ข้ามไปเนื้อหา

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิกัด: 13°44′00″N 100°32′12″E / 13.733237°N 100.536791°E / 13.733237; 100.536791
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Medicine,
Chulalongkorn University
ชื่อเดิมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ชื่อย่อพ.
สถาปนา4 มิถุนายน พ.ศ. 2490; 77 ปีก่อน (2490-06-04)
สังกัดการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ที่อยู่
สี  สีเขียวใบไม้
เว็บไซต์www.md.chula.ac.th

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ : Faculty of Medicine, Chulalongkorn University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน[1][2][3][4]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย[5] มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์[5] เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 22 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 12 หน่วยงาน[6] โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นบุคคลคนเดียวกัน[7] นอกจากนี้คณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกด้วย[8]

ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจ การเงินและการทูตของประเทศไทย ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนอังรีดูนังต์ ทิศใต้ติดกับถนนพระรามที่ 4 ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำริและสวนลุมพินี ทิศเหนือติดกับราชกรีฑาสโมสร หรือ สนามม้าปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานครและรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9]

ประวัติ

[แก้]
ป้ายคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นโดยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือวังหลัง พระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล (ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลศิริราช) ซึ่งมีความจำเป็นต้องหาแพทย์มาประจำในโรงพยาบาลจึงมีความจำเป็นต้องเปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นเพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งโรงเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมแพทย์เพียงแห่งเดียวของประเทศในขณะนั้นซึ่งตั้งเป้าหมายการผลิตแพทย์ไว้ประมาณ 50 คนต่อปี แต่ความนิยมของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งทำให้เกิดความต้องการแพทย์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลต้องเพิ่มจำนวนการรับนักเรียนแพทย์แต่ด้วยมีทรัพยากรและสถานที่จำกัดทำให้รับนักเรียนแพทย์ได้ไม่เกิน 100 คนต่อปีเท่านั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "...พระองค์มีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ผู้ได้สำเร็จหลักสูตรให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ..."

เพื่อสนองพระราชประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพื่อให้สามารถผลิตแพทย์เป็นจำนวนมากพอกับความต้องการของประเทศชาติ และมีการเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

  1. ขยายกิจการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  2. จัดสร้างโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่
  3. จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีอยู่ในขณะนั้น

เมื่อพิจาณาจาก 3 แนวทางขั้นต้น พบว่า แนวทางแรกนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีทรัพยากรและสถานที่จำกัดไม่สามารถรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีก ส่วนแนวทางที่สองนั้นต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากและไม่ทันการกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดังนั้น แนวทางที่ 3 จึงเป็นแนวทางที่ใช้เวลาและงบประมาณไม่มากนัก รวมทั้ง ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้รวดเร็วที่สุด โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของสภากาชาดไทย มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ ด้วยเคยใช้เป็นโรงเรียนแพทย์ทหารบกมาก่อน สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศต่อไปได้

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) หรือ ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ โดยขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม "คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490[10] ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่ แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และ แผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ และได้เปิดการภาคเรียนเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนักศึกษาปีแรก 67 คน (ขณะอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใช้คำเรียกผู้ศึกษาว่า "นักศึกษา")

ภายหลังได้โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510[11][12][13]

ปัจจุบันแบ่งส่วนงานออกเป็น 23 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ[14] โดยในแต่ละภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกด้วย[15]

โดย 23 ภาควิชาประกอบไปด้วย[16]

  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
  • ภาควิชาชีวเคมี
  • ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร
  • ภาควิชาอายุรศาสตร์
  • ภาควิชาจุลชีววิทยา
  • ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • ภาควิชาจักษุวิทยา
  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
  • ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
  • ภาควิชาพยาธิวิทยา
  • ภาควิชาปรสิตวิทยา
  • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
  • ภาควิชาเภสัชวิทยา
  • ภาควิชาสรีรวิทยา
  • ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
  • ภาควิชารังสีวิทยา
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

หลักสูตร

[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)
  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์
  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (นานาชาติ)

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตร 2 ปริญญา : พ.บ.–วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
  • สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์
  • สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางการแพทย์
  • สาขาวิชาสุขภาพจิต
  • สาขาวิชาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการศึกษาต่อในชั้นปีที่ 5–6)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)[17]
  • สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
  • สาขาวิชาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ
  • สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์
  • สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางการแพทย์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์
  • สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปกติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสุขภาพจิต
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)[18]
  • สาขาวิชาวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
  • สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และชีวเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสุขภาพจิต
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก[19]
  • สาขาวิชาสุขภาพจิต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก[20]
  • สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาจักษุวิทยา
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาตจวิทยา
  • สาขาวิชานิติเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก
  • สาขาวิชารังสีวิทยาวินิจฉัย
  • สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • สาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • สาขาวิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
  • สาขาวิชาโลหิตวิทยา
  • สาขาวิชามะเร็งวิทยา
  • สาขาวิชาประสาทวิทยา

หมายเหตุ : หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวนปีละ 313 คน ได้แก่

หากโครงการใดรับไม่เต็มจำนวน จะรับเพิ่มในโครงการรับตรงร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยให้ครบตามจำนวน 313 คน

หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตร 2 ปริญญา : พ.บ.– วท.ม.) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรควบข้ามระดับศาสตร์เดียวกัน ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตร 2 ปริญญา : พ.บ.– วท.ม.) จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวนปีละ 40 คน

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะ

[แก้]
อาคารต่าง ๆ ในบริเวณคณะแพทยศาสตร์
ภูมิทัศน์คณะแพทยศาสตร์เมื่อมองจากสวนลุมพินี

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และความก้าวหน้าทางวิชาการ ดังนี้

  • ศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธรในพระราชูปถัมภ์ (Maha Chakri Sirindhorn Clinical Research Center Under the Royal Patronage)
  • ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ศูนย์โรคลมชักครบวงจร ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  • ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ
  • ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ (Chula Excimer Laser Center)[21]
  • ศูนย์เลเซอร์วิเคราะห์ขั้วประสาทตา Glaucoma Imaging & Diagnostic Center
  • ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ศูนย์รักษาพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติแบบครบวงจร
  • ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Information Center for Emerging Infectious Diseases)
  • ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
  • ศูนย์สุขภาพเฉลิมพระเกียรติ (Wellness Center)
  • ศูนย์ฝึกผ่าตัด
  • ศูนย์วิทยาการวิจัยแพทยศาสตร์
  • ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Chula Medical Inventor Technology Center, Chula-MITC)
  • ศูนย์การจัดประชุมวิชาการ
  • ศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

การมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยของประชาชน

[แก้]

ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้หลายวิธี ดังนี้

การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา วิจัยและการรักษาทางการแพทย์

[แก้]
ศาลาทินทัต

การอุทิศร่างกายมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาด้านแพทยศาสตร์เป็นอย่างมาก ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาจะถูกเรียกว่า "อาจารย์ใหญ่" เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้ให้ความรู้โดยละเอียดด้านกายวิภาคศาสตร์ได้สมบูรณ์แบบและเสมือนจริงที่สุดอย่างไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ให้แก่นิสิตแพทย์แล้ว อาจารย์ใหญ่แต่ละร่างยังเป็นผู้ฝึกอบรมทักษะการช่วยชีวิตผู้ป่วยและการผ่าตัดขั้นสูงด้วย ซึ่งในแต่ละปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่มากกว่า 300 ท่าน[22] ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษารายละเอียดและแสดงความจำนงเป็นผู้อุทิศร่างกายได้ที่ ศาลาทินทัต ด้านข้างอาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เวลา 08.30–16.30 น วันจันทร์–ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) อย่างไรก็ตามคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับศพผู้อุทิศร่างกาย ดังนี้[23]

  1. ผู้อุทิศร่างกายฯ ที่ถึงแก่กรรมมีสาเหตุจากติดเชื้อโรคร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ไวรัสตับอักเสบ วัณโรคและพิษสุนัขบ้า[24]
  2. ผู้อุทิศร่างกายที่ผ่านการฉายรังสีในการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1 ปี[24]
  3. ผู้อุทิศร่างกายฯ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มีคดี เกี่ยวข้องกับคดีหรือมีการผ่าพิสูจน์[24]
  4. ร่างกายผู้อุทิศร่างกายฯ มีลักษณะกลิ่นจากการเนื้อเยื่อเน่าเสีย[24]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) และบัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) รวมถึงแพทย์เพิ่มพูนประสบการณ์อีกเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีการศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านร่างอาจารย์ใหญ่มากมาย มีการฝึกผ่าตัดเพื่อเพิ่มพูนทักษะ สร้างความแม่นยำในการรักษาแก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปีละกว่า 100 ครั้ง[25] และมีแนวโน้มที่จะมีการฝึกผ่าตัดกับร่างอาจารย์ใหญ่มากขึ้นทุกปี อาจารย์ใหญ่จึงเป็นบุคคลสำคัญอย่างมากในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ทุกระดับ ผู้อุทิศร่างกายทุกท่านถือเป็นบุคคลสำคัญและมีคุณูปการอย่างที่สุดต่อวงวิชาการทางการแพทย์และการศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย[26] อันจะนำมาสู่การสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง และวิทยาการทางการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่จะเป็นความหวังของผู้ป่วยทั่วประเทศไทย

ปัจจุบันการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาให้กับคณะแพทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ ทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติการ (โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเลือกเมนู อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เก็บถาวร 2018-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

[แก้]

การที่ผู้ป่วยยินยอมให้นิสิตแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมสังเกตการรักษาและให้ความร่วมมือแก่นิสิตระหว่างการรักษา เช่น การให้ข้อมูลของผู้ป่วยโดยละเอียด ถูกต้อง เป็นความจริง ระหว่างการติดตามอาการและการบันทึกประวัติ ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์แพทย์ได้ทำการสอนนิสิตจากสภาพจริง เอื้อต่อการเพิ่มพูนทักษะให้กับนิสิตแพทย์และพยาบาลในหลายด้าน เป็นขั้นตอนสำคัญของการศึกษาด้านแพทยศาสตร์และจะช่วยให้คณะฯ สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะการปฏิบัติที่ดีออกสู่สังคมได้มากขึ้น การมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยของผู้ป่วยและประชาชนผู้เข้ารับการรักษาจึงเป็นการอุปการะอย่างสำคัญต่อวงการแพทย์[27]

จุฬาลงกรณ์เวชสาร

[แก้]

จุฬาลงกรณ์เวชสาร เป็นวารสารวิชาการประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกำหนดการออกเผยแพร่ทุก 2 เดือน หรือ 6 ฉบับต่อปี มีเนื่อหาด้านแพทยศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวของกับการแพทย์อื่น ๆ โดยเผยแพร่ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Research) และรายงานผู้ป่วย (Case Report) ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ในระดับนานาชาติและรักษามาตรฐานของวารสาร ส่วนบทความประเภทอื่น ๆ อาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เพื่อให้สะดวกต่อการสื่อสารความรู้สู่ผู้อ่านและสมาชิกของวารสาร ทั้งนี้บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน[28]

