ข้ามไปเนื้อหา

อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล

พิกัด: 48°52′25.6″N 2°17′42.1″E / 48.873778°N 2.295028°E / 48.873778; 2.295028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์กเดอทรียงฟ์
แผนที่
ชื่ออื่นอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทประตูชัย
สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก
ที่ตั้งจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (อดีต ปลัสเดอเลตวล)
พิกัด48°52′25.6″N 2°17′42.1″E / 48.873778°N 2.295028°E / 48.873778; 2.295028
เริ่มสร้าง15 สิงหาคม ค.ศ. 1806[1]
พิธีเปิด29 กรกฎาคม ค.ศ. 1836[2]
ความสูง50 m (164 ft)
ขนาด
ด้านอื่น ๆกว้าง: 45 m (148 ft)
ลึก: 22 m (72 ft)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกฌ็อง ชาลแกร็ง
Louis-Étienne Héricart de Thury

อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [aʁk də tʁijɔ̃f də letwal] ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ประตูชัยฝรั่งเศส เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของช็องเซลีเซ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน และในปัจจุบันยังเป็นสุสานของทหารนิรนามอีกด้วย

ประตูชัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "แกนกลางอันเก่าแก่" (L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวนพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ไปยังชานกรุงปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดยฌ็อง ชาลแกร็งในปี พ.ศ. 2349 โดยมียุวชนเปลือยชาวฝรั่งเศสกำลังต่อสู้กับทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นการปลุกใจ และเป็นอนุสรณ์สถานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1

อาร์กเดอทรียงฟ์มีความสูง 49.5 เมตร (165 ฟุต) กว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) และลึก 22 เมตร (72 ฟุต) เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[3] แบบของอาร์กเดอทรียงฟ์นี้ได้แนวความคิดมาจากประตูชัยไตตัส อาร์กเดอทรียงฟ์มีความใหญ่มาก เพราะหลังจากมีการสวนสนามในปรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2462 ชาร์ล โกดฟรัว ได้ขับเครื่องบินนีอูปอร์ต (Nieuport) ผ่านกลางอาร์กเดอทรียงฟ์[ต้องการอ้างอิง]เพื่อเป็นการสดุดีเหล่าทหารอากาศที่ได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1

ประวัติ

[แก้]
เพดานใต้ซุ้มโค้งใหญ่ สัญลักษณ์ของดอกกุหลาบแกะสลัก 21 ดอก

อาร์กเดอทรียงฟ์เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้างในปี พ.ศ. 2349 (รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ราชวงศ์จักรี) หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ได้รับชัยชนะในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปีไปแล้ว และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทางทิศตะวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาว อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย อาร์กเดอทรียงฟ์ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌ็อง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงที่ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู การก่อสร้างได้หยุดชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 ในระหว่าง พ.ศ. 2376 - พ.ศ. 2379 โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียน เอรีการ์ เดอ ตูว์รี (Louis-Étienne Héricart de Thury)

การออกแบบ

[แก้]

ตั้งแต่การล่มสลายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 แล้ว ประตูชัยได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติ ซึ่งได้มีการเฉลิมฉลองกันในปีเดียวกันนั้นด้วย

แบบของประตูชัยนั้น ฌ็อง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะนีโอคลาสสิก ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของอาร์กเดอทรียงฟ์ด้วย เช่น ฌ็อง-ปีแยร์ กอร์โต, ฟร็องซัว รูด, อ็องตวน เอแต็กซ์, เจมส์ ปราดีเย และฟีลิป โฌแซ็ฟ อ็องรี ลาแมร์ รูปแกะสลักที่สำคัญไม่ได้เป็นลวดลายยาวบนกำแพง แต่เป็นรูปแกะสลักลอยตัวที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะติดกับตัวประตูชัย

  • รูปแกะสลัก 4 กลุ่มบริเวณฐานประตูชัยที่สำคัญ ได้แก่ :




  • ด้านหน้าซุ้มโค้งใหญ่ มีสัญลักษณ์รูปสลักหญิงในตำนานโรมันปรากฏอยู่ (โดยเจมส์ ปราดีเยร์)



  • ด้านหน้าซุ้มโค้งเล็กมีรูปแฝงความหมาย ดังนี้




  • ใต้ประตูชัยจะมีสุสานทหารนิรนาม โดยสลักไว้ดังนี้:
ICI
REPOSE
UN SOLDAT
FRANÇAIS
MORT
POUR LA PATRIE

1914 . 1918


การดูแลรักษา

[แก้]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 อาร์กเดอทรียงฟ์ได้มีสีดำขึ้น เนื่องจากถูกเขม่าถ่านหิน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2508―พ.ศ. 2509 ประตูชัยได้ถูกทำความสะอาดโดยเครื่องพ่นทราย ในปัจจุบันคราบสีดำเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

การเข้าชม

[แก้]

การเข้าสู่อาร์กเดอทรียงฟ์ด้วยการเดินเท้านั้นคือผ่านทางเดินใต้ดิน ถ้าเดินข้างบนมักจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากจราจรอันคับคั่งบริเวณจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล บริเวณส่วนโค้งจะมีลิฟต์ 1 ตัว นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันได 284 ขั้นเพื่อขึ้นสู่ยอดส่วนโค้งหรือสามารถขึ้นลิฟต์ดังกล่าวและขึ้นบันไดอีก 40 ขั้นได้เหมือนกัน บนยอดของอาร์กเดอทรียงฟ์เป็นสถานที่ชมวิวได้สวยที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงปารีส[4] เนื่องจากสามารถเห็นถนนใหญ่ 12 สายมาบรรจบกันยังอาร์กเดอทรียงฟ์ (จัตุรัสชาร์ล เดอ โกล) ได้ด้วย นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์หรือรถไฟฟ้าปารีสได้ โดยลงที่สถานีชาร์ล เดอ โกล-เอตวล


อ้างอิง

[แก้]
  1. Raymond, Gino (30 October 2008). Historical dictionary of France. Scarecrow Press. p. 9. ISBN 978-0-8108-5095-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  2. Fleischmann, Hector (1914). An unknown son of Napoleon. John Lane company. p. 204. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  3. ประตูชัยเปียงยางในประเทศเกาหลีเหนือมีขนาดใหญ่กว่าอาร์กเดอทรียงฟ์เล็กน้อย สร้างในปี พ.ศ. 2525 ในวันครบรอบวันเกิดของคิม อิลซอง ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือในขณะนั้น
  4. "Offer to everyone the best view on Paris". Centre des Monuments Nationaux. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2019. สืบค้นเมื่อ 18 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]