โอภาส รองเงิน
โอภาส รองเงิน | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย |
คู่สมรส | วนิดา รองเงิน |
โอภาส รองเงิน (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 3 สมัย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพัทลุง
ประวัติ
[แก้]โอภาส รองเงิน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายอ่ำ รองเงิน และ นางหนูจับ รองเงิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมรสกับนางวนิดา รองเงิน (สกุลเดิม : อินทรกุล) มีบุตรสาวคือแพทย์หญิงภาสินี รองเงิน
การทำงาน
[แก้]โอภาส เคยรับราชการเป็นปลัดอำเภอปากพะยูน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอปากพะยูนอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภอเมืองชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2525[1]
งานการเมือง
[แก้]โอภาส ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 พร้อมกับบิดา แต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 และได้รับจนถึง พ.ศ. 2531 [2] เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531
ต่อมา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพัทลุง ใน พ.ศ. 2543 และได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว
ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]โอภาส รองเงิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) → พรรคเอกภาพ
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]โอภาส รองเงิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ศึกเลือกตั้ง อบจ.พัทลุงเข้มข้น 3 ทีมท้าชิงเก้าอี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอควนขนุน
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดพัทลุง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพัทลุง
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนบางกะปิ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.