ข้ามไปเนื้อหา

ซีเกมส์ 2007

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24
เมืองเจ้าภาพจังหวัดนครราชสีมา
ประเทศ ไทย
คำขวัญSpirit, Friendship and Celebrations
สปิริต มิตรภาพ และ การเฉลิมฉลอง
ประเทศเข้าร่วม11 ประเทศ[1]
นักกีฬาเข้าร่วม5,282 คน
กีฬา43 ชนิดกีฬา
ชนิด475 ประเภท
พิธีเปิด6 ธันวาคม 2550 (2550-12-06)
พิธีปิด15 ธันวาคม 2550 (2550-12-15)
ประธานพิธีเปิดสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
สยามมกุฎราชกุมาร
ประธานพิธีปิดสุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรีไทย
นักกีฬาปฏิญาณสืบศักดิ์ ผันสืบ
ผู้ตัดสินปฏิญาณไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์
ผู้จุดคบเพลิงอุดมพร พลศักดิ์
สนามกีฬาพิธีสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เว็บไซต์ทางการ2007seagames.com

กีฬาซีเกมส์ 2007 เป็นการแข่งขันกีฬา ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การจัดการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในการเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 ถือเป็นการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 6 ของประเทศไทย ตราสัญลักษณ์ ออกแบบโดย นายประสิทธิ์ นุ่นสังข์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน [ต้องการอ้างอิง]

สถานที่จัดการแข่งขัน

[แก้]

จังหวัดหลักในการจัดการแข่งขันคือจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาหลายประเภทแยกย้ายกันไปจัดตามสนามกีฬาต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา เช่น สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา สนามกีฬาของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หรือสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น[2]

การแข่งขันกีฬาบางประเภทจะใช้สนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร และสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี สำหรับกีฬาทางน้ำจะจัดแข่งขันที่เมืองพัทยา

จังหวัด สนามแข่งขัน กีฬาที่แข่ง
นครราชสีมา ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พิธีเปิดและพิธีปิด, กรีฑา, ฟุตบอล
สระว่ายน้ำ กระโดดน้ำ, ว่ายน้ำ, โปโลน้ำ
สนามวอลเลย์บอลชายหาด วอลเลย์บอล
ลิปตพัลลภ ฮอลล์ ยิมนาสติก
โคราช ชาติชาย ฮอลล์ วอลเลย์บอล
สนามเทสนิส เทสนิส
เวลโลโดรม จักรยาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สนามฟุตบอล 2 ยิงธนู
อาคารกีฬาภิรมย์ บาสเกตบอล
อาคารสุรพัฒน์ 2 ฟันดาบ
สนามเปตอง เปตอง
สุรพลากรีฑาสถาน ฟุตบอล
สถานที่อื่น ๆ
สนามกีฬาเทศบาล อำเภอปักธงชัย มวยสากล, ฟุตบอล
โบนันซ่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ กอล์ฟ
อาคารเก็บกาญจนา โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ คาราเต้, วูซู
เขายายเที่ยง จักรยาน
อีเวนท์ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า จอมสุรางค์ เทเบิลเทนนิส
ถนนมิตรภาพ จักรยาน
สนามกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา ฟุตบอล, มวยไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพาะกาย, ซอฟต์บอล
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ยกน้ำหนัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ยูโด, มวยปล้ำ
ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี บิลเลียดและสนุกเกอร์
ศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เทศบาลตำบลสูงเนิน ปันจักสีลัต
สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี รักบี้ยูเนียน
เอ็มซีซีฮอลล์ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา เซปักตะกร้อ
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล แบดมินตัน, ลีลาศ, เทควันโด
กรุงเทพมหานคร อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ แฮนด์บอล
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษามหาราชินี เบสบอล, ฮอกกี้, ลอนโบวล์ส
ราชพฤกษ์คลับ สควอช
เอสเอฟ สไตร์ค โบว์ล โบล์ลิ่ง
การกีฬาแห่งประเทศไทย ฟุตซอล, ยิงปืน
วีอาร์สปอร์ตคลับ โปโล
ชลบุรี แอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ไตรกีฬา
ฮอร์สชู พอยท์ ขี่ม้า
อ่างเก็บน้ำมาบประชัน เรือแคนู, เรือพาย, เรือประเพณี
โอเชี่ยนมารีน่า ยอร์ช คลับ หาดจอมเทียน เรือใบ
ไทย โปโล คลับ ขี่ม้า

การแข่งขัน

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมกีฬาซีเกมส์ 2007 มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์

ชนิดกีฬา

[แก้]

ผลสรุปล่าสุดจากการประชุมของมนตรีซีเกมส์มีความเห็นว่าจะจัดการแข่งขัน 43 ชนิดกีฬา 485 เหรียญทอง ดังนี้[3][4][5][6][7][8]

กีฬาสาธิต

หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 กีฬาที่ไม่ได้จัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก
  2. ไม่ใช่กีฬาโอลิมปิกดั้งเดิมหรือกีฬาซีเกมส์และเสนอโดยประเทศเจ้าภาพ
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 กีฬาที่แข่งขันระดับซีเกมส์
  4. 4.0 4.1 อดีตกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ ไม่เคยมีการแข่งขันก่อนหน้านี้ และเสนอโดยประเทศเจ้าภาพเท่านั้น

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

  *  เจ้าภาพ ( ไทย)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย (THA)*183123103409
2 มาเลเซีย (MAS)685296216
3 เวียดนาม (VIE)645882204
4 อินโดนีเซีย (INA)566483203
5 สิงคโปร์ (SIN)434341127
6 ฟิลิปปินส์ (PHI)419196228
7 พม่า (MYA)14264787
8 ลาว (LAO)573244
9 กัมพูชา (CAM)251118
10 บรูไน (BRU)1146
11 ติมอร์-เลสเต (TLS)0000
รวม (11 ประเทศ)4774705951542
แหล่งที่มา: [9][10][11]

การตลาด

[แก้]

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ

[แก้]

สัญลักษณ์การแข่งขัน ออกแบบโดย คุณประสิทธิ์ นุ่นสังข์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ออกแบบเป็นรูปทรงปราสาทหินพิมาย ของ จ.นครราชสีมา พร้อมรูปเรือใบ 3 ลำ สื่อความหมายในเรื่องของความก้าวหน้า การผสานวัฒนธรรม และ เทคโนโลยีของประเทศไทย ส่วนของใบเรือใบแรก ได้จัดวางสัญลักษณ์ห่วงวงกลมของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ สื่อถึงความสัมพันธ์ทางด้านการกีฬาของประชาชาติในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

รูปทรงปรางค์ของปราสาทหินพิมาย แสดงถึงความล้ำค่าของ จ.นครราชสีมา และความภาคภูมิใจของคนในจังหวัด ตราสัญลักษณ์นี้ ผู้ออกแบบยังได้แรงบันดาลใจ จากการเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และการที่ปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบ ประเภท OK ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ชื่อเดิมของกีฬาซีเกมส์) ในการแข่งขัน ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2510

สีเหลืองที่ใช้ เป็นสีของวันพระราชสมภพ (วันจันทร์) ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การใช้สี เหลือง แดง และ น้ำเงิน ประกอบกันเพราะต่างก็เป็นแม่สีตามทฤษฎีสี สื่อความหมายถึงกีฬาของชาวเอเชียอาคเนย์ที่ก่อเกิด เอกภาพ สัมพันธภาพ และมิตรภาพที่ดีต่อกัน[12]

สัญลักษณ์นำโชค

[แก้]

เป็นรูปแมวสีสวาดกำลังเป่าแคน มีผ้าขาวม้าสีสันสดใสแบบชาวอีสานคาดที่พุง และตราสัญลักษณ์ซีเกมส์ครั้งที่ 24 อยู่ที่แขนเสื้อ ออกแบบภาพตัวนำโชคโดย นายสะอาด จอมงาม ชาวจังหวัดเชียงใหม่

แมวสีสวาด มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดหลักของการแข่งขันครั้งนี้ ชาวไทยเชื่อกันว่า เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ นำโชคลาภ และความเป็นสิริมงคล มาสู่ผู้เลี้ยงดูและผู้พบเห็น นอกจากนี้ ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

สำหรับชื่อของแมวสัญลักษณ์นำโชคเพศผู้ตัวนี้ มีชื่อว่า แคน แปลว่า ความสามารถ สื่อความหมายถึง การส่งแรงใจให้นักกีฬาทุกชาติที่ร่วมแข่งขัน ให้สามารถคว้าเหรียญทองได้สำเร็จ ถือเป็นชื่อสั้น ออกเสียงง่าย อีกทั้งพ้องเสียงกับชื่อเครื่องดนตรีประจำภาคอีสานด้วย สำหรับผู้ตั้งชื่อสัญลักษณ์นำโชคตัวนี้ คือ เด็กหญิงปิยะธิดา ศรีวิมล อายุ 8 ปี ชาวจังหวัดนนทบุรี[13]

เพลงประจำการแข่งขัน

[แก้]

นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร หรือ ครูเป็ด นักแต่งเพลงชื่อดัง ได้แต่งเพลงที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 นี้ มีทั้งหมด 3 เพลง คือ

  • Rythm of the winner เนื้อหาของเพลงมีจังหวะสนุกสนาน คล้ายกับจังหวะแซมบ้าของบราซิล ที่มีจังหวะเร้าใจ เพื่อกระตุ้นคนดูให้เกิดความสนใจ ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน ไม่ว่าผู้ชนะจะเป็นใคร แต่ขอให้คุณชนะใจตัวเองก็สามารถเป็นที่ 1 ได้
  • We are the Water ใช้ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 เนื้อหาของเพลงใช้น้ำ เป็นสื่อในการเปรียบเทียบ ว่าน้ำไม่มีการแบ่งแยก ไม่ว่าจะเป็น น้ำทะเล น้ำฝน หรือ น้ำคลอง แต่น้ำก็ยังสามารถมารวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งน้ำ ยังให้คุณประโยชน์หลายอย่างมากมาย
  • Friendship Card เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า และใช้เครื่องดนตรีน้อยลง เพลงนี้จะใช้เป็นของขวัญมอบให้กับนักกีฬาที่เราชื่นชอบ เพื่อสื่อถึงมิตรภาพ ซึ่งจะใช้ในพิธีปิดการแข่งขันวันที่ 16 ธันวาคม

ผู้ให้การสนับสนุน

[แก้]

ภาครัฐ

ภาคเอกชน

สิทธิการออกอากาศ

[แก้]

สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันทางสถานีโทรทัศน์หลัก (ฟรีทีวี) โดยหมุนเวียนการถ่ายทอดสด และ การถ่ายทอดสดทุกรอบจะไม่มีโฆษณาคั่น และ เสนอเทปสรุปผลการแข่งขันรายวันในเวลา 22.45-23.45 น. ทาง สทท.11 ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ จะทำการบันทึกเทปสรุปผลการแข่งขันเพื่อนำเผยแพร่ในภาคข่าวกีฬาของแต่ละช่องทุกวัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Home Page – Sea Games 2007 Information Center Nakhon Ratchasima THAILAND เก็บถาวร 13 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "สนามแข่งขันที่ จ. นครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.
  3. "ซีเกมส์ลงตัว เลขเด็ด485". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.
  4. SEA Games list of sports by the Korat Post เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Complete Schedule
  6. Events and medals
  7. "Complete Schedule 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009.
  8. "Events and medals 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009.
  9. "24th SEA games Website of OCA". 31 December 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2016. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
  10. "2009 SEA Games to reduce number of Olympic sports". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. 24th SEA Games 2007 Official Results
  12. "ที่มาของตราสัญลักษณ์ซีเกมส์ 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.
  13. "ที่มาของตัวนำโชคซีเกมส์ 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
มะนิลา 2005
ซีเกมส์
ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 (2007)
ถัดไป
เวียงจันทน์ 2009