ข้ามไปเนื้อหา

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
Two posters, one with photographs and the other hand-drawn, both depicting a young boy with glasses, an old man with glasses, a youosopher's Stone". The right poster has a long-nosed goblin and blowtorches, with the title "Harry Potter and the Sorcerer's Stone".
ใบปิดภาพยนตร์ฉบับนานาชาติแสดงชื่อเรื่อง Philosopher's Stone (ซ้าย) และฉบับอเมริกันแสดงชื่อเรื่อง Sorcerer's Stone (ขวา)
กำกับคริส โคลัมบัส
บทภาพยนตร์สตีฟ โคล์ฟส์
สร้างจากแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
โดย เจ. เค. โรว์ลิง
อำนวยการสร้างเดวิด เฮย์แมน
นักแสดงนำ
กำกับภาพจอห์น ซีล
ตัดต่อริชาร์ด แฟรนซิส-บรูซ
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์[2]
วันฉาย

  • 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 (2001-11-16) (สหราชอาณาจักรและสหรัฐ)
ความยาว152 นาที[3]
ประเทศ
  • สหราชอาณาจักร
  • สหรัฐ[1][4]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ทำเงิน1.018 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (อังกฤษ: Harry Potter and the Philosopher's Stone) เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซี ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2001 กำกับโดย คริส โคลัมบัส และจัดจำหน่ายโดย วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์ ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิง เมื่อปี ค.ศ. 1997 ภาพยนตร์อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเขียนบทภาพยนตร์โดย สตีฟ โคล์ฟส์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ แสดงนำโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์ เป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์, รูเพิร์ต กรินต์ เป็น รอน วีสลีย์ และ เอ็มมา วอตสัน เป็น เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในช่วงปีแรกของเขาที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และพบว่าเขาเป็นพ่อมดที่มีชื่อเสียง จึงได้เริ่มศึกษาวิชาเวทมนตร์

วอร์เนอร์บราเธอส์ซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์จากหนังสือเมื่อ ค.ศ. 1999 เป็นเงิน 1 ล้านปอนด์ การสร้างภาพยนตร์เริ่มต้นในสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 2000 คริส โคลัมบัส เป็นผู้กำกับที่ถูกเลือกให้สร้างภาพยนตร์ จากรายชื่อตัวเลือกผู้กำกับ ซึ่งมี สตีเวน สปีลเบิร์กและร็อบ เรเนอร์ เจ. เค. โรว์ลิง ต้องการให้นักแสดงทั้งหมดเป็นชาวอังกฤษ โดยสามนักแสดงหลักได้รับการเลือกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 หลังการเปิดประกาศรับคัดเลือกนักแสดง ภาพยนตร์ถ่ายทำในลิฟส์เดนฟิล์มสตูดิโอและในอาคารประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2000 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2001

ภาพยนตร์ฉายในโรงภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และรายได้ ภาพยนตร์ทำเงิน 974 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในบ็อกซ์ออฟฟิซทั่วโลก ในช่วงการฉายครั้งแรก และทำเงินจนถึง 999 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายใหม่หลายครั้ง กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 2001 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สอง ในเวลานั้น ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อในหลากหลายรางวัล รวมไปถึง รางวัลออสการ์ สาขารางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลออสการ์ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยมและรางวัลออสการ์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ตามมาด้วยภาคต่ออีกเจ็ดเรื่อง เริ่มตั้งแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ในปี ค.ศ. 2002 และจบที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ในปี ค.ศ. 2011 เป็นเวลาเกือบสิบปีตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกฉาย

โครงเรื่อง

[แก้]

ในกลางดึกของคืนวันหนึ่ง อัลบัส ดัมเบิลดอร์และมิเนอร์วา มักกอนนากัล ศาสตราจารย์แห่งโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ พร้อมกับ รูเบอัส แฮกริด ผู้ดูแลแผ่นดินฮอกวอตส์ ได้นำทารกเพิ่งกำพร้าชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ มาส่งที่บ้านของครอบครัวเดอร์สลีย์ ญาติของเขาที่ยังเหลืออยู่

