ประเทศไทยใน พ.ศ. 2563
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ในประเทศไทย
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ[a])
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 25
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 12
- ประธานวุฒิสภา: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา
- ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ (จนถึง 30 กันยายน)
- เมทินี ชโลธร (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ สนองนโยบาย กลไกการขับเคลื่อนการงดให้ถุงพลาสติก ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ด้วยการงดให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-Use Plastic)[1]
- 2 มกราคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี คนที่ 7[2]
- 9 มกราคม – เกิดเหตุคนร้ายบุกชิงทรัพย์ร้านทองในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บ 4 คน[3]
- 13 มกราคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: ประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ยืนยันแล้วนอกประเทศจีนรายแรก[4]
- 31 มกราคม – สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 6 คน[5]
กุมภาพันธ์
[แก้]- 8–9 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุยิงบริเวณเทอร์มินอล 21 โคราช มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งผู้ก่อเหตุ
- 21 กุมภาพันธ์ – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี จากกรณีพรรคกู้เงินธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[6]
- 29 กุมภาพันธ์ – การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563: ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) รายแรก
มีนาคม
[แก้]- 7 มีนาคม – คณากร เพียรชนะ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลาที่มีข่าวว่าเคยพยายามยิงตัวเองเพื่อประท้วงการแทรกแซงคำพิพากษา ยิงตนเองเป็นครั้งที่ 2 จนเสียชีวิต ที่บ้านพักส่วนตัวในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
- 25 มีนาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร[7] และจัดตั้ง ศบค. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน[8]
- 26 มีนาคม – สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเป็นช่องสุดท้าย หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 50 ปีกับ บมจ.อสมท
เมษายน
[แก้]- 3 เมษายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วประเทศตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้นบางอาชีพ เป็นมาตรการรับมือโควิด-19[9]
- 13–15 เมษายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: งดวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เลื่อนวันหยุดออกไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลาย[10]
- 19 เมษายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย:ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท[11]
พฤษภาคม
[แก้]- 3 พฤษภาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลออกมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจกรรมให้กลับมาดำเนินการได้ปกติ ได้แก่ ตลาด ร้านจำหน่ายอาหาร กิจการค้าปลีก-ส่ง กีฬาสันทนาการ ร้านตัดผมและเสริมสวยและร้านตัดผมและฝากเลี้ยงสัตว์[12]
- 22 พฤษภาคม – กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ จากร้อยละ 51.03 เหลือร้อยละ 47.86 ของจำนวนจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ ทำให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ[13][14]
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน – วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ถูกลักพาตัวไป โดยชายมีอาวุธปืน ได้ขับรถลักพาตัวไปจากบริเวณด้านหน้าที่พักขณะลี้ภัยการเมืองอยู่ในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา[15]
- 13 มิถุนายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลออกประกาศยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วประเทศตั้งแต่เวลา 23.00 น. – 3.00 น. โดยให้ยกเลิกตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของวันที่ 14 มิถุนายน และออกมาตรการผ่อนผันให้อาคารสถานที่ของสถาบันการศึกษา และการกระทำกิจกรรมบางอย่างสามารถเปิดหรือทำกิจกรรมได้ตามปกติ ยกเว้นการเปิดหรือทำกิจกรรมภายในสถานบริการ[16]
กรกฎาคม
[แก้]- 8 กรกฎาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: บุคคลในคณะทหารสัญชาติอียิปต์วัย 43 ปี เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยสิทธิ์ทางการทูตพิเศษ ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 และพบว่ามีการออกนอกพื้นที่ไปยังห้างสรรพสินค้าและสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพ-ระยอง ทำให้มีการปิดสถานที่เสี่ยงต่าง ๆ ภายในเขตกรุงเทพ-ระยอง[17]
- 18 กรกฎาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: เกิดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นำโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก เมื่อเวลา 17:00 น. มีข้อเรียกร้อง 3 ประการ ได้แก่ "ยุบสภา" "หยุดคุกคามประชาชน" และ "ร่างรัฐธรรมนูญใหม่"[18]
