการอินโดนีเซียได้อ้างว่า ถูกสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียสนับสนุนและขอให้ร่วมการคัดเลือกในครั้งนี้[15][16] ซูราบายาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศอินโดนีเซีย รองจากจาการ์ตา ด้วยประชากรมากกว่า 2.7 ล้านคน (5.6 ล้านในเขตปริมณฑล) อินโดนีเซียเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ 1962 (พ.ศ. 2505) ณ จาการ์ตา หลังจากที่พ่ายแพ้ไปทางการอินโดนีเซียได้อ้างว่าที่ฮานอยชนะ เกิดมาจากอิทธิพลของทางการจีนที่จะลงทุนในประเทศเวียดนาม[11]

เมืองที่ออกจากการคัดเลือก

[แก้]
เมือง ประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ผลการแข่งขัน
ดูไบ  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยกเลิก
เป็นครั้งที่สองที่ดูไบได้ร่วมการคัดเลือก หลังจากที่เคยร่วมการคัดเลือกกีฬาเอเชียนเกมส์ 2014 (พ.ศ. 2557)[17] อย่างไรก็ตามทางดูไบได้ยกเลิกการคัดเลือกในนาทีสุดท้าย โดยหวังว่าจะร่วมคัดเลือกอีกครั้งในอนาคต[18]

ความกังวลและการถอนตัว

[แก้]
งบประมาณจัดการแข่งขันครั้งต่างๆ
ปี เมือง พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ[19]
2002 เกาหลีใต้ ปูซาน 2.9
2006 ประเทศกาตาร์ โดฮา 2.8
2010 จีน กว่างโจว 20
2014 เกาหลีใต้ อินช็อน 1.6

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศเวียดนามเกรงว่าอาจต้องใช้งบประมาณถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทไทย) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ นอกจากนี้สนามแข่งขันที่จะใช้จัดการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นสนามใหม่ไม่ได้ถูกใช้ในกีฬาซีเกมส์ 2003[20] ถือเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการก่อสร้าง นอกจากนี้อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเวียดนามยังออกมากล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดการแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้สนับสนุนในเรื่องของการท่องเที่ยวในเวียดนาม[21]

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557 ประธานกรมสามัญการกีฬาและการฝึกอบรมทางกายภาพของเวียดนาม ออกมาแสดงความมั่นใจว่าร้อยละ 80 ของสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่และงบประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 พันล้านบาทไทย) ก็เพียงพอสำหรับการจัดการแข่งขัน[19] อีกทั้งธนาคารโลก ออกมาประกาศว่า ไม่มีเงินให้เวียดนามกู้ยืมสำหรับนำไปใช้เป็นงบประมาณก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อจัดการแข่งขันครั้งนี้[22]

ในที่สุด วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 เหงียน เติ๊น สุง นายกรัฐมนตรีของเวียดนาม ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการ ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน โดยเขาอ้างว่าปัญหาเศรษฐกิจและภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ หลังจากการตัดสินใจดังกล่าว ได้มีสถิติออกมาว่า ประชาชนของเวียดนามส่วนใหญ่ เห็นด้วยสำหรับการตัดสินใจถอนตัวในครั้งนี้[23]

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ประกาศว่าจะไม่มีค่าปรับที่ใช้เป็นบทลงโทษสำหรับการถอนตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน[24]

ครั้งที่ 2 (เอเชียนเกมส์ 2018)

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในระหว่างการประชุมของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่คูเวตซิตี ประเทศคูเวต ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองเจ้าภาพหลักสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ และใช้เมืองปาเล็มบัง และบันดุง เป็นเมืองรอง สำหรับการจัดการแข่งขัน แต่เลื่อนจากแผมเดิมจะจัดในปี 2019 (พ.ศ. 2562) มาเป็นปี 2018 (พ.ศ. 2561) เนื่องจากในปี 2019 ประเทศอินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[25]

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557 ประเทศอินโดนีเซีย ได้ลงนามในสัญญาเป็นเมืองเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 โดยมีประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินโดนีเซีย รีตา ซูโบโว ผู้ว่าราชการจาการ์ตา บาซูกี จาฮายา ปูร์นามา และผู้ว่าการเกาะสุมาตรา อเล็กซ์ นอร์ดิน เข้าร่วมในพิธีนี้[26]

ความเตรียมพร้อม

[แก้]

สัญลักษณ์

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 ได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ระหว่างการเฉลิมฉลองวันกีฬาแห่งชาติ สัญลักษณ์แบบแรกมีลักษณะคล้ายกับ นกปักษาสวรรค์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ยากในประเทศอินโดนีเซีย[27]

ในเดือนมกราคม 2559 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ยกเลิกสัญลักษณ์แบบแรกไป หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเรื่องความทันสมัย และลักษณะของสัญลักษณ์ ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เปิดการแข่งขันเพื่อออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ ภายใต้คำขวัญ "Energy of Asia" และได้ประกาศรางวัลชนะเลิศเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยสัญลักษณ์แบบใหม่ได้แรงบันดาลใจจากหลังคาของสนามกีฬาเกลอรา บังการ์โน[28][29][30] ส่วนสัญลักษณ์นำโชคใหม่ได้แรงบันดาลใจจากสัตว์ที่หาพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย อาทิ นกปักษาสวรรค์ ("Bhin Bhin"), กวางบาวีน ("Atung") และแรดชวา ("Kaka")[31]

กิจกรรมและความบันเทิง

[แก้]

ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดงานการนับถอยหลังสู่กีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ณ อนุสาวรีย์แห่งชาติ ในจาการ์ตา และ ป้อมกูโตเบซัก ในเมืองปาเล็มบัง โดยภายในงานนี้มีศิลปินทั้งในประเทศอินโดนีเซีย และต่างประเทศ อาทิ วงเกิลส์เจเนอเรชัน จากประเทศเกาหลีใต้ และนอกจากนี้มีประธานาธิบดีโจโก วีโดโด เป็นประธานในพิธี[32][33]

สถานที่

[แก้]

การแข่งขันครั้งนี้ได้สร้างสนามใหม่ และปรับปรุงสนามที่มีอยู่เดิมใน 4 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ จาการ์ตา, จังหวัดสุมาตราใต้, จังหวัดบันเติน และจังหวัดชวาตะวันตก ซึ่งครั้งนี้ได้แบ่งเขตการแข่งขันเป็น 4 เขต ได้แก่ ในจาการ์ตา 3 เขต และเมืองปาเล็มบัง, จังหวัดสุมาตราใต้ 1 เขต โดยที่จังหวัดบันเติน และจังหวัดชวาตะวันตก จะรองรับการแข่งขันโดยมีสนามแข่งขัน 15 สนาม และสนามฝึกซ้อม 11 สนาม[34] ซึ่งสนามที่ใช้ในการแข่งขัน และฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขันครั้งนี้จะมีทั้งหมด 80 สนาม[35] ซึ่งจะมีสนามบางส่วนที่ได้สร้างไว้ตอนกีฬาซีเกมส์ 2011 มาใช้ในการแข่งขัน เพื่อตัดค่าใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแข่งขันครั้งนี้[36]

การขนส่ง

[แก้]

การเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ในด้านการขนส่ง[37] ปาเลมบังจะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งโดยการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา 24.5 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมุฮัมหมัด บาดารูดดินที่ 2 ไปยังจากาบาริงสปอร์ตซิตี[38] สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอื่น ๆ เช่น อุโมงค์, ทางยกระดับและสะพาน จะถูกสร้างขึ้นอยู่ในเมือง[39]

ข้อมูลการแข่งขัน

[แก้]

สนามแข่งขัน

[แก้]

แม่แบบ:สนามแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018

ชนิดกีฬา

[แก้]
กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2018
กีฬาสาธิต

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน

[แก้]

สมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยได้มีการตกลงกันว่าประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้จะเข้าร่วมแข่งขันในนามของทีมรวมเฉพาะกิจในบางชนิดกีฬา เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018

ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน[40]