สิบปีต่อมา แฮร์รี่ต้องต่อสู้กับชีวิตที่ไม่ปะติดปะต่อกับครอบครัวเดอร์สลีย์ หลังก่ออุบัติเหตุโดยไม่ได้ตั้งใจ ระหว่างไปเที่ยวสวนสัตว์กับครอบครัว แฮร์รี่เริ่มได้รับจดหมายที่ไม่ได้ร้องขอจากนกฮูก ครอบครัวเดอร์สลีย์หนีไปยังเกาะแห่งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงจดหมาย แฮกริดปรากฏตัวอีกครั้งและบอกแฮร์รี่ว่า เขาคือพ่อมดและได้รับการยอมรับให้เข้าเรียนในโรงเรียนฮอกวอตส์ ต่อต้านความปรารถนาของเดอร์สลีย์

แฮกริดพาแฮร์รี่ไปตรอกไดแอกอนเพื่อซื้อของไว้ใช้สำหรับการเรียนในฮอกวอตส์ แฮกริดซื้อนกฮูกสัตว์เลี้ยงชื่อว่า เฮดวิก เป็นของขวัญวันเกิดแฮร์รี่ แฮกริดบอกแฮร์รี่ว่า พ่อแม่ของแฮร์รี่ เจมส์และลิลลี พอตเตอร์ เสียชีวิตเพราะถูกคำสาปพิฆาต ด้วยมือของ ลอร์ดโวลเดอมอร์ พ่อมดที่ร้ายกาจและทรงพลัง แฮร์รี่เป็นคนเดียวที่รอดชีวิตจากความโกลาหล และกลายเป็นที่รู้จักในโลกเวทมนตร์ว่าเป็น "เด็กชายผู้รอดชีวิต"

แฮร์รี่เข้ามาในสถานีรถไฟคิงส์ครอสเพื่อขึ้นรถไฟไปฮอกวอตส์ เขาได้พบกับนักเรียนคนอื่นสามคน ได้แก่ รอน วีสลีย์ ผู้ที่ตีสนิทกับแฮร์รี่ได้อย่างรวดเร็ว, เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ แม่มดอัจฉริยะที่เกิดมาจากพ่อแม่ที่เป็นมักเกิล และ เดรโก มัลฟอย เด็กชายจากครอบครัวพ่อมดที่ร่ำรวย ซึ่งเขากลายเป็นคู่แข่งของแฮร์รี่ในทันที หลังจากเดินทางมาถึงโรงเรียน เหล่านักเรียนได้รวมตัวกันที่ห้องโถงใหญ่ ที่นักเรียนชั้นปีที่หนึ่งทั้งหมดจะถูกแบ่งโดยหมวกคัดสรร ไปอยู่ตามบ้านต่าง ๆ ได้แก่ กริฟฟินดอร์, ฮัฟเฟิลพัฟ, เรเวนคลอและสลิธีริน ถึงแม้ว่าหมวกคัดสรรจะตัดสินใจให้แฮร์รี่ไปอยู่บ้านสลิธีรินกับเดรโก แต่แฮร์รี่ได้ไปอยู่บ้านกริฟฟินดอร์ ร่วมกับรอนและเฮอร์ไมโอนี

ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เริ่มเรียนรู้เวทมนตร์คาถาและค้นพบเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของเขาและพ่อแม่ของเขา แฮร์รีถูกเกณฑ์เข้าร่วมทีมควิดดิชของกริฟฟินดอร์ ในตำแหน่งซีกเกอร์ หลังเขากู้ รีเมมบรอล ของเนวิล ลองบัตทอม นักเรียนกริฟฟินดอร์ สำเร็จ ระหว่างที่แฮร์รี่, รอนและเฮอร์ไมโอนี กำลังเดินทางกลับหอพักในคืนวันหนึ่ง บันไดได้เปลี่ยนทาง ทำให้พวกเขาเข้าไปในชั้นต้องห้ามของฮอกวอตส์ ทั้งสามคนค้นพบ สุนัขยักษ์สามหัว ชื่อว่า ปุกปุย ในเขตหวงห้ามของโรงเรียน ต่อมา รอนล้อเลียนเฮอร์ไมโอนี หลังเธอทำให้เขาอับอายในชั่วโมงเรียนคาถายกของ ทำให้เฮอร์ไมโอนีขังตัวเองในห้องน้ำหญิง เธอถูกโจมตีโดยโทรลล์ที่หลุดออกมา แต่แฮร์รี่กับรอนช่วยเธอไว้และคืนดีกับเธอ