สิงหาคม
[แก้]- 10 สิงหาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีข้อเรียกร้อง 10 ข้อเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
- 28 สิงหาคม – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ดำรงฐานันดรศักดิ์เดิม[19][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
กันยายน
[แก้]- 1 กันยายน – ปรีดี ดาวฉาย ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอ้างเหตุผลว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หลังจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีฯ เพียง 28 วัน[20]
- 20 กันยายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้ทำพิธีฝังหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 บริเวณสนามหลวง[21] ก่อนที่จะมีผู้พบว่าหมุดได้ถูกรื้อถอนแล้วในช่วงเช้ามืดวันรุ่งขึ้น[22]
- 24 กันยายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: รัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปิดสมัยประชุมสามัญในวันเดียวกัน ทำให้ผู้ประท้วงไม่พอใจเนื่องจากมองว่าเป็นการถ่วงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ตุลาคม
[แก้]- 3 กันยายน – สุริยา แสงพงค์ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ถูกเจ้าหน้าที่สวนสัตว์สงขลายิงเสียชีวิต ระหว่างลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีลูกเก้งเผือกสายพันธุ์พระราชทานที่สวนสัตว์สงขลาหายไป[23]ก่อนที่มือปืนจะยิงตัวตายที่บ้านพักภายในสวนสัตว์สงขลา[24]
- 11 ตุลาคม – เกิดเหตุรถไฟชนรถบัส บริเวณสถานีรถไฟสถานีคลองแขวงกลั่น อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 20 คน และบาดเจ็บราว 40 คน[25][26]
- 14 ตุลาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: เกิดเหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก เป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครในวันรุ่งขึ้น โดยอ้างเหตุขวางขบวนเสด็จฯ
- 16 ตุลาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: การชุมนุมบริเวณสยามสแควร์และแยกปทุมวันยุติลงกลางคัน หลังจากที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมด้วยรถฉีดน้ำแรงดันสูง น้ำผสมสารเคมี[27] และแก๊สน้ำตา[28]
- 22 ตุลาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร
- 26–27 ตุลาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: เปิดสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภา
พฤศจิกายน
[แก้]- 8 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎรจัดกิจกรรมส่งราษฎรสาส์นถึงพระมหากษัตริย์ที่สำนักพระราชวัง แต่ถูกตำรวจฉีดน้ำสกัดก่อนถึงที่หมายโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและยังไม่ทันเจรจา
- 14 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มประท้วงประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งมีตั้งแต่นักเรียนมัธยมปลาย นักกิจกรรมสิทธิสตรีและ LGBTQ ร่วมจัดการประท้วงในงาน "ม็อบเฟสต์"
- 15 พฤศจิกายน – ประเทศไทยและอีก 14 ประเทศลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จัดตั้งกลุ่มการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมหนึ่งในสามของประชากรโลก[29]
- 17 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: รัฐสภาเริ่มต้นการประชุมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประท้วงนอกอาคารรัฐสภาในวันนั้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 55 คน หลังผู้ประท้วงพยายามเข้าใกล้อาคารและถูกตำรวจสกัดด้วยปืนใหญ่ฉีดน้ำและแก๊สน้ำตาสีม่วง ต่อมาในช่วงค่ำ เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับผู้ประท้วงนิยมเจ้าสวมเสื้อเหลือง ซึ่งมีผู้ถูกปืนยิง 6 คน
- 18 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: รัฐสภาลงมติรับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ซึ่งให้มีวุฒิสภาต่อไป และห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 แต่ปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ไอลอว์ยกร่าง เป็นเหตุให้เกิดการยกระดับการชุมนุมและจัดชุมนุมที่แยกราชประสงค์อีกครั้ง โดยมีการเปลี่ยนชื่อแยกเป็น "ราษฎรประสงค์" และเดินขบวนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีสาดสีและเติมรอยขูดขีดเขียนในบริเวณดังกล่าว
- 29 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎรจัดชุมนุมเดินขบวนจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ไปยังกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแผนจากเดิมที่จะจัดชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ธันวาคม
[แก้]- 14 ธันวาคม – เจ้าของบริษัทสตรีมเกม แฮชแท็กอีสปอร์ต ถูกแจ้งความฐานล่วงละเมิดทางเพศลูกจ้างหญิง และคาดว่ามีผู้เสียหายรวมกว่า 20 คน[30] [31]
- 15 ธันวาคม – กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนของกัญชาและกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป[32][33]
