ข้ามไปเนื้อหา

วัดสุทธจินดาวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสุทธจินดาวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสุทธจินดา
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายเถรวาท ธรรมยุติกนิกาย
เจ้าอาวาสพระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทฺเธสโก) เจ้าอาวาส
เว็บไซต์http://www.watsutha.com
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสุทธจินดาวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2470 ตกมาและปักเขตเสร็จปี พ.ศ. 2471 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตรยาว 80 เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 11 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 และได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2478 ในรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[2]

ประวัติ

[แก้]

วัดสุทธจินดาแต่เดิมก่อนที่จะมาเป็นวัดสุทธจินดาในปัจจุบันมีวัดเก่าอยู่สองวัด คือวัดบรมจินดาอยู่ทางส่วนใต้ มีเขตแต่สระข้างพระอุโบสถไป วัดสมบูรณ์จิ๋วสีมาราม อยู่ทางส่วนเหนือ มีเขตแต่คลองผ่านกลางวัดไปท่ามกลางระหว่างสองวัดนี้ อันเป็นที่ตั้งศาลาการเปรียญอยู่เดียวนี้ เป็นสวนของหลวงเทพานุพัฒน์ (เปลี่ยน สุรคุปต์) ซึ่งเจ้าของยกให้

เมื่อพ.ศ. 2458 ทางราชการได้ย้ายศาลากลางว่าการมณฑลนครราชสีมาจากกลางเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระนารายณ์มหาราช มาตั้งที่มุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ได้รื้อกำแพงเมืองด้านด้านตะวันนั้นออก เพื่อให้มองเห็นศาลาว่าการและสนามภายในถนัดชัดแจ้ง และเป็นสาเหตุให้มองเห็นวัดบรมจินดาและวัดสมบูรณ์จิ๋วซึ่งเป็นวัดที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรม ไม่รับกันกับศาลาว่าการที่สร้างขึ้น ทางราชการคิดที่จะพัฒนาวัดขึ้นใหม่ให้มีสภาพที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นบรรดาข้าราชการ ทหาร พลเรือน คหบดี และพ่อค้า มีพระยาเพ็ชรปาณี (ดั่น รักตประจิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา จึงร่วมปรึกษาและเห็นต้องกันว่า นครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่ เป็นเมืองเอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรมีวัดที่สง่างามอยู่ใกล้ศาลาว่าการมณฑล โดยรวมวัดสมบูรณ์จิ๋วกับวัดบรมจินดาให้เป็นวัดเดียวกัน และสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นที่สถิตของพระมหาเถระผู้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลในขณะนั้นต่อไป

เมื่อปรึกษาหารือเป็นที่ตกลงกันแล้วจึงมีใบบอกลงมายังกรุงเทพมหานคร กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขอประทานพระอนุญาตรวมวัดสร้างใหม่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าประทานอนุญาต และได้ประทานนามวัดว่า วัดสุทธจินดา และโปรดฯ ให้ยกวัดนี้เป็นพระอารามหลวง เมื่อพ.ศ. 2478

เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา

[แก้]
  1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ป.ธ.5)
  2. พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร ป.ธ.5)
  3. พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล ป.ธ.9)
  4. พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.5)
  5. พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล ป.ธ.5)
  6. พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร ป.ธ.4)
  7. พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทฺเธสโก ป.ธ.5)

สถานที่ภายในวัด

[แก้]
  • โรงเรียนวัดสุทธจินดา
  • โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทธจินดา
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช [1] เก็บถาวร 2013-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ ๒๙
  • หอสมุดแห่งชาติ
  • ฌาปนสถานกองทัพภาคที่ ๒
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
  • พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา
  • ชมรมชาวอุบลราชธานี
  • ศูนย์ศึกษาบาลีภาค๑๑ (ธรรมยุต)

สิ่งปลูกสร้างภายในวัด

[แก้]
  • พระอุโบสถวัดสุทธจินดา
  • ศาลาการเปรียญ
  • อาคารสำนักงานสงฆ์ เป็นสถานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับวัดและคณะสงฆ์ และยังเป็นกุฏิที่พักของพระเดชพระคุณพระอุดมธีรคุณ เจ้าอาวาสฯ
  • หอระฆังวัดสุทธจินดา
  • กุฏิเมนะรุจิ
  • ฌาปนสถานกองทัพภาคที่ ๒
  • อาคาร ๕๐ ปี เป็นอาคารใช้เป็นที่เรียนของวัดสุทธจินดา
  • ศาลานาบุญ (หอฉัน)
  • กุฏิสองเมือง เคยเป็นที่พักของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระสาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาสฯ
  • กุฏิพระอริยเวที เป็นที่พักของพระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฯ
  • กุฏิขุนบรรจงเจริญรัตน์ เป็นที่รับรองพระเถระ ที่มาวัดสุทธจินดาในโอกาสต่างๆ
  • กุฏิเมธชนัน เป็นที่พักพระนวกะ
  • กุฏิบุรคามบริรักษ์ เป็นที่พักของพระภิกษุสามเณร
  • กุฏิกองทัพภาคที่ ๒ เป็นที่พักพระภิกษุสามเณร
  • กุฏิธนาคารกรุงเทพ ที่พักของภิกษุสามเณร
  • สวนหลวงพ่อองค์ดำ
  • สวนกวนอิม
  • หอสมุดแห่งชาติ
  • พุทธสมาคมจังหวัดนครราชสีมา
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
  • อาคาร ๘๐ ปีวัดสุทธจินดา เป็นที่ตั้งมหาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช
  • อาคารหอประชุมพระราชสมภพ ๒๐๐ ปี ร.๔
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ร.๙
  • สะพานหน้าท่อ-บรมจินดา เป็นอนุสรณ์การรวมวัด

อ้างอิง

[แก้]
  1. แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ ให้จัดชั้นพระอารามหลวงเล่ม ๕๒ ตอน ๐ ง ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๓๙๘๓
  2. ประวัติ วัดสุทธจินดาสืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556