จุฬาลงกรณ์เวชสารสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีทางอินเทอร์เน็ต[29] นอกจากนี้ยังเผยแพร่ในรูปแบบตีพิมพ์ด้วยกระดาษในระบบห้องสมุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแหล่งรวมทรัพยากรวิชาการของสถานศึกษาด้านการแพทย์อื่น ๆ สำนักงานบรรณาธิการของจุฬาลงกรณ์เวชสาร ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[30]

เกียรติประวัติ

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จทางด้านการแพทย์มากมาย โดยผลงานเด่น ๆ มีดังนี้ [31]

  • พ.ศ. 2491 คณะแพทยศาสตร์ค้นคว้าวิจัย Leptospirosis หรือ โรคฉี่หนูจนเป็นที่อ้างอิงในระดับนานาชาติ[32]
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Leino-renal shunt รักษาโรคหลอดเลือดที่หลอดอาหารโป่งพองครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Pneumonectomy ครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโปลิโอด้วย Artificial Respirator เครื่องแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2494 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการทำ Cerebral angiography & air study ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2495 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดการโป่งของหมอนรองกระดูกสันหลังรายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการ Cardiac Catheterization ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด Lobectomy ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดหัวใจ Patent ductus arteriosus ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2497 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเข้าในหัวใจครั้งแรกของประเทศไทย (closed mitral valvulotomy)
  • พ.ศ. 2500 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการทำ TUR-P รายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2501 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษามะเร็งด้วย Cobalt 60 ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2502 การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2502 ผ่าตัดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2504 ผ่าตัดหูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2505 เปิดสาขาประสาทศัลยศาสตร์และแผนกวิสัญญีวิทยาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2507 ริเริ่มรักษาไตวายด้วยเครื่องฟอกไตเทียมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2508 เปิดหน่วยวิจัยคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวเป็นแห่งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2511 ริเริ่ม Radioimmunoassay แห่งแรก
  • พ.ศ. 2513 ริเริ่มให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกคลอดทุกราย
  • พ.ศ. 2514 ริเริ่มการใช้ Lithium รักษา Manic depressive ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2515 การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นครั้งแรกของประเทศไทย[33]
  • พ.ศ. 2516 จัดตั้งห้องปฏิบัติการโครโมโซมแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 ริเริ่มการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2517 ริเริ่มการใช้ ultrasound เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2517 ริเริ่มการทำหมันผ่านช่องคลอด
  • พ.ศ. 2519 ริเริ่มรักษาทางจิตเวชด้วยการช็อกไฟฟ้า โดยการดมยาสลบเป็นครั้งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2521 ริเริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2522 ริเริ่มผ่าตัดทำหมันหญิงโดยใช้ห่วง Falopering ผ่านกล้องเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2523 ทำ Transphenoidal surgery for pituitary tumor เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2524 ริเริ่มการใช้ CT scan เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามรายแรกของประเทศและรายที่ 3 ของโลก
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามาแทนนิ้วมือด้วยจุลศัลยกรรมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเนื้องอกลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องครั้งแรก
  • พ.ศ. 2527 วินิจฉัยผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2528 ริเริ่มรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยแร่กัมมันตภาพรังสี Cs137
  • พ.ศ. 2528 First Cochlear transplantation
  • พ.ศ. 2529 ริเริ่มทำ Fine needle aspiration ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2529 ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างด้วยวิธี "จุฬาฯ เทคนิค" โดยไม่ต้องเปิดกระโหลกศีรษะเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นความสำเร็จที่มีชื่อเสียงอย่างมากในระดับนานาชาติ[34]
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (Thailand First test tube baby) รายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องระเบิดนิ่วรายแรก
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ริเริ่มโครงการผลิตแพทย์แนวใหม่ ครั้งแรกของประเทศไทยโดยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กองทัพอากาศ
  • พ.ศ. 2535 ตั้งคลินิกสตรีวัยทอง (Manopause) แห่งแรก
  • พ.ศ. 2535 ริเริ่มผ่าตัดผ่านกล้อง Arthroscope ครั้งแรก
  • พ.ศ. 2540 ริเริ่มทำ Ultrasound 3 มิติแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2540 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิธีการเตรียม soft cadever ที่มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อของมนุษย์ที่มีชีวิตครั้งแรกของประเทศ ทำให้คณะฯมีชื่อเสียงและเป็นศูนย์กลางของการจัดทำ workshop โดยการฝึกผ่าตัดกับร่างอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2544 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าคลอดท้องนอกมดลูกที่วินิจฉัยและเลี้ยงไว้ได้นานที่สุดได้สำเร็จเมื่ออายุครรภ์ได้ 34 สัปดาห์
  • พ.ศ. 2546 ริเริ่มทำ Ultrasound Realtime 4 มิติ แห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด
  • พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากรกเด็กรักษาโรคธาลัสซีเมียและโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดได้หายขาดสำเร็จเป็นรายแรกของอาเซียน
  • พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลังเทียม
  • พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องส่อง
  • พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติในโรคพาร์กินสันและโรคดิสโทเนียด้วยเทคนิคใหม่เป็นครั้งแรกในไทยและเอเชีย
  • พ.ศ. 2550 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดก้อนฮีมาร์โตมา(Hematoma) ในโพรงสมองด้วยวิธีการส่องกล้องรายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ (Human Embryonic Stem Cells) สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล AMEE awards ในหมวด teaching & learning และหมวด student issues จากการนำเสนอเรื่อง Cinemeducation: Learning professionalism through films at Chulalongkorn Medical School ในการประชุม Association of medicial Education in Europe 2007 ณ เมือง Trondheim ราชอาณาจักรนอร์เวย์
  • พ.ศ. 2552 คณะแพทยศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ (Human Embryonic Stem Cells Bank) สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดสายพันธุ์ไทย ชื่อ Chula2.hES ได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกในระดับนานาชาติ และขึ้นทะเบียนกับสหภาพยุโรป[35]
  • พ.ศ. 2556 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นจดสิทธิบัตรรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการทำวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุจนได้รูปแบบรองเท้าที่เหมาะสม สามารถลดปัญหาสุขภาพเท้าในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี[36]
  • พ.ศ. 2557 ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม การทำหัตถการสวนหัวใจเพื่อรักษาผู้ป่วยโครงสร้างหัวใจผิดปกติในการประชุมนานาชาติ Cardiac Structural Intervention (CSI) โดยนำเสนอการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter Aortic Valve Implantation - TAVI) ซึ่งประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ[37]
  • พ.ศ. 2558 คณะแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัล ASPIRE to Excellence Awards สาขา Student Engagement ในการประชุม Association for Medical Education in Europe (AMEE) ณ ประเทศสหราชอาณาจักร โดย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียที่เคยได้รับรางวัลนี้[38]
  • พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกในประเทศไทยที่ตรวจพบโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง[39][40]
  • พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกในประเทศไทยที่สามารถตรวจเชื้อไวรัสอีโบลาได้[40]
  • พ.ศ. 2559 ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ด้วยเทคนิคล้างน้ำเหลืองปลูกถ่ายไตโดยไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมด เป็นรายแรกในอาเซียน[41]
  • พ.ศ. 2560 คณะแพทยศาสตร์ สามารถรักษาโรคหอบหืดเรื้อรังขั้นรุนแรงโดยการส่องกล้องจี้หลอดลมด้วยความร้อน (Bronchial thermoplasty) ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศไทย[42]
  • พ.ศ. 2562 คณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดดำเนินงานศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นเครื่องมือทางรังสีรักษาที่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้อย่างตรงจุด และเกิดผลข้างเคียงน้อย โดยตัวเครื่องมีมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท นำเข้าจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นับเป็นเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอนเพื่อใช้ในทางรังสีรักษาเครื่องแรกและเครื่องเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[43]
  • พ.ศ. 2563 ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยทำการถอดรหัสโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และยืนยันว่าตรงกับไวรัสที่กำลังระบาดในประเทศจีนได้เป็นที่แรกของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเริ่มรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้อย่างจริงจังในเวลาต่อมา[44]
  • พ.ศ. 2563 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเภทเอ็มอาร์เอ็นเอ[45] โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา วัคซีนดังกล่าวมีชื่อว่า "ChulaCov19"[46]

ศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับความไว้วางใจจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Centre หรือ ศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก ในสาขาต่าง ๆ อาทิ

บุคคล

[แก้]

คณบดี

[แก้]

ตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และสภากาชาดไทยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นบุคคลคนเดียวกันแต่แยกการบริหารออกเป็น 2 หน่วยงาน รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 - 5 มกราคม พ.ศ. 2493
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หลวงพรหมทัตตเวที (ไหมพรม ศรีสวัสดิ์) 20 มีนาคม พ.ศ. 2493 - 8 เมษายน พ.ศ. 2495 (รักษาการ)
9 เมษายน พ.ศ. 2495 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
3. ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรมมาส) 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (รักษาการ)
4. ศาสตราจารย์ พันเอก นายแพทย์ หลวงประกิตเวชศักดิ์ (แก้ว บำรุงชีพ) 1 เมษายน พ.ศ. 2500 - 30 เมษายน พ.ศ. 2503
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2508
5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (รักษาการ)
6. ศาสตราจารย์อุปการคุณ พันตรี นายแพทย์ ทวี ตุมราศวิน 8 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - 5 กันยายน พ.ศ. 2507 (รักษาการ)
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516
7. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ สมัค พุกกะณะเสน 1 เมษายน พ.ศ. 2516 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
8. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ศริพร วณิเกียรติ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยาใจ ณ สงขลา 1 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
10. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 - 8 มกราคม พ.ศ. 2532
11. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรเทอง รัชตะปีติ 9 มกราคม พ.ศ. 2532 - 8 มกราคม พ.ศ. 2536
12. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ 9 มกราคม พ.ศ. 2536 - 8 มกราคม พ.ศ. 2540
13. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ 9 มกราคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542
14. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550
15. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อดิศร ภัทราดูลย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
16. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ โศภณ นภาธร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
17. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564
18. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่มที่ รายนามบุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย‎

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยคณาจารย์และศิษย์เก่าได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น , เมธีวิจัยอาวุโส สกว. , นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นอกจากนี้ ศิษย์เก่ายังมีบทบาททางการเมือง การปกครอง และการบริหารต่าง ๆ นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น

  • รางวัลนิวตัน - ศ. นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ (พ.ศ. 2560) เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้[48][49]
  • รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล - บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย - ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, ศ. นพ.ชวลิต อ่องจริต, ศ.กิตติคุณ นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์, ผศ. นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร, ศ.กิตติคุณ นพ.นิกร ดุสิตสิน, ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
  • รางวัลแพทย์ดีเด่น - ศ.เกียรติคุณ พ.ญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา และ รศ. พ.ญ คุณหญิงส่าหรี จิตตินันทน์ (พ.ศ. 2541)[50], น.พ. รณไตร เรืองวีรยุทธ (พ.ศ. 2549)[51], พญ.เสาด๊ะ ยุทธสมภพ (พ.ศ. 2551)[52] นพ.ย์วิชัย อัศวภาคย์ (พ.ศ. 2553)[53] นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ พญ.อุไรวัลย์ ตินนังวัฒนะ
  • รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น - นพ.เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ และ นพ.ธวัติ บุญไทย (พ.ศ. 2548)[54] นพ.วิชัย อัศวภาคย์ (พ.ศ. 2549)[55]

สิ่งก่อสร้างสำคัญ

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสภากาชาดไทย มีอาคารเรียนและอาคารฝึกปฏิบัติหลายแห่ง เพื่อรองรับอุปกรณ์การแพทย์ บุคลากรและนิสิตที่มีจำนวนมากและผู้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ รวมถึงรถยนต์ที่มากตามจำนวนคน ที่ตั้งที่อยู่ใจกลางเขตเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครนี้มีข้อจำกัดในการขยายตัว อาคารหลายหลังจึงเป็นอาคารสูงและหลายหลังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิ อาคารอำนวยการหลังแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะตะวันตก อาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้เป็นจุดสังเกตสำคัญในการเดินทางมายังคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[56]

พิพิธภัณฑ์

[แก้]

การเดินทางมาสู่คณะ

[แก้]
รถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Pop Bus)

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

[แก้]
ที่ตั้งปัจจุบันของพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ด้านหลังอาคารแพทยพัฒน์

คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเพื่อประดิษฐานหน้าอาคาร อานันทมหิดล โดยได้ติดต่อคุณไข่มุก ชูโต เป็นปฏิมากรผู้ออกแบบปั้นพระบรมรูป ซึ่งหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเททองหล่อพระบรมรูป เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 หลังการดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แล้วเสร็จ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 [63] อนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันพระบรมราชานุสาวรีย์ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานด้านหลังอาคารแพทยพัฒน์ ด้านหน้าอาคาร อปร.

วันอานันทมหิดล

[แก้]

วันอานันทมหิดล เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ผู้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี[64]

กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้านหน้าอาคาร "อปร.", การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ เป็นรายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล[65]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางวิชาการและการบริการทางการแพทย์ให้ดีที่สุดเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยทุกประเภท[66]

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มจัด โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท (Medical Education for Students in Rural Area Project-MESRAP) เป็นครั้งแรกของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2521[67] เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ไปสู่ชนบทเป็นครั้งแรก และเป็นแม่แบบของ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD) ของกระทรวงสาธารณสุขในเวลาต่อมา โดยคณะได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีและโรงพยาบาลชลบุรี นอกจากนี้ยังได้ริเริ่ม โครงการการศึกษาแพทย์แนวใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2531 โดยเป็นโครงการร่วมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กองทัพอากาศดำเนินการรับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ มาศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์เป็นเวลา 5 ปี โดยใช้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดชเป็นสถานที่เรียนชั้นคลินิก และยุติโครงการไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2556 ทางโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้เปิดโครงการร่วม "แพทย์จุฬาฯ-ทหารอากาศ" โดยศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงการผลิตแพทย์ต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีโครงการที่ยังคงดำเนินการอยู่ ได้แก่ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โครงการทุนกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One Doctor One District project-ODOD) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข (Mega project) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 โดยนิสิตในทุกโครงการจะศึกษาในชั้นปีที่ 1-3 (พรีคลินิก) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิกในโรงพยาบาลที่ให้ความร่วมมือในโครงการผลิตแพทย์ต่าง ๆ ดังนี้

โรงพยาบาลหลัก ที่ตั้ง สังกัด
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (เฉพาะหลักสูตรนานาชาติ) อำเภอศรีราชา, จังหวัดชลบุรี สภากาชาดไทย
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ ที่ตั้ง สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า (เฉพาะโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข) อำเภอเมืองจันทบุรี, จังหวัดจันทบุรี กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี (เฉพาะโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข) อำเภอเมืองชลบุรี, จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (เฉพาะโครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ) เขตสายไหม, กรุงเทพมหานคร กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
สถาบันต่างประเทศในความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนนิสิต (เฉพาะหลักสูตรนานาชาติ) ที่ตั้ง
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University College of Medicine) เกาหลีใต้ โซล, สาธารณรัฐเกาหลี
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University College of Medicine) เกาหลีใต้ โซล, สาธารณรัฐเกาหลี
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติคย็องซัง (Gyeongsang National University College of Medicine) เกาหลีใต้ ชินจู, สาธารณรัฐเกาหลี
มหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนหูเป่ย์ (Hubei University of Chinese Medicine) จีน อู่ฮั่น, สาธารณรัฐประชาชนจีน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์เซี่ยงไฮ้ มหาวิทยาลัยฟูตัน (Shanghai Medical College, Fudan University) จีน เซี่ยงไฮ้, สาธารณรัฐประชาชนจีน
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คุนหมิง (Kunming Medical University) จีน คุนหมิง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
ศูนย์วิทยศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University Health Sciences Center) จีน ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
คณะแพทยศาสตร์เหลย์ก๊าเส่ง มหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hongkong, Li Ka Shing Faculty of Medicine) ฮ่องกง ฮ่องกง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจูเทนโด (School of Medicine, Jutendo University) ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว (School of Medicine, University of Tokyo) ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยโอกายามะ (Okayama University) ญี่ปุ่น โอกายามะ, ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยคีวชู (Kyushu University) ญี่ปุ่น ฟูกูโอกะ, ญี่ปุ่น
บัณฑิตวิทยาลัยแพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครโอซากะ (Graduate School of Medicine and Faculty of Medicine, Osaka City University) ญี่ปุ่น โอซากะ, ญี่ปุ่น
สถาบันนวัตกรรมสังคมแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยนาโงยะ (Institute of Innovation for Future Society, Nagoya University) ญี่ปุ่น นาโงยะ, ญี่ปุ่น
บัณฑิตวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนาโงยะ (Graduate School of Medicine, Nagoya University) ญี่ปุ่น นาโงยะ, ญี่ปุ่น
คณะและบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยฮกไกโด (Faculty and Graduate School of Health Sciences, Hokkaido University) ญี่ปุ่น ซัปโปโระ, ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยสุขภาพฟูจิตะ (Fujita Health University) ญี่ปุ่น โตโยเอเกะ, ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยโออิตะ (Oita University) ญี่ปุ่น โออิตะ, ญี่ปุ่น
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจิเคอิ (Jikei University, School of Medicine) ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทไก (Tokai University, School of Medicine) ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนางาซากิ (Nagasaki University, School of Medicine) ญี่ปุ่น นางาซากิ, ญี่ปุ่น
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จิไช่ (Jichi Medical University, School of Medicine) ญี่ปุ่น ชิมตสึเกะ, ญี่ปุ่น
บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยคินได (Kindai University, Graduate School of Medical Sciences) ญี่ปุ่น โอซากะ, ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จีน (China Medical University) สาธารณรัฐจีน ไถจง, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไทเป (College of Medicine, Taipei Medical University) สาธารณรัฐจีน ไทเป, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เกาสฺยง (Kaohsiung Medical University College of Medicine) สาธารณรัฐจีน เกาสฺยง, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง (College of Medicine, National Cheng Kung University) สาธารณรัฐจีน ไถหนาน, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
สถาบันวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ (The Institute of Nuclear Energy Research) สาธารณรัฐจีน เถา-ยฺเหวียน, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University College of Medicine) สาธารณรัฐจีน ไทเป, ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
ศูนย์แพทย์ มหาวิทยาลัยเอรัสมุสรอตเทอร์ดาม (Erasmus University Medical Center) เนเธอร์แลนด์ รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 1 (University of Medicine 1) ประเทศพม่า ย่างกุ้ง, เมียนมา
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 (University of Medicine 2) ประเทศพม่า ย่างกุ้ง, เมียนมา
มหาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ (University of Pharmacy) ประเทศพม่า ย่างกุ้ง, เมียนมา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (University of Oklahoma, College of Medicine) สหรัฐอเมริกา โอคลาโฮมาซิตี, สหรัฐอเมริกา
มูลนิธิคลีฟแลนด์คลินิก (The Cleveland Clinic Foundation) สหรัฐอเมริกา คลีฟแลนด์, สหรัฐอเมริกา
สำนักงานสุขศึกษาโลกแห่งวิทยาลัยแพทยศาสตร์วีล คอร์เนล มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Office of Global Health Education of the Weil Cornell Medical College, Cornell University) สหรัฐอเมริกา นิวยอร์กซิตี, สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยสาธารณสุขฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health) สหรัฐอเมริกา บอสตัน, สหรัฐอเมริกา
ศูนย์มะเร็งนายแพทย์แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส (MD Anderson Cancer Center at University of Texas) สหรัฐอเมริกา ฮิวสตัน, สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์เดวิด เจฟฟิน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (David Geffen School of Medicine at UCLA) สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (University of California, Los Angeles) สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา
โรงพยาบาลเด็กลอสแอนเจลิส (Children's Hospital Los Angeles) สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แมสซาชูเซตส์ (University of Massachusetts Medical School) สหรัฐอเมริกา วุร์สเตอร์, สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา (University of South Florida) สหรัฐอเมริกา แทมปา, สหรัฐอเมริกา