- 19 ธันวาคม นายแพทย์ ชุมพล เดชะอำไพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนเสียชีวิตในการนี้ได้พระราชทานโกศพระราชทานเพลิงศพ[34]
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 4 มกราคม – พระครูนิทัศนพลธรรม (ต่อ พลธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว (เกิด พ.ศ. 2462)
- 9 มกราคม – ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2481)
- 16 มกราคม – พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2471)
- 24 มกราคม – ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาคนที่ 28 (เกิด พ.ศ. 2471)[35]
- 26 มกราคม – พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (เสียน สุธมฺโม) อดีตเจ้าคณะตำบลพยุหะ-เนินมะกอก (เกิด พ.ศ. 2475)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ – อุทัย แก้วละเอียด ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2475)
- 8 กุมภาพันธ์ – ตระกูล ทาอาษา ตำรวจ (เกิด พ.ศ. 2527)
- 14 กุมภาพันธ์ – สุรางค์ ดุริยพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2480)
- 27 กุมภาพันธ์ – สุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2477)
มีนาคม
[แก้]- 7 มีนาคม – คณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษา (เกิด พ.ศ. 2512)[36]
- 13 มีนาคม – อุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (เกิด พ.ศ. 2489)
- 24 มีนาคม – ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ (หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2472)
- 29 มีนาคม – สุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คนที่ 55 (เกิด พ.ศ. 2488)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – ประจวบ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2487)
- 12 เมษายน – ผัน จันทรปาน ตุลาการ (เกิด พ.ศ. 2481)
- 13 เมษายน – อนันต์ กาญจนพาสน์ นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2484)
- 21 เมษายน
- ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พนมเทียน) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2474)[37]
- เทอด เทศประทีป อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงคนที่ 2 (เกิด พ.ศ. 2486)
พฤษภาคม
[แก้]- 3 พฤษภาคม
- ชนัตถ์ ปิยะอุย อดีตสมาชิกวุฒิสภา (เกิด พ.ศ. 2465)
- เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 38 (เกิด พ.ศ. 2467)
- 7 พฤษภาคม
- ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) ผู้สื่อข่าว (เกิด พ.ศ. 2501)
- อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2507)
- 15 พฤษภาคม – ภิรมย์ พลวิเศษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2508)
- 20 พฤษภาคม – สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 110 (เกิด พ.ศ. 2496)[38]
- 22 พฤษภาคม – พระอธิการสุดใจ ทนฺตมโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด (เกิด พ.ศ. 2487)
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน – ทวี พิพัฒกุล (พุฒ ล้อเหล็ก) นักมวย (เกิด พ.ศ. 2495)
- 7 มิถุนายน – วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2496)
- 10 มิถุนายน – นรัณยู วงษ์กระจ่าง (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2503)[39]
- 11 มิถุนายน – ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2490)[40]
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม – อาคม เอ่งฉ้วน อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2494)[41]
- 4 กรกฎาคม – สุธัญ โอมานันท์ (นาธาน โอร์มาน) นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2518)[42]
- 11 กรกฎาคม – ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 29 (เกิด พ.ศ. 2478)
- 24 กรกฎาคม – ศุภสิธ เตชะตานนท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทรราษฎร (เกิด พ.ศ. 2485)
สิงหาคม
[แก้]- 13 สิงหาคม – สุปาณี พุกสมบุญ นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2467)
- 27 สิงหาคม – กาญจนา จินดาวัฒน์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2501)[43]
กันยายน
[แก้]- 7 กันยายน – กาณฏ์มณี เค้ามูลคดี (ปทุมวดี โสภาพรรณ) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2492)[44]
- 10 กันยายน – ณรงค์ วงศ์วรรณ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 51 (เกิด พ.ศ. 2468)[45]
- 17 กันยายน – พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2476)
- 19 กันยายน – ไพฑูรย์ พุ่มรัตน์ (โรเบิร์ต สายควัน) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2508)[46]
- 23 กันยายน – สุคนธ์ พรพิรุณ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2478)
- 30 กันยายน – อภิรดี ยิ่งเจริญ คุณข้าหลวง (เกิด พ.ศ. 2469)[47]
ตุลาคม
[แก้]- 9 ตุลาคม – พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เกิด พ.ศ. 2467)
- 23 ตุลาคม – ปรีดา พัฒนถาบุตร อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2470)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน – มณฑินี ตั้งพงษ์ นักเทนนิส (เกิด พ.ศ. 2528)
