ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว
ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว | |
---|---|
ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว | |
ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว มองจากถนน Avenue du Marechal Gallieni | |
พิกัด | 48°51′49″N 2°18′49″E / 48.86361°N 2.31361°E |
ข้าม | แม่น้ำแซน |
ที่ตั้ง | กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
ชื่อทางการ | ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว |
สถานะ | อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานโค้ง |
วัสดุ | เหล็กกล้า |
ความยาว | 160 เมตร |
ความกว้าง | 40 เมตร |
ช่วงยาวที่สุด | 107.50 เมตร |
จำนวนช่วง | 1 ช่วง |
ประวัติ | |
ผู้ออกแบบ | โฌแซ็ฟ กาเซียง-แบร์นาร์ กัสตง กูแซ็ง ฌ็อง เรซาล อาเมเด ดาลบี |
วันเริ่มสร้าง | ค.ศ. 1886 |
วันสร้างเสร็จ | ค.ศ. 1900 |
วันเปิด | ค.ศ. 1900 |
ที่ตั้ง | |
ปงอาแล็กซ็องดร์-ทรัว หรือ สะพานอะเลคซันดร์ที่ 3 (ฝรั่งเศส: Pont Alexandre-III) เป็นสะพานโค้งพาดผ่านแม่น้ำแซน เชื่อมต่อทั้งสองฝั่งแม่น้ำด้านฝั่งหอไอเฟลกับฝั่งช็องเซลีเซเข้าด้วยกัน โดยได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นสะพานที่ประดับประดาไปด้วยงานศิลปะชั้นเลิศ และหรูหราที่สุดในปารีส โดยในปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส
ประวัติ
[แก้]ตัวสะพานสร้างช่วงปี ค.ศ. 1896-1900 ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว ประกอบไปด้วยโคมไฟอันวิจิตร รูปปั้นทูตสวรรค์ เทพธิดา และม้าบินตั้งอยู่บนเสาหินฝั่งละ 2 เสา โดยได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเด็จพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ที่ได้ตกลงสัญญาพันธมิตรระหว่างสองประเทศในปี ค.ศ. 1892 โดยมีเจ้าชายนีโคไลเป็นมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้นเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1886 โดยพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกับของอาคารกร็องปาแลซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำไม่ไกลนัก
การก่อสร้างสะพานนี้ถือเป็นความสำเร็จทางวิศวกรรมแห่งยุคศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างยิ่ง โดยการสร้างสะพานโค้งแบบไม่มีเสา โดยตัวสะพานสูง 6 เมตร ทำจากเหล็กกล้า ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกโฌแซ็ฟ กาเซียง-แบร์นาร์ และกัสตง กูแซ็ง โดยมีข้อแม้ว่าห้ามบดบังทัศนียภาพของช็องเซลีเซและเลแซ็งวาลีดโดยเด็ดขาด
สะพานถูกสร้างโดยวิศวกรฌ็อง เรซาล และอาเมเด ดาลบี และเปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1900 สำหรับงาน Exposition Universelle พร้อม ๆ ไปกับกร็องปาแล
ดูเพิ่ม
[แก้]- Alexandre III Bridge ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
- Pont Alexandre III เก็บถาวร 2006-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Alexandre III Bridge เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, current photographs and of the 1900s.