ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ6 กันยายน พ.ศ. 2421
สิ้นพระชนม์14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 (53 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์
หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมลำใย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมกิมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร28 องค์
ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์

มหาอำมาตย์ตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร จักรพันธุ์ (6 กันยายน พ.ศ. 2421 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ ทรงเป็นจางวางพิเศษพระราชวังบางปะอิน องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2421 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ มีพระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2434 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์และพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[1] หลังลาสิกขาได้เข้ารับราชการ ทรงดำรงตำแหน่งผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2447 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ว่าราชการอำเภอพระราชวัง[2]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[3] และเลื่อนขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เมื่อ พ.ศ. 2443[4] ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ทรงศักดินา 11000[5] ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ได้แก่ กากระบอกทองคำพร้อมถาดรองตามมงกุฎ พระมาลาเสร้าสเทิน ฉลองพระองค์จีบแลเจียรบาตพร้อมสำรับ หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาตรามงกุฎ และพระแสงญี่ปุ่นฝักก้าไหล่ทอง[6]

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นปลัดมณฑลกรุงเก่า[7]

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[8][9]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ สิ้นพระชนม์ ณ วังถนนดำรงรักษ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 เวลา 01:35 น.[10] สิริพระชันษา 53 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2476[11]

พระโอรสพระธิดา

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ไพฑูรย์) หม่อมลิ้นจี่ หม่อมลำไย หม่อมเชื้อ หม่อมกิมไหล และหม่อมโป๊ มีบุตรธิดา ได้แก่

หม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2448) (ราชสกุลเดิม : ไพฑูรย์) ธิดาในหม่อมเจ้าจุ้ย ไพฑูรย์

  1. หม่อมเจ้าหญิงดวงแก้ว จักรพันธุ์ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 - 5 กันยายน พ.ศ. 2517) แรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ เลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลังจากที่พระบิดาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  2. หม่อมราชวงศ์หญิงแจ่มแจ้ง จักรพันธุ์ (ถึงแก่กรรมก่อนที่บิดาจะได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า)
  3. หม่อมเจ้าแววจักร์ จักรพันธุ์ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2441 - 23 เมษายน พ.ศ. 2517) แรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ เลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลังจากที่พระบิดาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เสกสมรสกับหม่อมหลวงแถม (ราชสกุลเดิม : กุญชร) ไม่ทรงมีโอรสหรือธิดา
  4. หม่อมเจ้าเสรฐพันธุ์ จักรพันธุ์ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2443 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2518) เสกสมรสกับหม่อมเยาว์ (สกุลเดิม กรรณสูต; 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525) และหม่อมนวลน้อย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2461 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2546) มีโอรสและธิดา 6 คน
  5. หม่อมเจ้าหญิงวัลย์วิเชียร จักรพันธุ์ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - 2524)
  6. หม่อมเจ้าหญิงจารุภักตร์ จักรพันธุ์
  7. หม่อมเจ้าศักดิ์สิทธิ์ จักรพันธุ์

หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (17 กันยายน พ.ศ. 2425 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515) พี่สาวของหม่อมลำไย

  1. หม่อมเจ้าหญิงลำนักเนตรดวงแก้ว จักรพันธุ์ (18 ตุลาคม พ.ศ. 2442 - 2527) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เพื่อทำการสมรสกับสม ชัยชิตาธร
  2. หม่อมเจ้าเวียนขวา จักรพันธุ์ (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 - 25 กันยายน พ.ศ. 2539) เสกสมรสกับหม่อมเพราะ ธิดาของหลวงหิรัญเลขาประดิษฐ์ มีโอรสและธิดา 13 คน
  3. หม่อมเจ้าอิทธิเดช จักรพันธุ์ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2520) เสกสมรสกับหม่อมสมบุญ (สกุลเดิม : ประดับทอง) มีโอรสและธิดา 2 คน
  4. หม่อมเจ้าอาชวะ จักรพันธุ์ (29 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2530) เสกสมรสกับหม่อมประพฤติ (สกุลเดิม : สามสูตร) มีธิดา 5 คน
  5. หม่อมเจ้าจิตรการ จักรพันธุ์ (28 กันยายน พ.ศ. 2460 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2534) เสกสมรสกับหม่อมปรุง (สกุลเดิม : เนียมพลับ) เมื่อ พ.ศ. 2490 มีโอรสและธิดา 6 คน
  6. หม่อมเจ้าวรรณาฑิต จักรพันธุ์ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 2531 )

หม่อมลำไย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2523) น้องสาวของหม่อมลิ้นจี่