- 8 พฤศจิกายน – ดุสิต รังคสิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2484)
- 16 พฤศจิกายน – วาสนา บุญภูพันธ์ตันติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2474)
ธันวาคม
[แก้]- 11 ธันวาคม – มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 42 (เกิด พ.ศ. 2484)
- 14 ธันวาคม – ไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2495)
- 22 ธันวาคม – สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) สมเด็จพระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2463)
- 28 ธันวาคม – นครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2488)
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ วันที่ 9 มิถุนายน 2562 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ครม.ไฟเขียว "งดให้ถุงพลาสติกหูหิ้วในห้าง-ร้านสะดวกซื้อ" ดีเดย์ 1 ม.ค.63 (เป้าถุงหมดจากตลาด 1 ม.ค.64)". ผู้จัดการออนไลน์. 12 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี ลงวันที่ 2 มกราคม 2563". (2563, 4 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137, ตอนที่ 3 ง ฉบับพิเศษ. หน้า 1. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563.
- ↑ "ย้อน 14 วันเหตุการณ์ "ชิงทองลพบุรี"". ไทยพีบีเอส. 22 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Novel coronavirus (02): Thailand ex China (HU) WHO. Archive Number: 20200113.6886644". Pro-MED-mail. International Society for Infectious Diseases. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ "ยื่นแล้ว! 6 พรรคฝ่ายค้าน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 รัฐมนตรี". กรุงเทพธุรกิจ. 31 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "FFP dissolved, executives banned for 10 years". The Bangkok Post. February 21, 2020.
- ↑ "ไวรัสโคโรนา : รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง "ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน"". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยโพสต์ (25 มีนาคม 2563). "เปิดคำสั่งตั้ง 'ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19' บิ๊กตู่นำทัพต้านไวรัสนรก". www.thaipost.net. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ราชกิจจาฯออกประกาศแล้ว "เคอร์ฟิว" ทั่วประเทศ มีผล 3 เม.ย. เป็นต้นไป". ประชาชาติธุรกิจ. 2 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงสงกรานต์ ประจำปี 2563 (วันที่ 13 – 15 เมษายน 2563)". จังหวัดชลบุรี. 10 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ด่วน! ราชกิจจาประกาศ พ.ร.ก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้าน 3 ฉบับรวด "ห้ามจ่ายนอกรายการโควิด"". ประชาชาติธุรกิจ. 19 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โควิด-19 : ศบค. เคาะมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการ-กิจกรรม เริ่ม 3 พ.ค." บีบีซีไทย. 30 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'การบินไทย' พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว หลัง 'คลัง' ขายหุ้นให้วายุภักษ์วันนี้". กรุงเทพธุรกิจ. 22 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'การบินไทย' แจ้งตลาดหลักทรัพย์ กรณี 'คลัง' ขายหุ้นลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ หลุดเป็นรัฐวิสาหกิจ". มติชนออนไลน์. 25 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ : คำถามจากแม่ที่ลูกชายสาบสูญไปกว่า 1 ปี "เมื่อไหร่เขาจะเลิกล้อมจับ อุ้มหายคนเห็นต่างทางการเมือง"". บีบีซีไทย. 9 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่งยกเลิกเคอร์ฟิว ตั้งแต่ 5 ทุ่ม 14 มิ.ย. คลายล็อกเฟส 4 เริ่ม 15 มิ.ย.". สนุก.com. 13 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help);|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โควิด-19 : กรณีทหารอียิปต์-ลูกทูต รัฐบาลชี้แจงอะไรบ้าง หลังขอโทษประชาชน". บีบีซีไทย. 14 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""เยาวชนปลดแอก" ยุติการชุมนุมก่อนเที่ยงคืน อ้างความปลอดภัย สรุปบรรยากาศจากเริ่มจนจบ". 18 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศเรื่อง แต่งตั้งให้ดำรงฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ "ประกาศราชกิจจา "ปรีดี ดาวฉาย" ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง". ฐานเศรษฐกิจ. 1 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
- ↑ "เกาะติดสถานการณ์ ม็อบ 20 กันยา ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ณ สนามหลวง". กระปุก.คอม. 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "รื้อ 'หมุดคณะราษฎร 2563' ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ที่สนามหลวง ออกแล้ว". เดอะ สแตนดาร์ด. 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
- ↑ "ผอ.องค์การสวนสัตว์ฯ ถูก จนท.สวนสัตว์สงขลา ยิงเสียชีวิต ปมคดี "ลูกเก้งเผือก" สายพันธุ์พระราชทานหายปริศนา". mrgonline. 3 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 2020-10-03.
