ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดพังงา

พิกัด: 8°27′N 98°32′E / 8.45°N 98.53°E / 8.45; 98.53
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
จังหวัดพังงา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phang Nga
คำขวัญ: 
แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา
ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพังงาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ไพรัตน์ เพชรยวน
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด4,170.895 ตร.กม. (1,610.392 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 53
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด267,057 คน
 • อันดับอันดับที่ 71
 • ความหนาแน่น64.02 คน/ตร.กม. (165.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 68
รหัส ISO 3166TH-82
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เทพทาโร
 • ดอกไม้จำปูน
 • สัตว์น้ำเต่าตนุ
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนพังงา-ทับปุด ตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000
 • โทรศัพท์0 7641 2134
 • โทรสาร0 7641 2140
เว็บไซต์www.phangnga.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

ชื่อเรียก

เดิมจังหวัดพังงาเรียกว่า เมืองภูงา ซึ่งเป็นชื่อของ เขางา เขาพังงา เขากราภูงา หรือ เขาพังกา (ภาษามลายูแปลว่า ป่าน้ำภูงา) โดยเมืองภูงานั้นขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การตั้งชื่อว่า เมืองภูงา อาจสอดคล้องกับเมืองภูเก็ต เหตุที่ชื่อเปลี่ยนจากภูงาเป็นพังงา สันนิษฐานว่า เนื่องจากเมืองภูงามีต่างชาติเข้ามาติดต่อซื้อแร่ดีบุกจำนวนมาก จึงเขียนชื่อเมืองว่า Phunga หรือ Punga อ่านว่า ภูงา พังงา หรือ พังกา ต่อมาจึงออกเสียงเพี้ยนมาเป็น "พังงา"[3]

ประวัติ

จังหวัดพังงาเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ เช่น เศษเครื่องปั้นดินเผา กำไลหิน และเปลือกหอยบริเวณถ้ำในวัดสุวรรณคูหา อำเภอตะกั่วทุ่ง และภาพเขียนสีที่ผนังเขาเขียน อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา[3]

ในขณะที่มีการตั้งเมืองถลางที่พังงา พ.ศ. 2365 เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึก ไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า "เมืองนี้มีผู้คนอยู่ไม่เกิน 100 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกระท่อมซึ่งปลูกติดต่อกันประมาณ 30 หลังคาเรือน เป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกราก บ้านเรือนกว้างใหญ่สะดวกสบายและสร้างอย่างเป็นระเบียบ"[4]

เมื่อภัยคุกคามจากพม่าลดลงและพม่าสูญเสียมณฑลอารกันและตะนาวศรีให้อังกฤษ รัฐบาลจึงได้ย้ายผู้คนจากพังงาไปตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2367 จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงส่วนภูมิภาคทางหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกตอนบน ยกเมืองพังงาขึ้นเป็นเมืองโทขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองถลาง ตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่าขึ้นตรงต่อเมืองพังงา

เมืองพังงาเริ่มขยายตัวและเจริญตามลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2383 โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล ต่อมา พ.ศ. 2437 มีการปฏิรูปการปกครองมณฑลภูเก็ต พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ ณ นคร) เจ้าเมืองพังงาถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแบ่งพื้นที่ท้องที่การปกครองในเมืองพังงาออกเป็นอำเภอและตำบลต่าง ๆ การแบ่งพื้นที่นี้ได้โอนเมืองตะกั่วทุ่งมาเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองพังงา และแบ่งเมืองพังงาออกเป็น 4 อำเภอ 24 ตำบล จน พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองพังงาเป็น "จังหวัดพังงา" ครั้นเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ยุบจังหวัดตะกั่วป่าลดฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพังงา เมื่อ พ.ศ. 2473[3]

สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

และมีเกาะต่าง ๆ อยู่ในทะเลอันดามันมากถึง 155 เกาะ นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะมากที่สุดในประเทศไทย[5]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองพังงา
  2. อำเภอเกาะยาว
  3. อำเภอกะปง
  4. อำเภอตะกั่วทุ่ง
  5. อำเภอตะกั่วป่า
  6. อำเภอคุระบุรี
  7. อำเภอทับปุด
  8. อำเภอท้ายเหมือง 

 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา เป็นองค์การที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพังงา มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 24 คน[6]

ภายในพื้นที่ของจังหวัดพังงาแบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างหรือระดับพื้นฐานจำนวนทั้งหมด 51 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมือง 2 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง[7] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดพังงาจำแนกตามอำเภอ มีดังนี้

  • อำเภอเกาะยาว
    • เทศบาลตำบลเกาะยาว
    • เทศบาลตำบลพรุใน
    • เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่
  • อำเภอคุระบุรี
    • เทศบาลตำบลคุระบุรี
  • อำเภอตะกั่วทุ่ง
    • เทศบาลตำบลกระโสม
    • เทศบาลตำบลโคกกลอย
  • อำเภอทับปุด
    • เทศบาลตำบลทับปุด
  • อำเภอท้ายเหมือง
    • เทศบาลตำบลท้ายเหมือง
    • เทศบาลตำบลลำแก่น

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา

ที่ รายนาม/รายพระนาม ตั้งแต่ ถึง
1 หลวงศิริสมบัติ (เชย) 2441 2446
2 พระพินิจราชการ (ปิ๋ว บุนนาค) 2446 2450
3 พระยาบริรักษ์ภูธร (พลอย ณ นคร) 7 ส.ค. 2450 11 ธ.ค 2455
4 หลวงชินเขตรบรรหาร (สวาสดิ์ ณ นคร) 2455 13 ม.ค. 2456
5 พระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม เดชะคุปต์) 13 ม.ค. 2456 6 ส.ค. 2459
6 หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ 6 ส.ค. 2459 28 มี.ค. 2462
7 พระยาศิริธรรมบริรักษ์ (ทับ มหาเปารยะ) 28 มี.ค. 2462 2 ก.พ. 2468
8 พระอาคมคุติกร (สุดใจ ชลายนคุปต์) 18 เม.ย. 2469 18 พ.ค. 2472
9 พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) 18 พ.ค. 2472 7 มี.ค. 2476
10 พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) 3 มี.ค. 2476 1 ม.ค. 2480
11 หลวงนรกิจกำจร (ชื้น วรคามิน) 15 ม.ค. 2480 ธ.ค. 2481
12 หลวงรักษ์นราทร (โชค ชมธวัช) 11 ก.พ. 2482 21 เม.ย. 2484
13 นายพืชน์ เดชะคุปต์ 2 พ.ค. 2484 7 เม.ย. 2485
14 หลวงสฤษดิ์สารารักษ์ (เปรม สฤษดิ์สารารักษ์) 29 เม.ย. 2485 11 ก.ย. 2487
15 ขุนเสถียรประศาสน์ (เยื้อน ณ ตะกั่วทุ่ง) 11 ก.ย. 2487 1 มี.ค. 2490
16 นายจรูญ ณ สงขลา 5 พ.ค. 2490 13 ธ.ค. 2490
17 นายถนอม วิบูลมงคล 29 ธ.ค. 2490 1 ธ.ค. 2491
18 ขุนปัญจพรรคพิบูล (พิบูล ปัญจพรรค) 20 ธ.ค. 2491 1 มี.ค. 2493
19 นายเชวง ไชยสุต 1 มี.ค. 2493 3 เม.ย. 2496
20 นายพุก ฤกษ์เกษม 3 เม.ย. 2496 12 พ.ย. 2497
21 ขุนบุรราษฎร์นราภัย (สอาด สูตะบุตร) 12 พ.ย. 2497 6 ม.ค. 2499
22 นายเฉลิม ยูปานนท์ 6 ม.ค. 2499 23 พ.ค. 2500
23 นายฉลอง รมิตานนท์ 23 พ.ค. 2500 23 ก.ย. 2501
24 นายชู สุคนธมัต 23 ก.ย. 2501 18 พ.ย. 2506
25 นายพร บุณยประสพ 4 ธ.ค. 2506 4 มี.ค. 2509
26 นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ 16 มี.ค. 2509 23 พ.ค. 2512
27 นายมนตรี จันทรปรรณิก 1 มิ.ย. 2512 1 ก.ค. 2514
28 นายมนัส เจริญประสิทธิ์ 1 ก.ค. 2514 30 ก.ย. 2516
29 นายอนันต์ สงวนนาม 1 ต.ค. 2516 30 ก.ย. 2517
30 นายธวัช มกรพงศ์ 1 ต.ค. 2517 30 ก.ย. 2518
31 นายเชาน์วัศ สุดลาภา 1 ต.ค. 2518 23 ก.ค. 2520
32 นายธานี โรจนาลักษณ์ 6 ส.ค. 2520 6 ต.ค. 2521
33 นายสืบ รอดประเสริฐ 8 ต.ค. 2521 8 ต.ค. 2525
34 นายพร อุดมพงษ์ 8 ต.ค. 2525 30 ก.ย. 2528
35 ร้อยเอก ยงยุทธ บุญยวัฒน์ 1 ต.ค. 2528 30 ก.ย. 2532
36 ร้อยตรี ณรงค์ แสงสุริยงค์ 1 ต.ค. 2532 30 ก.ย. 2533
37 นายอนันต์ แจ้งกลีบ 1 ต.ค. 2533 30 ก.ย. 2534
38 ร้อยเอก เอก กาญจนาคพันธุ์ 1 ต.ค. 2534 30 ก.ย. 2536
39 นายปรีชา รักษ์คิด 5 ต.ค. 2536 30 ก.ย. 2539
40 นายดิเรก อุทัยผล 1 ต.ค. 2539 30 ก.ย. 2541
41 นายดุสิต จันทรบุตร 12 ม.ค. 2541 1 ก.ค. 2541
42 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช 1 ต.ค. 2541 30 ก.ย. 2542
43 นายอำนวย รองเงิน 1 ต.ค. 2542 30 ก.ย. 2544
44 นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช 1 ต.ค. 2544 15 ก.ค. 2546
45 นายสมัชชา โพธิ์ถาวร 16 ก.ค. 2546 30 ก.ย. 2547
46 นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ 1 ต.ค. 2547 30 ก.ย. 2548
47 นายวินัย บัวประดิษฐ์ 1 ต.ค. 2548 30 ก.ย. 2550
48 นายวิชัย ไพรสงบ 1 ต.ค. 2550 19 ต.ค. 2551
49 นายเยี่ยมสุริยา พาลุสุข 20 ต.ค. 2551 30 ก.ย. 2553
50 นายธำรงค์ เจริญกุล 1 ต.ค. 2553 6 ก.ค. 2557
51 นายประยูร รัตนเสนีย์ 17 พ.ย. 2557 30 ก.ย. 2558
52 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ 2 ต.ค. 2558 30 ก.ย. 2560
53 นายสิทธิชัย ศักดา 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561
54 นายศิริพัฒ พัฒกุล 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562
55 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2565
56 นายเอกรัฐ หลีเส็น 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566
57 นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย 1 ต.ค. 2566 16 พ.ย. 2567
58 นายไพรัตน์ เพชรยวน 26 ธ.ค. 2567 ปัจจุบัน

