ข้ามไปเนื้อหา

ซีเกมส์ 2013

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27
เมืองเจ้าภาพเนปยีดอ
ประเทศธงของประเทศพม่า พม่า
คำขวัญGreen, Clean and Friendly
(เขียว สะอาดและมิตรภาพ)
ประเทศเข้าร่วม11 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม4,730 คน
กีฬา34 ชนิดกีฬา
ชนิด460 ประเภท
พิธีเปิด11 ธันวาคม 2556 (2556-12-11)
พิธีปิด22 ธันวาคม 2556 (2556-12-22)
ประธานพิธีเปิดญานทู่น
รองประธานาธิบดีพม่า
ประธานพิธีปิดญานทู่น
รองประธานาธิบดีพม่า
นักกีฬาปฏิญาณแซนดี อู
ผู้จุดคบเพลิงเว ลิน ทอน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาวูนนะเตะดิ
เว็บไซต์ทางการseagames2013.com

กีฬาซีเกมส์ 2013 เป็นการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 27 ซึ่งมีการกำหนดจัดขึ้นที่เนปยีดอ เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศพม่า[1][2][3] รวมทั้งในเมืองหลักอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์[4] และหาดงเวซอง เมืองพะสิม[5]

สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGF) ได้มีการประชุมที่กรุงจาการ์ตา ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพแก่ประเทศพม่าในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 27[6]

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียยังได้รับรองการเป็นเจ้าภาพของประเทศพม่าสำหรับซีเกมส์ครั้งที่ 27 นี้ ในข่าวการเปิดตัว ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553[7] เว็บไซต์ทางการของสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) ยังได้ประกาศว่าประเทศพม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน[8] โดยพม่าเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง 1961 และ 1969 ตามลำดับที่ย่างกุ้ง ในครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งที่สามที่ประเทศพม่าจะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ส่วนประเทศสิงคโปร์ได้ถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากคาดว่าอาจมีความล่าช้าในการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติสนามใหม่[9]

การดำเนินการ

[แก้]

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]

พม่า, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทย ได้เสนอความต้องการที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และไทยเป็นเจ้าภาพใน ซีเกมส์ 2003, 2005 และ 2007 ตามลำดับ ประเทศเหล่านี้จึงไม่อาจที่จะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้[10]

โดยประเทศพม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งเป็นการเว้นช่วงระยะเวลาการเป็นเจ้าภาพที่ห่างยาวนานถึง 44 ปี

พม่าร้องขอให้ประเทศไทยช่วยเหลือด้านเทคนิคกีฬา การฝึกอบรมผู้ตัดสิน คำแนะนำในการแต่งตั้งคณะอำนวยการจัดการแข่งขัน การบริหารจัดการแข่งขัน และด้านการเตรียมความพร้อมของนักกีฬา

สนามที่ใช้แข่งขัน

[แก้]
ซีเกมส์ 2013ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ย่างกุ้ง
ย่างกุ้ง
มัณฑะเลย์
มัณฑะเลย์
เนปยีดอ
เนปยีดอ
พะสิม
พะสิม
เมืองจัดการจัดแข่งขัน
เมือง สนามแข่งขัน กีฬาที่แข่ง
เนปยีดอ สนามกีฬาวูนนะเตะดิ
สนามกีฬาหลัก พิธีเปิดและพิธีปิด, กรีฑา
อาคารสนามกีฬา ตะกร้อ, วูซู, แบดมินตัน, คาราเต้, เทควันโด, เทเบิลเทนนิส
อาคารสนามกีฬาฟุตซอล ฟุตซอล
อาคารสนามกีฬามวยสากลสมัครเล่น มวยสากลสมัครเล่น, มวย
อาคารสนามบิลเลียดและสนุกเกอร์ บิลเลียดและสนุกเกอร์
ศูนย์กีฬาทางน้ำ กระโดดน้ำ, ว่ายน้ำ
สนามขี่ม้า ขี่ม้า
สนามจักรยาน จักรยาน
สนามกีฬาเซย์ยาร์ธีรี
สนามกีฬาหลัก ฟุตบอล
อาคารสนามกีฬา วอลเลย์บอล, ยูโด, โววีนัม, ปันจักสีลัต, บาสเกตบอล
สระว่ายน้ำ โปโลน้ำ
สถานที่อื่น ๆ
เมานต์เพล จักรยาน
เขื่อนนกาไลค์ เรือแคนู, เรือพาย, เรือประเพณี
ถนนใน ตำบลแลเว, ตำบลปยินมะนา, ตำบลตะโกง จักรยาน
สนามกอล์ฟราชพม่า กอล์ฟ
โรงแรมซาบูติริ หมากรุก
ย่างกุ้ง สนามกีฬาธูวันนา ฟุตบอล
อาคารสนามกีฬาธูวันนา มวยปล้ำ, เค็นโป
สนามกีฬาเต็งพยู ยกน้ำหนัก
สนามฮอกกี ฮอกกี้
สนามยิงปืนดากองเหนือ ยิงปืน
ศูนย์ประชุมแห่งชาติพม่า เพาะกาย
มัณฑะเลย์ สนามกีฬามันดาลาร์ธีรี ฟุตบอล
พะสิม หาดงเวซอง เรือใบ