ต่อมา ทั้งสามคนพบว่าปุกปุยกำลังปกป้อง ศิลาอาถรรพ์ วัตถุที่มีพลังสามารถเปลี่ยนโลหะใด ๆ ให้กลายเป็นทองคำและผลิตน้ำยาที่ให้ความเป็นอมตะ แฮร์รี่สงสัย เซเวอร์รัส สเนป อาจาร์ยสอนวิชาปรุงยาและหัวหน้าของบ้านสลิธีริน เป็นคนพยายามที่จะขโมยศิลานี้ เพื่อให้โวลเดอมอร์กลับมามีร่างกายอีกครั้ง แฮกริดเผลอหลุดปากไปว่า ปุกปุยจะหลับถ้าเปิดเพลงให้มันฟัง แฮร์รี่, รอนและเฮอร์ไมโอนี ตัดสินใจในคืนนั้นว่า จะพยายามและตามหาศิลาให้ได้ก่อนที่สเนปจะเอาไป พวกเขาพบว่า ปุกปุยนั้นหลับแล้วและเผชิญหน้ากับด่านป้องกันต่าง ๆ ได้แก่ พืชที่มีพิษร้ายแรงที่เรียกว่าต้นกับดักมาร, ห้องที่เต็มไปด้วยกุญแจบินดุร้ายที่ทำให้แฮร์รี่บาดเจ็บและเกมหมากรุกยักษ์ ซึ่งทำให้รอนสลบ

หลังผ่านด่านต่าง ๆ มาได้ แฮร์รี่ค้นพบว่าแท้จริงแล้ว ควิรินัส ควีเรลล์ อาจารย์สอนวิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืด คือคนที่พยายามจะขโมยศิลา สเนปคือคนที่ปกป้องแฮร์รี่มาโดยตลอด ควีเรลล์ถอดผ้าโพกหัวออกและเผยให้เห็นโวลเดอมอร์ที่อ่อนแอซึ่งอาศัยอยู่ที่ด้านหลังศีรษะของเขา แฮร์รี่พบว่ามีศิลาอยู่ในความครอบครองของเขา ด้วยคาถาที่ดัมเบิลดอร์ได้วางเอาไว้ โวลเดอมอร์พยายามต่อรองกับแฮร์รี่ โดยเอาศิลาแลกกับการชุบชีวิตพ่อแม่ของแฮร์รี่ แต่แฮร์รี่ปฏิเสธ ควีเรลล์พยายามจะฆ่าแฮร์รี่ แต่แฮร์รี่ฆ่าเขาด้วยการสัมผัสจนเผาไหม้ผิวหนังของเขากลายเป็นฝุ่น วิญญาณของโวลเดอมอร์ผงาดขึ้นมาจากเถ้าถ่านและบินผ่านตัวแฮร์รี่ทำให้เขาหมดสติ

แฮร์รี่ได้การฟื้นฟูที่ห้องพยาบาลของโรงเรียน โดยมีดัมเบิลดอร์อยู่ข้างกายเขา ดัมเบิลดอร์อธิบายว่าศิลานั้นถูกทำลายแล้วและรอนกับเฮอร์ไมโอนีนั้นปลอดภัย ดัมเบิลดอร์เปิดเผยว่าแฮร์รี่เอาชนะควีเรลล์ได้อย่างไร เมื่อแม่ของแฮร์รี่เสียชีวิตจากการพยายามจะช่วยชีวิตเขา การเสียชีวิตของเธอได้มอบคาถาป้องกันที่เกิดจากความรักที่ต่อต้านโวลเดอมอร์ให้กับแฮร์รี่ แฮร์รี่, รอนและเฮอร์ไมโอนี ได้รับรางวัลเป็นคะแนนให้กับบ้านของพวกเขา สำหรับการแสดงความกล้าหาญ ทำให้คะแนนเท่ากับสลิธีริน ซึ่งมีคะแนนเป็นอันดับที่หนึ่ง ดัมเบิลดอร์ได้มอบสิบคะแนนให้กับเนวิลล์ สำหรับความพยายามที่จะหยุดทั้งสามคน ทำให้กริฟฟินดอร์ได้ถ้วยรางวัลบ้านดีเด่น แฮร์รี่กลับบ้านในช่วงฤดูร้อนและมีความสุขที่ในที่สุดก็มีบ้านที่แท้จริงในฮอกวอตส์