  1. หม่อมเจ้าหญิงกร่อง จักรพันธุ์
  2. หม่อมเจ้าเจตนาธร จักรพันธุ์ (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525) เสกสมรสกับหม่อมศิริ (สกุลเดิม : เนตรนาค) มีโอรสและธิดา 6 คน
  3. หม่อมเจ้าหญิงอรอุษา จักรพันธุ์ (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - ธันวาคม พ.ศ. 2540) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 เพื่อทำการสมรสกับประสิทธิ์ นันทชนก มีโอรส 1 คน
  4. หม่อมเจ้าหญิงศิริอัจฉรา จักรพันธุ์ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2536) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เพื่อทำการสมรสกับเจรียง สุขบท ไม่มีโอรสและธิดา
  5. หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ (17 กันยายน พ.ศ. 2459 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงภัทรสุข (ราชสกุลเดิม : ศุขสวัสดิ์) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสใหม่กับหม่อมดวงแข (สกุลเดิม : เกียรตินันทน์) มีโอรสและธิดา 4 คน
  6. หม่อมเจ้าสมานมิตร จักรพันธุ์ (2 เมษายน พ.ศ. 2463 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2536) เสกสมรสกับหม่อมทองม้วน (สกุลเดิม : ไกรทอง) ต่อมาทรงหย่า มีโอรสและธิดา 5 คน
  7. หม่อมเจ้าหญิงจิตต์จง จักรพันธุ์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2482 เพื่อทำการสมรสกับเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน มีโอรสธิดา 5 คน
  8. หม่อมเจ้าหญิงส่งรัศมี จักรพันธุ์ (22 ตุลาคม พ.ศ. 2469 - 28 เมษายน พ.ศ. 2545) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เพื่อทำการสมรสกับพงษ์ศักดิ์ สวัสดิ์-ชูโต มีโอรสและธิดา 4 คน

หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 - 15 เมษายน พ.ศ. 2512)

  1. หม่อมเจ้าวราทิวัต จักรพันธุ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2527) เสกสมรสกับหม่อมสุมาลา (สกุลเดิม : วิชิตนันทน์) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสใหม่กับหม่อมนาคพันธุ์ (สกุลเดิม : จันทปุณณานนท์) มีโอรสและธิดา 6 คน
  2. หม่อมเจ้าหญิงไม่มีพระนาม
  3. หม่อมเจ้าหญิงอภิลาช จักรพันธุ์ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2541) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เพื่อทำการสมรสกับพศก นันทมานพ ต่อมาสมรสใหม่กับนายบุญธรรม คงแช่มดี มีโอรสและธิดา 7 คน
  4. หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ (9 เมษายน พ.ศ. 2460 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี (ราชสกุลเดิม : สวัสดิวัตน์) ต่อมาเสกสมรสใหม่กับหม่อมหลวงประอร (ราชสกุลเดิม : มาลากุล) ไม่มีโอรสและธิดา
  5. หม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์ (10 กันยายน พ.ศ. 2464 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2545) เสกสมรสกับหม่อมปัทมา (สกุลเดิม : แก่นมงคล) และหม่อมบุญเกิด (สกุลเดิม : จุ้ยสำราญ) มีโอรสธิดา 5 คน

หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

  1. หม่อมเจ้าหญิงจิ๋ว จักรพันธุ์

หม่อมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

  1. หม่อมเจ้าเจ๊ก จักรพันธุ์

พระยศ

[แก้]
  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ว่าที่นายหมวดตรี[12]
  • – นายหมวดโท
  • – นายหมวดเอก
  • 20 กุมภาพันธ์ 2462 – นายกองตรี[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระชนนี:
หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมพลบ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไมมีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้พระองค์เจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร เป็นผู้ว่าราชการ อำเภอพระราชวัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (2): 21. 10 เมษายน 2447. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เลื่อนพระเกียรติยศหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (36): 394. 3 ธันวาคม 2436. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) พระองค์น่าจะได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ ก่อน พ.ศ. 2434)
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคำนำพระนามพระเจ้าวรวงษเธอ เล่ม ๑๗ แผ่นที่ ๓ หน้า ๑๗ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1005. 29 พฤศจิกายน 2451. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระราชทานเครื่องยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1008–1009. 29 พฤศจิกายน 2451. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ให้พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์เป็นปลัดมณฑลกรุงเก่า]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (36): 1027–1028. 6 ธันวาคม 2451. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระราชพิธีตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 113–114. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2563.
  9. "รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 115. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2563.
  10. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (ง): 1338. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๕ เล่ม 49, ตอน ๐ ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
  12. พระราชทานยศเสือป่า
  13. พระราชทานยศเสือป่า
  14. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
  15. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  16. "เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
บรรณานุกรม
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. ISBN 974-93740-5-3
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง