ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พิกัด: 9°08′N 99°20′E / 9.14°N 99.33°E / 9.14; 99.33
นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Surat Thani
คำขวัญ: 
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด12,891.469 ตร.กม. (4,977.424 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 6
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)
 • ทั้งหมด1,075,788 คน
 • อันดับอันดับที่ 19
 • ความหนาแน่น83.44 คน/ตร.กม. (216.1 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 59
รหัส ISO 3166TH-84
ชื่อไทยอื่น ๆสุราษฎร์ฯ เมืองคนดี เมืองร้อยเกาะ บ้านดอน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เคี่ยม
 • ดอกไม้บัวผุด
 • สัตว์น้ำปลาตะพัดเขียว
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
 • โทรศัพท์0 7727 2926
 • โทรสาร0 7728 2175
เว็บไซต์http://www.suratthani.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่[2] และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และระนอง

จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 98 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดกระบี่ ที่มี 154 เกาะ[3] เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช [4] แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อำเภอไชยาเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"[5]

นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด[6] และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์"[5] โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยารวมตัวเป็นจังหวัดไชยา ขึ้นตรงต่อมณฑลชุมพร เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการแยกเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอบ้านดอน กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการย้ายอำเภอเมืองมาที่อำเภอบ้านดอนและโอนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอไชยา และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" ทว่าประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ทั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดปรานชื่อบ้านดอน จึงพระราชทานนามอำเภอบ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และยังคงชื่ออำเภอพุมเรียงว่าอำเภอไชยาเช่นเดิม รวมถึงเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี[7] และพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปตีไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัต[5]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และอันดับ 1 ของภาคใต้[8] โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้

โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัด ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่น เกาะนางยวน เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด [9] โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่นํ้าพุมดวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส [10] และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร [11]

การปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

แผนที่อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  1. อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  2. อำเภอกาญจนดิษฐ์
  3. อำเภอดอนสัก
  4. อำเภอเกาะสมุย
  5. อำเภอเกาะพะงัน
  6. อำเภอไชยา
  7. อำเภอท่าชนะ
  8. อำเภอคีรีรัฐนิคม
  9. อำเภอบ้านตาขุน
  10. อำเภอพนม
  1. อำเภอท่าฉาง
  2. อำเภอบ้านนาสาร
  3. อำเภอบ้านนาเดิม
  4. อำเภอเคียนซา
  5. อำเภอเวียงสระ
  6. อำเภอพระแสง
  7. อำเภอพุนพิน
  8. อำเภอชัยบุรี
  9. อำเภอวิภาวดี

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล และ 97 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

อำเภอกาญจนดิษฐ์

อำเภอดอนสัก

อำเภอเกาะสมุย

อำเภอเกาะพะงัน

อำเภอไชยา

อำเภอท่าชนะ

อำเภอคีรีรัฐนิคม

อำเภอบ้านตาขุน

อำเภอพนม

อำเภอท่าฉาง

อำเภอบ้านนาสาร

อำเภอบ้านนาเดิม

อำเภอเคียนซา

อำเภอเวียงสระ

อำเภอพระแสง

อำเภอพุนพิน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

[แก้]
ลำดับ ชื่อ เข้ารับตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาวรฤทธิ์ฤๅไชย (คออยู่ตี๋ ณ ระนอง) พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พ.ศ. 2458
2 พระสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (สวาสดิ์ ภัทรนาวิก) พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2459
3 พระยาพิศาลสารเกษตร (พร พิมพสุต) พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2461
4 พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์ (รอด สาริมาน) พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2463
5 พระยาศรีมหาเกษตร (ชวน สมุทรานนท์) พ.ศ. 2463 พ.ศ. 2469
6 พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ) พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2477
7 พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์ (ชุบ ศรลัมภ์) พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2481
8 หลวงสฤษฎ์สาราลักษณ์ (เปรม ลางคุลเสน) พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2484
9 หลวงอรรถกัลยาณวินิจ (เอื้อน ยุกตะนันทน์) พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2485
10 นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2486
11 หลวงเกษมประศาสน์ (บุญหยด เกษมประศาสน์) พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2487
12 ขุนสำราญราษฎร์บริรักษ์ (จุ้ย ตัณฑโสภา) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2487
13 นายแม้น อรจันทร์   พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2487
14 ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สุวงศ์ วัฏฏสิงห์) พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2492
15 นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2496
16 ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิต อักษรสารสิทธิ์) พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2497
17 นายจันทร์ สมบูรณ์กุล พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2501
18 นายฉลอง รมิตานนท์ พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2503
19 นายประพันธ์ ณ พัทลุง   พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2509
20 นายพร บุญยะประสพ   พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2511
21 นายคล้าย จิตพิทักษ์ พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2515
22 นายอรุณ นาถะเดชะ    พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517
23 นายอนันต์ สงวนนาม      พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2519
24 นายชลิต พิมลศิริ   พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521
25 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522
26 นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2524
27 นายไสว ศิริมงคล พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2526
28 นายนิพนธ์ บุญญภัทโร พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2530
29 นายวิโรจน์ ราชรักษ์ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2532
30 นายดำริ วัฒนสิงหะ พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2533
31 นายอนุ สงวนนาม    พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2535
32 นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2537
33 นายประยูร พรหมพันธุ์    พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2539
34 นายปรีชา รักษ์คิด    พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540
35 นายนิเวศน์ สมสกุล พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
36 นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2543
37 นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์   พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544
38 นายยงยุทธ ตะโกพร พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545
39 หม่อมหลวงประทีป จรูญโรจน์ พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2546
40 นายธีระ โรจนพรพันธุ์ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547
41 นายวิจิตร วิชัยสาร พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2549
42 ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550
43 นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551
44 นายประชา เตรัตน์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552
45 นายดำริห์ บุญจริง พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553
46 นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2555
47 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2555
48 นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ   พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558
49 นายวงศศิริ พรหมชนะ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559
50 นายอวยชัย อินทร์นาค พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
51 นายวิชวุทย์ จินโต พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2566
52 นายเจษฎา จิตรัตน์ พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567
53 นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

[แก้]

เกษตรกรรม

[แก้]
การประกอบอาชีพประมงที่เกาะเต่า

ประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 162,329 บาท ต่อปี โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยใช้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกประมาณ 45% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ[12] นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก่ กระบือ และเป็ดตามลำดับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายงานแสดงจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แยกตามอาชีพทางการเกษตร

อุตสาหกรรม

[แก้]

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด[12] นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์[12] สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ในตำบลตลาดถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย

การคมนาคม

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

สถานีขนส่งหลักที่สำคัญ

[แก้]

ท่าอากาศยาน

[แก้]

สถานีรถไฟ

[แก้]

สถานีรถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • สถานีขนส่งสุราษฎร์ธานี
  • ตลาดเกษตร 1
  • ตลาดเกษตร 2

ท่าเทียบเรือ

[แก้]
  • ท่าเทียบเรือนอน (ไปเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า)
  • ท่าเทียบเรือนอนเฟอร์รี่ (ไปเกาะเต่า)
  • ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่ ตำบลตลิ่งงาม
  • ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่ (หน้าทอน)
  • ท่าเทียบเรือเกาะสมุย (หน้าทอน)
  • ท่าเรือหน้าพระลานแม่น้ำ (เรือลมพระยา)
  • ท่าเทียบเรือบางรัก
  • ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด)
  • ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่
  • ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่
  • ท่าเทียบเรือท้องศาลา
  • ท่าเทียบเรือเกาะเต่า

การศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา

[แก้]

สถาบันอาชีวศึกษา

[แก้]
  • วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์
  • วิทยาลัยการอาชีพไชยา
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุยบริหารธุรกิจ
  • วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองนาสาร
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัยสุวรรณภูมิ
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

โรงเรียน

[แก้]

ธนาคาร

[แก้]

ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีธนาคารทั้งหมด 18 ธนาคาร และมีจำนวนสาขาของธนาคารทั้งหมด 192 สาขา ได้แก่

โรงพยาบาล

[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์

[แก้]
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

โรงพยาบาลทั่วไป

[แก้]
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์
  • โรงพยาบาลทักษิณ
  • โรงพยาบาลศรีวิชัย
  • โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
  • โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์
  • โรงพยาบาลไชยา
  • โรงพยาบาลเกาะพะงัน
  • โรงพยาบาลเกาะสมุย
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย
  • โรงพยาบาลสมุยอินเตอร์เนชั่นแนล
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ
  • โรงพยาบาลบ้านนาสาร
  • โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม
  • โรงพยาบาลเคียนซา
  • โรงพยาบาลชัยบุรี
  • โรงพยาบาลดอนสัก
  • โรงพยาบาลวิภาวดี
  • โรงพยาบาลท่าชนะ
  • โรงพยาบาลท่าฉาง
  • โรงพยาบาลพุนพิน
  • โรงพยาบาลกองบิน 7
  • โรงพยาบาลท่าโรงช้าง
  • โรงพยาบาลพระแสง
  • โรงพยาบาลบ้านตาขุน
  • โรงพยาบาลบ้านนาเดิม
  • โรงพยาบาลพนม

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์: จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หอมรดกไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
  3. "แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย". แฟนพันธุ์แท้. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  4. โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หน้า 1[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 ระบบสารสนเทศจังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดู "ประวัติความเป็นมา"
  6. ฐานข้อมูลท้องถิ่น, เมืองโบราณ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
  7. ประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  8. ประวัติความเป็นมา ที่ตั้งและอาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ การเดินทาง
  9. "ภูมิประเทศจังหวัดสุราษฏร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  10. "ข้อมูลอุณหภูมิในรอบปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  11. "ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในรอบปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  12. 12.0 12.1 12.2 ฐานข้อมูลท้องถิ่น, สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เก็บถาวร 2008-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

9°08′N 99°20′E / 9.14°N 99.33°E / 9.14; 99.33