- ↑ รัว17นัดฆ่าผอ.สวนสัตว์ ลูกน้องชิงยิงตัวตายตาม
- ↑ "รถไฟชนรถบัสไปทอดกฐิน จ.ฉะเชิงเทรา เสียชีวิตกว่า 20 คน". tpbs. 11 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
- ↑ "วัดบางปลานักจัดทำบุญใหญ่ อุทิศส่วนกุศลให้ 19 ศพ ที่รถไฟชนรถบัสคณะกฐิน (คลิป)". thairath. 17 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
- ↑ "Water cannon used on protesters". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "Thai police resort to teargas, arrest warrants against protesters". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "What is the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)?". BBC. November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ November 16, 2020.
- ↑ "6 สตรีมเมอร์สาว แจ้งจับเจ้าของค่ายดัง ทำอนาจาร-หื่นใส่". ข่าวสด. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
- ↑ "สรุปเรื่องฉาววงการเกม หลังแฉอนาจารสาวในสังกัด สู่การยุบค่ายสตรีมดัง". ข่าวสด. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
- ↑ "ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ เปิดประวัติ “นพ.ชุมพล เดชะอำไพ” ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เหยื่อมือปืนบุกยิงกลางคลินิก
- ↑ "'ชัย ชิดชอบ' ถึงแก่อนิจกรรม". กรุงเทพธุรกิจ. 24 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คณากร เพียรชนะ : ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลายิงตัวเองเสียชีวิต ใน จ.เชียงใหม่". บีบีซีไทย. 7 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อาลัย 'พนมเทียน' ผู้แต่งเพชรพระอุมา ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจ". มติชนออนไลน์. 21 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""เสี่ยปึ้ง-สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" เสียชีวิตในวัย 67 หลังป่วยมะเร็งตับ". ไทยรัฐ. 20 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ช็อก! วงการบันเทิง "ตั้ว ศรัณยู" เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับในวัย 59 ปี". เดลินิวส์. 10 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ด่วน "ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ" เสียชีวิตแล้วจากโรคมะเร็ง ด้วยวัย 72 ปี". สนุก.คอม. 11 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""อาคม เอ่งฉ้วน" อดีตรัฐมนตรี และ ส.ส. 9 สมัย เสียชีวิตในวัย 69 ปี". สนุก.คอม. 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สนุก.คอม (4 กรกฎาคม 2563). "วงการบันเทิงช็อก "นาธาน โอมาน" อดีตนักร้องชื่อดัง เสียชีวิตในวัย 45 ปี". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (27 สิงหาคม 2563). "อาลัย อ้อย กาญจนา จินดาวัฒน์ นักแสดงเจ้าบทบาท ผลงานละครมากมาย". www.thairath.com. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (7 กันยายน 2563). "สุดเศร้า "แม่ทุม" ปทุมวดี เสียชีวิตแล้ว". www.thairath.com. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (11 กันยายน 2563). ""ณรงค์ วงศ์วรรณ" อดีตรองนายกฯ เสียชีวิตอย่างสงบ ในวัย 94 ปี". www.thairath.com. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (19 กันยายน 2563). "สุดเศร้า โรเบิร์ต สายควัน เสียชีวิตแล้วอย่างสงบ". www.thairath.com. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (30 กันยายน 2563). "พระพี่เลี้ยง 'ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ' ถึงแก่อนิจกรรม". www.matichon.co.th/. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)