สถานศึกษา

อุดมศึกษา
การศึกษาพิเศษ
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา
โรงเรียน

การขนส่ง

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ

น้ำตกตำหนัง เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 63 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร น้ำตกโตนต้นเตย เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 45 เมตร ตามทางเดินจะผ่านจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นป่าเขาที่สมบูรณ์ของอุทยาน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลันได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา และปลาไหลมอเรย์ (moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

หมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นที่บังคลื่นลมได้ดีทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ มอแกน หรือ “ยิบซีแห่งท้องทะเล” ประมาณ 200 คน ปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัด 190,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.17 ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ (พ.ศ. 2539) เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น

อุทยานอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 14 มีนาคม 2565.
  3. 3.0 3.1 3.2 "บันทึกประเทศไทย ฉบับที่ 97 - จังหวัดพังงา".
  4. เจมส์ โลว์. (2542). จดหมายเหตุร้อยโทเจมส์โลว์“Journal of Public Mission to Raja of Ligor” แปลและเรียบเรียงโดย นันทา วรเนติวงศ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. หน้า 61–63.
  5. "แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย". แฟนพันธุ์แท้. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  6. "สมาชิกสภาอบจ". องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2024.
  7. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

8°27′N 98°32′E / 8.45°N 98.53°E / 8.45; 98.53