ข้ามไปเนื้อหา

ภิญญา ช่วยปลอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภิญญา ช่วยปลอด
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2483
อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เสียชีวิต8 กันยายน พ.ศ. 2565 (82 ปี)
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ภิญญา ช่วยปลอด (9 เมษายน พ.ศ. 2483 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565[1]) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติ

[แก้]

ภิญญา ช่วยปลอด เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2483 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]

ปี พ.ศ. 2553 ถูกศาลล้มละลายกลาง สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย[3] และปลดจากจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ในปี พ.ศ. 2557[4]

การเสียชีวิต

[แก้]

ภิญญา ช่วยปลอด เสียชีวิต ณ โรงพยาบาลตำรวจเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สิริอายุรวม 82 ปี[1]

งานการเมือง

[แก้]

อดีตเคยเป็นพนักงานธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด ต่อมา ภิญญา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกติดต่อกันเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2543[5]

ภิญญา ช่วยปลอด เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[6] ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533[7]

ภิญญา ช่วยปลอด เคยถูกตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติ โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. เมื่อปี พ.ศ. 2534[8][9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ภิญญา ช่วยปลอด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคกิจสังคม

สมาชิกวุฒิสภา

[แก้]

ภิญญา ช่วยปลอด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดสุราษฎร์ธานี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "สิ้น 'ภิญญา ช่วยปลอด' วัย 82 ปี อดีต รมช.พาณิชย์ ผู้ปลุกกระแสปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติด". มติชนออนไลน์. 2022-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ประวัตินายภิญญา ช่วยปลอด
  3. ศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด "ภิญญา ช่วยปลอด" นักการเมืองชื่อดัง อดีต รมช. พาณิชย์
  4. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ปลดลูกหนี้จากล้มละลาย (ศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ล. ๑๐๙๒/๒๕๕๓ นายภิญญา ช่วยปลอด ลูกหนี้)
  5. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี (นายภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณฺชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี)
  8. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  9. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  10. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี (นายภิญญา ช่วยปลอด)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-25.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