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเมดสตาร์ จอร์จทาวน์ (MedStar Georgetown University Hospital) สหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์เค็ก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (Keck School of Medicine, University of Southern California) สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยเท็กซัส ซานอันโตนิโอ (University of Texas at San Antonio) สหรัฐอเมริกา แซนแอนโทนีโอ, สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) สหราชอาณาจักร ลิเวอร์พูล, สหราชอาณาจักร
มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) สหราชอาณาจักร กลาสโกว์, สหราชอาณาจักร
มหาวิทยาลัยลีดส์ (University of Leeds) สหราชอาณาจักร ลีดส์, สหราชอาณาจักร
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ซิดนีย์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (Sydney Medical School, University of Sydney) ออสเตรเลีย ซิดนีย์, เครือรัฐออสเตรเลีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. WHO Collaborating Center for Medical Education
  2. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-73&cc_city=bangkok&.
  3. 3.0 3.1 "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017.http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-19&cc_city=bangkok&.
  4. 4.0 4.1 "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-57&cc_city=bangkok&.
  5. 5.0 5.1 สภากาชาดไทย. "รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัววารสาร “ฬ.จุฬา”." รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัววารสาร "ฬ.จุฬา" | Welcome to The Thai Red Cross Society. April 01, 2016. Accessed May 15, 2017. http://www.redcross.or.th/news/information/53044 เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๖.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 23 ตุลาคม 2546. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134233.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (28 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  7. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. "ผังผู้บริหาร." Chulalongkornhospital. Accessed May 30, 2017. http://www.chulalongkornhospital.go.th/manager/manager.html เก็บถาวร 2017-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  8. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. "ผังผู้บริหาร." Chulalongkornhospital. Accessed May 30, 2017. http://www.chulalongkornhospital.go.th/index.php/test/2015-11-05-06-19-07/2015-12-29-01-58-52.
  9. "สถานีสีลม." บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). Accessed July 03, 2017. https://www.bangkokmetro.co.th/map.aspx?Lang=Th&Menu=8&Sid=3 เก็บถาวร 2018-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490
  11. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510
  12. "พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดตั้งเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-10-17.
  13. พระราชกฤษฎีกาเลิกล้มคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2510
  14. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-10-17.
  15. คำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ 1078/2547 เรื่อง ให้คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิบัติราชการ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  16. https://www.md.chula.ac.th/academics/departments/
  17. https://grad.md.chula.ac.th/graduate_pg_2.php
  18. https://grad.md.chula.ac.th/graduate_pg_1.php
  19. https://grad.md.chula.ac.th/graduate_pg_4.php
  20. https://grad.md.chula.ac.th/graduate_pg_3.php
  21. บริษัท นวกิจ บ้านเมือง จำกัด. "รพ.จุฬาลงกรณ์ รักษาต้อกระจกด้วยเทคโนโลยีล่าสุด." Banmuang.co.th. May 17, 2017. Accessed May 17, 2017. http://www.banmuang.co.th/news/bangkok/80903 เก็บถาวร 2017-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  22. พระราชทานเพลิงศพ"อาจารย์ใหญ่" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ[ลิงก์เสีย]
  23. "ประกาศโรงพยาบาลจุฬาฯ เรื่อง การรับอุทิศร่างกาย ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อการศึกษา การ วิจัย และการรักษา ทางการแพทย์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-28.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Redcross.or.th. (2016). การรับอุทิศร่างกาย ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ | Welcome to The Thai Red Cross Society. [online] Available at: https://www.redcross.or.th/page/50113 [Accessed 3 Dec. 2017].
  25. ThaiPBSNews. "ความสำคัญของอาจารย์ใหญ่ในทางการแพทย์." YouTube. May 19, 2015. Accessed June 15, 2017. https://www.youtube.com/watch?v=yfTJE34uROQ.
  26. Springnewsonline. ""อาจารย์ใหญ่" เรือจ้างผู้ไร้ชีวิต." YouTube. May 24, 2015. Accessed June 15, 2017. https://www.youtube.com/watch?v=i9U2AAAied8.
  27. ติดจอ ฬ.จุฬา. (31 พฤษภาคม 2563). สื่อโดยองค์กรแพทย์ I คนไข้คือครูของหมอ. (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ) เข้าถึงได้จาก เว็บไซต์ youtube.com: https://www.youtube.com/watch?v=rk-1ubS0MHE
  28. Chulalongkorn University, Faculty of Medicine. "Aims and Scope." Chulalongkorn Medical Journal. Accessed July 06, 2017. http://www.clmj.org/aim.php เก็บถาวร 2018-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  29. Chulalongkorn University, Faculty of Medicine. "Archives." Chulalongkorn Medical Journal. Accessed July 06, 2017. http://www.clmj.org/archives.php เก็บถาวร 2018-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  30. Chulalongkorn University, Faculty of Medicine. "Contact Us." Chulalongkorn Medical Journal. Accessed July 06, 2017. http://www.clmj.org/contact.php เก็บถาวร 2018-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  31. จุฬาลงกรณแพทยานุสรณ์ พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2540
  32. อนุสรณ์แพทย์จุฬาฯ 50 ปี
  33. Foreign Affairs Bulletin. (1971). Bangkok: Department of Information, Ministry of Foreign Affairs,Thailand, p.215.
  34. YouTube. (2017). ตอน พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการแพทย์ (15 ต.ค.60) หนึ่งในพระราชดำริ | 9 MCOT HD. [online] Available at: https://www.youtube.com/watch?v=w4HudC2H6bo [Accessed 19 Oct. 2017].
  35. (มหาชน), บริษัท มติชน จำกัด. "จุฬาฯตั้งธนาคารสเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์แห่งแรกของประเทศไทย." Prachachat Online. June 14, 2012. Accessed May 17, 2017. http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1339615657[ลิงก์เสีย].