การตลาด

[แก้]
มาสคอต

สัญลักษณ์การแข่งขัน

[แก้]

สัญลักษณ์การแข่งขันเป็นลักษณะคนถือลูกบอลวิ่งอยู่ในวงกลมสีเหลือง ซึ่งลักษณะของรูปร่างคนนั้น นำเอาลักษณะแผนที่ประเทศพม่า ประกอบไปด้วยสีในส่วนขาของรูปคน สื่อถึงการทำงานหนัก และความกล้าหาญของชาวพม่า ส่วนตัวสีเขียว คือ ความรักธรรมชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอนุรักษ์ธรรมชาติที่พม่ากำลังพยายามดำเนินการ ส่วนหัวที่มีสีเขียว เหลือง แดง คือ สีธงชาติของพม่า วงกลมสีเหลืองเปรียบเสมือนความเท่าเทียมและความมีภราดรภาพ รวมถึงการร่วมมือกันของชาวอาเซียนแบบไร้พรมแดน โดยมีสัญลักษณ์ของสหพันธ์ซีเกมส์ที่เป็นวงกลมซ้อนกัน 11 วง คือ 11 ชาติอาเซียน

มาสคอต

[แก้]

นกฮูก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดและสงบเสงี่ยมที่สุด รวมทั้งมีสมดุลในตัวเอง ซึ่งชาวพม่าถือว่าเป็นสัตว์ที่นำโชคมาให้คนในครอบครัว จึงต้องมีตุ๊กตานกฮูกอยู่ในทุกๆ บ้าน โดยมี 2 ตัว ตัวผู้ชื่อ อู่ ชิ่ว ยู และตัวเมียชื่อ ดอว์ โม ซึ่งถือเป็นซีเกมส์ 3 ครั้งติดต่อกันที่เจ้าภาพซีเกมส์เลือกให้มีแมสคอต 2 ตัว นับตั้งแต่ ลาว เจ้าภาพครั้งที่ 25 เลือกช้างชื่อ จำปี-จำปา และ อินโดนีเซีย เจ้าภาพครั้งที่แล้ว ใช้มังกรโคโมโดชื่อ โมโด้ และ โมดี้

การแข่งขัน

[แก้]

พิธีเปิด

[แก้]

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม 2013 ที่สนามกีฬา Wunna Theikdi เป็นพิธีเปิดการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศพม่านับตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทอง เมื่อปี 1969 มีการแสดงเปิดตัวที่หลากหลายและตระการตารวมทั้งสีสันของพลุที่ได้รับทีมงานจากจีนที่มีประสบการณ์ใน เอเชียนเกมส์ 2010 และ โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 มาสนับสนุน โดยพิธีเปิดในครั้งนี้มีประธานคือ เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของพม่า ได้ทำการเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดยการเชิญธงซีเกมส์ และธงชาติพม่าขึ้นสู่ยอดเสา พิธีเปิดในครั้งนี้ใช้เด็กนักเรียน 12,000 คนและวงออเคสตร้ามาร่วมแสดง การจุดไฟในกระถางคบเพลิงเป็นอีกสิ่งที่ความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวพม่า โดยให้ Aye Myint Kyu นักกีฬายิงธนูทีมชาติพม่า ยิงธนูไฟลงในกระถางคบเพลิง นอกจากนี้ยังมีการแสดงเต้นรำพร้อมๆกับการจบพิธีเปิดการแข่งขัน[11]

จำนวนผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ประเทศพม่าได้เสนอให้จัดกีฬา 28 ชนิด ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนกีฬาที่มีอยู่ในซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย[30] โดยผู้จัดมิได้เสนอให้มีวอลเลย์บอลชายหาด รวมถึงกีฬาเต้นรำ เนื่องด้วยพวกเขาได้พิจารณาว่าเครื่องแต่งกายเหล่านั้นไม่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาหญิงชาวพม่า[31] แต่ในภายหลัง ได้บรรจุกีฬาในซีเกมส์ครั้งนี้ 38 ชนิด (กีฬาชิงเหรียญทอง 37 ชนิด และกีฬาสาธิต 1 ชนิด) การแข่งขันครั้งนี้มีกีฬาสาธิตคือ ฟลอร์บอล ซึ่งไม่มีการชิงชัยเหรียญทอง ส่วนกีฬาอื่น ๆ ได้แก่

กีฬาสาธิต

ปฏิทินการแข่งขัน

[แก้]
OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบทั่วไป 1 เหรียญทอง CC พิธีปิด
ธันวาคม 4
พ.
5
พฤ.
6
ศ.
7
ส.
8
อา.
9
จ.
10
อ.
11
พ.
12
พฤ.
13
ศ.
14
ส.
15
อา.
16
จ.
17
อ.
18
พ.
19
พฤ.
20
ศ.
21
ส.
22
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
พิธีการ OC CC
กระโดดน้ำ1 2 2 2 2 8
ว่ายน้ำ1 7 6 7 6 6 32
โปโลน้ำ1 1 1
ยิงธนู1 2 2 2 2 2 10
กรีฑา1 9 7 10 9 12 47
แบดมินตัน1 5 5
บาสเกตบอล1 2 2
บิลเลียดและสนุกเกอร์2 2 1 1 2 2 1 1 2 12
เพาะกาย1 1 1 1 2 5
มวยสากล1 14 14
เรือแคนู1 5 7 4 16
หมากรุกสากล2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 18
ชี่นโล่น4 1 1 2 1 1 2 8
จักรยาน1 2 1 3 1 1 2 1 2 13
ขี่ม้า1 1 1 1 1 1 1 6
ฟุตบอล1 1 1 2
ฟุตซอล2 2 2
กอล์ฟ2 1 1 1 1 4
ฮอกกี้1 1 1 2
ยูโด1 4 5 5 4 18
คาราเต้1 5 6 6 17
เค็นโป3 5 5 3 5 18
มวยไทย2 3 2 3 2 4 14
ปันจักสีลัต2 3 3 3 3 3 15
เปตอง2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 11
เรือพาย1 2 2 2 3 9
เรือใบ1 1 1 1 2 2 1 3 2 13
เซปักตะกร้อ2 1 1 1 1 1 1 1 1 2 10
ยิงปืน1 1 1 2 2 2 2 2 12
เทเบิลเทนนิส1 2 2 4
เทควันโด1 5 5 5 6 21
เรือประเพณี2 4 4 4 5 17
วอลเลย์บอลในร่ม1 2 2
โววีนัม3 6 6 6 18
ยกน้ำหนัก1 3 4 2 2 11
มวยปล้ำ1 4 5 4 8 21
วูซู1 6 7 5 5 23
ฟลอร์บอล5 0
จำนวนเหรียญทอง 1 1 2 7 8 19 21 1 25 37 39 58 39 36 39 48 38 40 2 461
จำนวนเหรียญสะสม 1 2 4 11 19 38 59 60 85 122 161 219 258 294 333 381 419 459 461
ธันวาคม 4
พ.
5
พฤ.
6
ศ.
7
ส.
8
อา.
9
จ.
10
อ.
11
พ.
12
พฤ.
13
ศ.
14
ส.
15
อา.
16
จ.
17
อ.
18
พ.
19
พฤ.
20
ศ.
21
ส.
22
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
หมายเหตุ
1 - กีฬาที่มีการแข่งขันในโอลิมปิก
2 - กีฬาที่แข่งขันเฉพาะในเอเชียนเกมส์
3 - กีฬาที่แข่งขันเฉพาะใน ซีเกมส์
4 - กีฬาที่ถูกบรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก
5 - กีฬาสาธิต ไม่มีการชิงเหรียญทอง


สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

  *  เจ้าภาพ ( พม่า)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย (THA)1079481282
2 พม่า (MYA)*866285233
3 เวียดนาม (VIE)738686245
4 อินโดนีเซีย (INA)6584111260
5 มาเลเซีย (MAS)433877158
6 สิงคโปร์ (SIN)342945108
7 ฟิลิปปินส์ (PHI)293438101
8 ลาว (LAO)13174979
9 กัมพูชา (CAM)8112847
10 ติมอร์-เลสเต (TLS)23510
11 บรูไน (BRU)1168
รวม (11 ประเทศ)4614596111531
แหล่งที่มา: [32]
การเปลี่ยนแปลงเหรียญ

กันยายน 2014 นักกีฬาเหรียญทองจากพม่า Saw Marla Nwe (กรีฑา) และ Min Zaw Oo (เพาะกาย) พร้อมด้วยนักกีฬาเหรียญเงินจากอินโดนีเซีย Indra Gunawan (ว่ายน้ำ) ถูกตรวจพบว่าใช้สารต้องห้าม และถูกถอดถอนเหรียญรางวัล[33][34][35][36]

วันวินิจฉัย กีฬา ชนิด ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
2013 กรีฑา เดิน 20 กิโลเมตร บุคคลหญิง พม่า –1 +1 –1 –1
เวียดนาม +1 −1 0
ไทย +1 +1
2013 เพาะกาย 80 กิโลกรัม พม่า –1 –1
ไทย +1 −1 0
อินโดนีเซีย +1 −1 0
มาเลเซีย +1 +1
2014 ว่ายน้ำ ท่ากบ 100 เมตร ชาย อินโดนีเซีย −1 –1
ฟิลิปปินส์ +1 −1 0
ไทย +1 +1
2014 ว่ายน้ำ 4 × 100 เมตร ผลัดผสม ชาย อินโดนีเซีย –1 –1
สิงคโปร์ +1 −1 0
ไทย +1 −1 0
มาเลเซีย +1 +1

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • ประเทศไทย ได้เป็นเจ้าเหรียญทองในซีเกมส์ครั้งนี้[37]
  • ในการแข่งขันขี่ม้า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ได้ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้า โดยในรอบแรกทรงทำคะแนนได้เป็นลำดับที่ 1 ของทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศทรงทำคะแนนได้ 50.617 คะแนน จบอันดับที่ 10 ของการแข่งขัน
  • ในการแข่งขันกรีฑา ประเทศไทย สามารถคว้าเหรียญทองได้มากถึง 17 เหรียญทอง จาก 47 เหรียญทอง โดยไฮไลต์ของการแข่งขันคือ วิ่งข้ามรั้ว 400 ม. หญิง ที่ไทยส่ง วาสนา วินาโท เข้าแข่งขัน ซึ่งใน 5 เมตรสุดท้าย วาสนาสามารถแซงคู่แข่งจากเวียดนามไปได้อย่างเฉียดฉิว คว้าเหรียญทองได้สำเร็จ
  • ในการแข่งขันวอลเลย์บอล ทีมชายสามารถคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่ 5 ส่วนทีมหญิงคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 11 ในซีเกมส์ โดยไม่เสียเซต
  • ในการแข่งขันฟุตบอล และฟุตซอล สามารถคว้าเหรียญทองมาได้ทั้ง 4 ประเภท สร้างประวัติศาสตร์ที่ 2 ต่อจาก ซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา
  • ในการแข่งขันฟุตบอล ทีมชาติพม่าตกรอบแรกไปอย่างน่าเสียดาย เพราะอินโดนีเซียได้กฎเฮดทูเฮดมากกว่า ทั้งๆที่พม่าน่าจะทำประตูได้มากกว่า ทำให้แฟนบอลเจ้าถิ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาท ชุลมุนวุ่นวาย ก่อนที่ตำรวจจะออกมาระงับเหตุ
  • ในการแข่งขันครั้งนี้ ประเทศไทย ตั้งความหวังไว้ที่ อันดับที่ 2 ของการแข่งขัน ได้ 110 เหรียญทอง แต่กลับกลายเป็นว่าได้อันดับที่ 1 และได้ 107 เหรียญทอง และนอกจากนี้ในกีฬาหลายประเภทสามารถทำผลงานได้ทะลุเป้าตามที่สมาคมได้วางเอาไว้

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Myanmar Tuan Rumah SEA Games XXVII". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  2. "Junta Builds Stadium in Bid to Host 2013 SEA Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-12. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  3. "OCM Confident Myanmar Can Host 2013 SEA Games Successfully". สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  4. "Myanmar prepares for the 2013 Southeast Asian Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-24. สืบค้นเมื่อ 2012-01-05.
  5. "More hotels to open at Ngwe Saung beach for SEA Games in 2013". Xinhua News. 7 November 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2013.
  6. "Myanmar to host 2013 SEA Games". สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.[ลิงก์เสีย]
  7. "SEA Games updates for 2011, 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  8. "MYANMAR TO HOST SEA GAMES 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  9. "We're not hosting SEA Games 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  10. Burma hopeful of hosting 2013 SEA Games - Burma News
  11. "Myanmar Lights Up The Skies For 27th SEA Games". 27seagames2013.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-15. สืบค้นเมื่อ 12 December 2013.
  12. "Athlete List: Brunei". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  13. Yee Chun Leong (1 ธันวาคม 2013). "61 to represent Brunei at Myanmar Games". The Brunei Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2013.
  14. "Athlete List: Cambodia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  15. Over 200 Cambodian athletes to join SEA Games in Myanmar next month เก็บถาวร 12 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. "Athlete List: Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  17. "Athlete List: Laos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  18. "Athlete List: Malaysia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  19. "Sea Games The Best Platform To Expose Young Athletes – CDM". Bernama. 4 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2014. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  20. "Athlete List: Myanmar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  21. "Athlete List: Philippines". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  22. "Meet your Philippine contingent to the Myanmar SEA Games". 10 December 2013. สืบค้นเมื่อ 14 December 2013.
  23. "Athlete List: Singapore". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  24. "FIRST EVER TRI-CONTINGENT CEREMONY KICKS OFF TEAM SINGAPORE MAJOR GAMES JOURNEY" (PDF). Singapore Sports Council. 18 November 2013. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.[ลิงก์เสีย]
  25. "Athlete List: Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  26. "แข่งที่พม่าสะท้อนไทย 'ศึกซีเกมส์' กีฬามี 'มากกว่ากีฬา' | เดลินิวส์ – อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2018.
  27. "Athlete List: Timor-Leste". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  28. "Athlete List: Vietnam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  29. "Đoàn Thể thao Việt Nam tham dự SEA Games 27 với 519 VĐV". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2013. สืบค้นเมื่อ 16 December 2013.
  30. "Myanmar to host 2013 SEA Games". สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.[ลิงก์เสีย]
  31. Satumbaga, Kristel (4 April 2012). "Myanmar Does What Others Do". Manila Bulletin Publishing Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 5 April 2012.
  32. "OCA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2016.
  33. "hafiy found guilty doping by Asia sports medical body". Facebook.
  34. "Schooling gets his 6th gold for 2013 SEA Games".
  35. "SEA Games: Three guilty of doping at Myanmar Games". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2014. สืบค้นเมื่อ 18 January 2017.
  36. "FINA Announces Two Indonesian Swimmers Banned for Two Years for Doping". 2014-03-10.
  37. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
จาการ์ตา–ปาเล็มบัง 2011
ซีเกมส์
ซีเกมส์ ครั้งที่ 27 (2013)
ถัดไป
สิงคโปร์ 2015