ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 9: | บรรทัด 9: | ||
| สัญลักษณ์คณะ = [[หอยสังข์แตร|แตรสังข์]] |
| สัญลักษณ์คณะ = [[หอยสังข์แตร|แตรสังข์]] |
||
| วารสารคณะ = วารสารนิเทศศาสตร์ <br> (J. of Communication Arts) |
| วารสารคณะ = วารสารนิเทศศาสตร์ <br> (J. of Communication Arts) |
||
| ที่อยู่ = |
| ที่อยู่ = [[ถนนพญาไท]] [[แขวงวังใหม่]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10330 |
||
| เว็บ = [http://www.commarts.chula.ac.th/ www.commarts.chula.ac.th] |
| เว็บ = [http://www.commarts.chula.ac.th/ www.commarts.chula.ac.th] |
||
}} |
}} |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:02, 3 มิถุนายน 2565
Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University | |
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.png | |
ชื่อย่อ | นศ. |
---|---|
สถาปนา | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 |
คณบดี | รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารนิเทศศาสตร์ (J. of Communication Arts) |
สี | สีน้ำเงิน |
มาสคอต | แตรสังข์ |
เว็บไซต์ | www.commarts.chula.ac.th |
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะนิเทศศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาการหนังสือพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดยได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการสอนในสาขานิเทศศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา[1]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์อีกครั้งในแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ สังกัดอยู่กับคณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ หลักจากนั้น ในปี พ.ศ. 2509 ได้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "แผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์" ซึ่งเป็นแผนกอิสระ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสีน้ำเงิน (Royal Blue) เป็นสีประจำแผนกอิสระฯ และมีสัญลักษณ์เป็นแตรสังข์ ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" เมื่อปี พ.ศ. 2517 นับเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นคณบดีคนแรก
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท (ตรงข้ามกับคณะวิทยาศาสตร์) ในพื้นที่บริเวณเดียวกับคณะนิติศาสตร์ โดยมีอาคารทำการของคณะฯ 3 อาคาร คือ อาคารนิเทศศาสตร์ 1 อาคารนิเทศศาสตร์ 2 และอาคารมงกุฎสมมติวงศ์ เป็นอาคารสูง 12 ชั้น เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทางการสื่อสารมวลชนที่ทันสมัย และอาคารพินิตประชานาถซึ่งเป็นอาคารเรียนส่วนกลางของมหาวิทยาลัยซึ่งใช้ร่วมกับคณะนิติศาสตร์
หน่วยงาน[2]
- ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง (Motion Pictures and Still Photography)
- ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
- ภาควิชาการสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
- ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง (Speech Communication and Performing Arts)
- ภาควิชาวารสารสนเทศ (Journalism)
หลักสูตร[2]
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
เพลงประจำคณะ
เพลงนี้ครูแก้ว อัจฉริยะกุลและครูเอื้อ สุนทรสนานร่วมกันประพันธ์ให้นิสิตสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นเพลงประจำคณะ ตลอดจนประจำนักสื่อสารมวลชนและนักประชาสัมพันธ์โดยทั่วไปด้วย สองครูเพลงผู้เลื่องชื่อท่านนี้มิได้ประพันธ์เพลงร่วมกันตามลำพังมาเป็นระยะเวลานาน เพลงนี้จึงนับว่าเป็นผลงานการประพันธ์เพลงร่วมกันครั้งสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งประพันธ์เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2509