  36. ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์จริงเพื่อสุขภาพเท้าผู้สูงอายุ." Research.chula.ac.th. August 3, 2009. Accessed May 17, 2017. http://www.research.chula.ac.th/web/cu_online/2552/vol_27_2.htm.
  37. "รพ.จุฬาลงกรณ์ พัฒนานวัตกรรมลิ้นหัวใจใหม่ โดยไม่ต้องผ่าตัด". 2014. Hfocus.Org. https://www.hfocus.org/content/2014/07/7712.
  38. แพทย์จุฬาฯ คว้ารางวัล Aspire to Excellence Award 1 เดียว ในเอเซีย,2558[ลิงก์เสีย]
  39. NationTV22. "เปิดแลปจุฬาฯ ตรวจพบ โรคเมอร์ส แห่งแรก." Http://www.nationtv.tv. June 19, 2015. Accessed May 17, 2017. http://www.nationtv.tv/main/content/social/378460530/.
  40. 40.0 40.1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (31 มกราคม 2560). สัมมนาวิชาการพิเศษเรื่อง "Global Virome Project ถอดรหัสไวรัสระดับโลก. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤษภาคม 2560 จาก เว็บไซต์ Chulalongkornhospital: http://www.chulalongkornhospital.go.th/index.php/2015-11-05-06-25-47/2015-11-26-04-15-30/383-global-virome-project-2
  41. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. เทคนิคใหม่....ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดสำเร็จ รายแรกในอาเซียน. 5 เมษายน 2559. http://www.chulalongkornhospital.go.th/index.php/2015-11-05-06-25-47/2015-11-26-04-15-30/145-2016-04-01-07-56-25 (28 เมษายน 2559 ที่เข้าถึง).
  42. สภากาชาดไทย. "รพ.จุฬาลงกรณ์ โชว์!!นวัตกรรมส่องกล้อง รักษาผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง แห่งเดียวในไทย | Welcome to The Thai Red Cross Society." รพ.จุฬาลงกรณ์ โชว์!!นวัตกรรมส่องกล้อง รักษาผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง แห่งเดียวในไทย | Welcome to The Thai Red Cross Society. Accessed March 05, 2017. http://www.redcross.or.th/news/information/58869[ลิงก์เสีย]
  43. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/75407
  44. เนชั่นสุดสัปดาห์. 2563. เผย”นักเทคนิคการแพทย์”จุฬาฯ ผู้ถอดรหัสไวรัสโคโรนารายแรกของไทย. 27 มกราคม. 12 เมษายน 2563 ที่เข้าถึง. https://www.nationweekend.com/content/hotclip/5671 เก็บถาวร 2020-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  45. Springer Nature Limited. The pioneer behind southeast Asia’s first mRNA COVID vaccine. June 10, 2021. https://media.nature.com/original/magazine-assets/d41586-021-01426-9/d41586-021-01426-9.pdf (accessed June 21, 2021).
  46. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บริจาคกองทุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีน. 1 ตุลาคม 2563. http://give.md.chula.ac.th/donate-en/บริจาคกองทุนการวิจัยแล-2/ (เข้าถึง 20 มิถุนายน 2564).
  47. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-73&cc_city=bangkok&.
  48. ทับพิลา, ส. (2017). วัคซีนวัณโรค-ชุดตรวจเมลิออยด์’ ทุนนิวตันเพื่อคนไทย. [online] http://www.bangkokbiznews.com/. Available at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771520 [Accessed 22 Nov. 2017].
  49. Newtv.co.th. (2017). หมอจุฬาฯพิชิตรางวัลนิวตันคนแรกของไทยคว้าเงิน 8.6 ล้าน. [online] Available at: http://www.newtv.co.th/news/8192 [Accessed 22 Nov. 2017].
  50. ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา และรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงส่าหรี จิตตินันทน์ แพทย์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2541, เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  51. นายแพทย์ รณไตร เรืองวีรยุทธ แพทย์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2549, เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  52. แพทย์หญิงเสาด๊ะ ยุทธสมภพ แพทย์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2551, เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  53. แพทย์หญิงกาญจนี เจนวณิชสถาพร นายแพทย์วิชัย อัศวภาคย์ นายแพทย์วัฒนา พารีศรี แพทย์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553, เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  54. หมอเฉิดพันธุ์-หมอธวัติ แพทย์ชนบทดีเด่น 49 “รู้จักพอเพียง อยู่ที่ไหนก็สุขได้”[ลิงก์เสีย], ASTVผู้จัดการออนไลน์ , เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  55. ประวัติ นพ.วิชัย อัศวภาคย์ แพทย์ชนบทดีเด่นปี 2549[ลิงก์เสีย], สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  56. หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2015). คณะแพทยฯ ในอนาคต: mdcu.flexiplan. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2016 จาก เว็บไซต์ mdcu.flexiplan: http://mdcu.flexiplan.co.th/th/architecture/cat/140
  57. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานออร์โธปิดิกส์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3593 เก็บถาวร 2017-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  58. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานกุมารศัลยศาสตร์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3619 เก็บถาวร 2017-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  59. หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกี่ยวกับเรา. 2558. http://mdcu.flexiplan.co.th/th/about (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  60. "บรรยากาศจากอดีตสู่อนาคต." Flexiplan: Faculty of Medicine Chulalangkorn University Memorial Hall. Accessed March 27, 2017. http://mdcu.flexiplan.co.th/th/architecture.
  61. "แซกโซโฟนพระราชทาน." Flexiplan: Faculty of Medicine Chulalangkorn University Memorial Hall. Accessed March 27, 2017. http://mdcu.flexiplan.co.th/th/exhibition/king_detail/502.
  62. Welovethaiking.com. (2018). สมเด็จพระเทพรัตน ฯ ทรงเปิด “ห้องเรื่อง ในหลวงอานันท ฯ” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | We Love Thai King. [online] Available at: http://welovethaiking.com/blog/สมเด็จพระเทพรัตน-ฯ-ทรงเ-2/ เก็บถาวร 2022-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [Accessed 27 Aug. 2018].
  63. พระรูป ร.8 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมศิษย์เก่าแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์
  64. สุนทรวรเศรษฐ์, โสภณ. 2017. "น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล กษัตริย์ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์". Culture.Go.Th. http://www.culture.go.th/culture_th/mobile_detail.php?cid=11&nid=567 เก็บถาวร 2020-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  65. "9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์". 2016. Lifestyle.Campus-Star.Com. https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/26584.html.
  66. "เปิดตัว 'เข็มวันอานันทมหิดล' 2560 นำรายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้". 2017. Dailynews. https://www.dailynews.co.th/women/576352.
  67. มติคณะรัฐมนตรี 21 มีนาคม 2521 เรื่อง โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′00″N 100°32′12″E / 13.733237°N 100.536791°E / 13.733237; 100.536791