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

[แก้]
 OC  พิธีเปิด  ●   รอบคัดเลือก  1  รอบชิงชนะเลิศ  CC  พิธีปิด
สิงหาคม/กันยายน 10
ศ.
11
ส.
12
อา.
13
จ.
14
อ.
15
พ.
16
พฤ.
17
ศ.
18
ส.
19
อา.
20
จ.
21
อ.
22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
ส.
26
อา.
27
จ.
28
อ.
29
พ.
30
พฤ.
31
ศ.
1
ส.
2
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
พิธีการ OC CC
กีฬาทางน้ำ – ว่ายน้ำ 7 7 7 8 6 6 41
กีฬาทางน้ำ – โปโลน้ำ 1 1 2
ยิงธนู 4 4 8
กีฬาทางน้ำ – ระบำใต้น้ำ 1 1 2
กรีฑา 4 11 7 7 9 10 48
แบดมินตัน 2 2 3 7
เบสบอล – เบสบอล 1 1
บาสเกตบอล – 5 x 5 2 2
บาสเกตบอล – 3 x 3 2 2
โบว์ลิ่ง 1 1 1 1 2 6
มวยสากล 10 10
บริดจ์ 3 3 6
เรือแคนู – สลาลม 2 2 4
เรือแคนู – สปรินต์ 6 6 17
เรือแคนู – เรือประเพณี 2 2 1 5
จักรยาน – บีเอ็มเอ็กซ์ (เรซ) 2 2
จักรยาน – จักรยานเสือภูเขา 2 2 2
จักรยาน – ถนน M M M 4
จักรยาน – ลู่ M M M M M 10
กีฬาทางน้ำ – กระโดดน้ำ 2 2 2 2 2 10
ขี่ม้า – ศิลปะการบังคับม้า M M 2
ขี่ม้า – อีเวนติ้ง M 2
ขี่ม้า – กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง M M 2
ฟันดาบ M M M M M M 12
ฟุตบอล 1 1 2
กอล์ฟ M 4
ยิมนาสติก – สากล M M M M M 14
ยิมนาสติก – ลีลา M M 2
ยิมนาสติก – แทรมโพลีน M 2
แฮนด์บอล M M 2
ฮอกกี้ 1 1 2
เจ็ทสกี M M M 4
ยูโด M M M M 15
กาบัดดี 2 2
คาราเต้ M M M 13
ศิลปะการต่อสู้ – ยิวยิตสู M M M 9
ศิลปะการต่อสู้ – คูราช M M M 8
ศิลปะการต่อสู้ – ปันจักสีลัต M M 16
ศิลปะการต่อสู้ – แซมโบ M M 6
ศิลปะการต่อสู้ – วูซู M M M M M 15
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ M M 2
รมร่อน M M 6
โรลเลอร์สปอร์ต – สเกตความเร็ว M 2
โรลเลอร์สปอร์ต – สเกตบอร์ด M 4
เบสบอล – ซอฟท์บอล 1 1
เรือพาย M M 15
รักบี้ 7 คน M 2
เรือใบ M 10
เซปักตะกร้อ M M M 6
ยิงปืน M M M M M M M M 15
ปีนผา M M M 6
สควอช M M 4
เทเบิลเทนนิส M M M 5
เทควันโด M M M M M 12
เทนนิส – เทนนิส M M 7
เทนนิส – ซอฟท์เทนนิส M M M M 7
ไตรกีฬา 1 1 1 3
วอลเลย์บอล – ชายหาด 1 1 2
วอลเลย์บอล – ในร่ม 1 1 2
ยกน้ำหนัก 2 2 1 2 2 2 2 2 15
มวยปล้ำ 5 5 4 4 18
จำนวนเหรียญทองแต่ละวัน
จำนวนเหรียญทองสะสม
สิงหาคม/กันยายน 10
ศ.
11
ส.
12
อา.
13
จ.
14
อ.
15
พ.
16
พฤ.
17
ศ.
18
ส.
19
อา.
20
จ.
21
อ.
22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
ส.
26
อา.
27
จ.
28
อ.
29
พ.
30
พฤ.
31
ศ.
1
ส.
2
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

  *  เจ้าภาพ (อินโดนีเซีย)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 จีน (CHN)1329266290
2 ญี่ปุ่น (JPN)755773205
3 เกาหลีใต้ (KOR)495870177
4 อินโดนีเซีย (INA)*31244398
5 อุซเบกิสถาน (UZB)20242569
6 อิหร่าน (IRI)20202262
7 จีนไทเป (TPE)17193167
8 อินเดีย (IND)16233170
9 คาซัคสถาน (KAZ)15184376
10 เกาหลีเหนือ (PRK)12121337
11–37Remaining77118205400
รวม (37 ประเทศ)4644656221551

การถ่ายทอดสด

[แก้]

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ที่ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสด

^1 – ครอบคลุมใน 22 ประเทศในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการขายลิขสิทธิ์ย่อยแก่ประเทศต่างๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Odi Aria Saputra (10 เมษายน 2558). "Keppres Asian Games Turun Pertengahan April" (ภาษาอินโดนีเซีย). ศรีวิชัย โพสต์.
  2. Prasetya, Muhammad Hary (12 กุมภาพันธ์ 2559). "Tema Asian Games 2018, The Energy of Asia, Ini Artinya". Superball.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-01-06.
  3. "Japan's swimmer Ikee named Asian Games' MVP". Xinhuanet.com. Xinhua News Agency. 2 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  4. "18-8-18 start planned for 18th Asian Games". Olympic Council of Asia. 27 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  5. Folmer (8 สิงหาคม 2557). "BMW Stadium to Hold Opening Event of the 2018 Asian Games". Berita Jakarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  6. "Asian Games: Indonesia to host Asiad in 2018, says OCA chief". แชนแนล นิวส์ เอเชีย. 19 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-22. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "亚运会举办时间将推后一年 项目缩减至35个大项". gz2010.cn (ภาษาจีน). 4 กรกฎาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  8. "Vietnam backs out as hosts of 2019 Asian Games". รอยเตอร์ส. 17 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-17. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  9. "Asian Games: Indonesia to host Asiad in 2018, says OCA chief". แชนแนล นิวส์ เอเชีย. 19 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2557.
  10. Tjahjo Sasongko (28 กรกฎาคม 2557). "Setelah 1962, Jakarta Kembali Tuan Rumah Asian Games" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas.com.
  11. 11.0 11.1 Adamrah, Mustaqim (9 พฤศจิกายน 2555). "RI loses Asian Games bid to Vietnam". เดอะ จาการ์ตา โพสต์.
  12. Tam, Aaron (9 พฤศจิกายน 2555). "Hanoi wins race to host 2019 Asian Games: officials". AFP.[ลิงก์เสีย]
  13. "Viet Nam launches Asian Games bid". เอเชียวัน. 7 มิถุนายน 2554.
  14. "Hanoi wins right to host 2019 Asian Games". ไชน่า เดลี่. 9 พฤศจิกายน 2555.
  15. "Big chance for RI to host 2019 Asian Games: KONI". จาการ์ตา โพสต์. 17 มีนาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-13.
  16. "Menpora Terus Jajaki Kans Indonesia Gelar Asian Games 2019" (ภาษาอินโดนีเซีย). detik sport. 26 มกราคม 2555.
  17. "阿联酋迪拜正在考虑申办2018年亚运会". Xinhuanet. 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. Tam, Aaron (9 พฤศจิกายน 2555). "Hanoi wins race to host 2019 Asian Games: officials". AFP.[ลิงก์เสีย]
  19. 19.0 19.1 "80% facilities to host 2019 Asiad available now in Vietnam". tuoitrenews.vn. 12 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-15. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  20. "Vietnam lawmakers concerned by mounting cost of Asian Games". ทันห์เนียน. 26 มีนาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  21. "Vietnam PM could pull plug on Asian Games". ทันห์เนียน. 7 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  22. "WB confirms no loans for Asiad facilities". Vietnamnet. 10 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  23. "Vietnamese hail PM's decision to relinquish 2019 Asiad". Tuoi Tre. 17 เมษายน 2557.
  24. "Asian Games: No penalty for Vietnam pullout, says OCA". แชนแนล นิวส์ เอเชีย. 24 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-24. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  25. Tjahjo Sasongko (28 กรกฎาคม 2557). "Setelah 1962, Jakarta Kembali Tuan Rumah Asian Games" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas.com.
  26. "Indonesia to host 18th Asian Games in 2018". สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย. 20 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-21. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
  27. Prathivi, Niken (10 กันยายน 2558). "Asian Games logo expected to inspire high performance". เดอะ จาการ์ตา โพสต์.
  28. Wardhani, Dewanti A. (4 มีนาคม 2559). "Ministry to change logo, mascot after outcry". เดอะ จาการ์ตา โพสต์.
  29. Etchells, Daniel (29 กรกฎาคม 2559). "Official logo and mascots relaunched for 2018 Asian Games". Inside the Games.
  30. Ina Parlina (29 กรกฎาคม 2559). "RI gets down to business with new logo, cute mascots". เดอะ จาการ์ตา โพสต์.
  31. "Asian Games 2018 Identity". INASGOC. 18 สิงหาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
  32. "Indonesian President to launch one-year countdown to 2018 Asian Games". Inside the Games.
  33. "Asian Games Countdown". จาการ์ตาโกลบ.
  34. "Indonesia Works Hard to Complete Asian Games 2018 Facilities". Tempo.
  35. "RI preparing Asian Games venues in record time". เดอะ จาการ์ตา โพสต์.
  36. Goddard, Emily (8 มกราคม 2558). "Preparations for Jakarta 2018 Asian Games praised by OCA President". inside the games.
  37. Tristia Tambun, Lenny (7 มกราคม 2558). "Hadapi Asian Games 2018, Djarot Minta Pembangunan MRT Dikebut" (ภาษาอินโดนีเซีย). Berita Satu. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. Gumiwang, Ringkang (March 9, 2558). "Proyek Monorel Bandara-Jakabaring Batal, Pemprov Sumsel Pilih LRT" (ภาษาอินโดนีเซีย). Bisnis. สืบค้นเมื่อ April 10, 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  39. "Jadi Tuan Rumah, Pemkot Targetkan 2017 Siap Sambut Asian Games" (ภาษาอินโดนีเซีย). Rakyat Merdeka Online Sumsel. March 9, 2558.[ลิงก์เสีย]
  40. "Asian Games 2018 Jakarta Palembang". Asian Games 2018 Jakarta Palembang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  41. 41.0 41.1 {her=Olympic.org|date=27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558}}
  42. ช่องเวิร์คพอยท์ ผนึกพลัง "ไทยเชียร์ไทย" พร้อมถ่ายทอดสด "เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18" อัดแน่นตลอดทั้งวัน ทุกแพลตฟอร์ม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เอเชียนเกมส์ 2018 ถัดไป
เอเชียนเกมส์ 2014
(อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้)

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
(ค.ศ. 2018)
เอเชียนเกมส์ 2022
(หางโจว ประเทศจีน)