นักแสดง

[แก้]

ความสำเร็จของภาพยนตร์

[แก้]

ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ซึ่งเข้าฉายในปี พ.ศ. 2544สามารถทำรายได้มากกว่า976ล้านเหรียญขึ้นเป็นภาพยนตร์ที่สร้างรายได้มากที่สุดในอันดับที่2ในเวลานั้นรองจากภาพยนตร์เรื่อง ไททานิก แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคแรกในแบบฉบับภาพยนตร์ยังคงทำรายได้สูงสุดในบรรดาภาพยนตร์ทุกภาคอีกด้วย ปัจจุบันภาพยนตร์เรื่องแฮรฺรี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์อยู่ในอันดับที่5 ของภาพยนตร์ที่สร้างรายได้มากที่สุดในบรรดาแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์3สาขาอีกด้วย

สื่ออื่นๆ

[แก้]

เกม

[แก้]

ภายหลังจากแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ในแบบภาพยนตร์ได้เข้าฉายทั่วโลก บริษัทเกมจากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างบริษัทElectronic Artsก็ได้ผลิตแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ในแบบฉบับวิดีโอเกมซึ่งสามารถเล่นได้กับ เพลย์สเตชัน เกมบอย เป็นต้น ภายหลังบริษัทElectronic Artsก็ได้ผลิตแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์รูปแบบวิดีโอเกมให้สามารถเล่นได้กับเพลย์สเตชัน2ได้อีกด้วย คุณสมบัติของเกมนี้คือสามารถเสกเวทมนตร์ต่างๆได้เหมือนกับภาพยนตร์ และยังสามารถเล่นควิดดิชได้อีกด้วย

ดนตรีประกอบภาพยนตร์

[แก้]

ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ได้มีดนตรีประกอบภาพยนตร์มากมายทำให้ได้มีการรวบรวมดนตรีประกอบภาพยนตร์ทุกเพลงลงในแผ่นดนตรีอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีเพลง Hedwig's Theme ที่เป็นดนตรีเอกลักษณ์ของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกๆภาคอีกด้วย ดนตรีในอัลบั้มเพลงมีดังนี้

  1. "Prologue"
  2. "Harry's Wondrous World"
  3. "The Arrival of Baby Harry"
  4. "Visit to the Zoo and Letters from Hogwarts"
  5. "Diagon Alley and the Gringotts Vault"
  6. "Platform Nine-and-Three-Quarters and the Journey to Hogwarts"
  7. "Entry into the Great Hall and the Banquet"
  8. "Mr. Longbottom Flies"
  9. "Hogwarts Forever! and the Moving Stairs"
  10. "The Norwegian Ridgeback and a Change of Season"
  11. "The Quidditch Match"
  12. "Christmas at Hogwarts"
  13. "The Invisibility Cloak and the Library Scene"
  14. "Fluffy's Harp"
  15. "In the Devil's Snare and the Flying Keys"
  16. "The Chess Game"
  17. "The Face of Voldemort"
  18. "Leaving Hogwarts"
  19. "Hedwig's Theme"

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Harry Potter and the Philosopher's Stone (aka Harry Potter and the Sorcerer's Stone)". British Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  2. "Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)". AFI Catalog of Feature Films. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  3. "Harry Potter and the Philosopher's Stone (PG)". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
  4. "Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)". British Film Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2017. สืบค้นเมื่อ 26 December 2017.
  5. 5.0 5.1 "Harry Potter and the Sorcerer's Stone". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง