ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเมืองนครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองนครราชสีมา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Nakhon Ratchasima
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเมืองนครราชสีมา
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเมืองนครราชสีมา
พิกัด: 14°58′16″N 102°5′59″E / 14.97111°N 102.09972°E / 14.97111; 102.09972
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด755.6 ตร.กม. (291.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1][2]
 • ทั้งหมด466,098 คน
 • ความหนาแน่น616.85 คน/ตร.กม. (1,597.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30000, 30280 (ตำบลโคกกรวด),
30310 (ตำบลโคกสูง, จอหอ, บ้านโพธิ์, ตลาด, หนองไข่น้ำ)
รหัสภูมิศาสตร์3001
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา ถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวนอำเภอทั้งหมด 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัด

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อำเภอเมืองนครราชสีมามีชื่อเรียกตามความถนัดของชาวพื้นเมืองว่า "โคราช" เรียกตามภาษาราชการว่า "เมืองนครราชสีมา" เหตุที่เรียก 2 ชื่อ ด้วยปรากฏว่าตามหลักฐานโบราณคดีเรื่องงานข้างต้นวินิจฉัยชื่อเมืองนครราชสีมาว่า ก่อนที่จะสร้างขึ้นในสถานที่ปัจจุบัน เดิมมีเมืองโบราณอยู่ 2 เมือง ซึ่งอยู่ทางขวาของลำตะคอง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน เมืองที่หนึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำตะคองมีชื่อเรียกว่า เมืองโคราช จากหลักฐานที่ได้สำรวจพบว่าในบริเวณเมืองทั้งสอง เมืองเสมาสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ต่อมาได้ข้ามมาสร้างเมืองโคราชขึ้นอีกเป็นเมืองใหม่ ทิ้งเมืองเสมาให้เป็นเมืองร้างในที่สุด

ชื่อเมืองโคราช น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อเมือง "นครราช" ในภาษาเขมร และไม่น่านำมาจากชื่อเมือง "โคราฆะปุระ" ในมัชฌิมประเทศ เนื่องจากเมืองโคราฆะปุระเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในอินเดีย ราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีอายุน้อยกว่าอารยธรรมขอม-ทวาราวดีของเมืองเสมามาก

ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงย้ายเมืองโคราชและเมืองเสมามาสร้างในที่ตั้งปัจจุบัน และตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองนครราชสีมา เมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองหน้าด่าน มีคูล้อมรอบและมีประตูเมือง 4 ประตู คือ

ข้อมูลพื้นฐาน

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด บนที่ราบสูงโคราช ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14-15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101-102 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 180-210 เมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 259 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

พื้นที่และประชากร

[แก้]

เนื้อที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 755.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 468,704 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.69 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดนครราชสีมา[3]

มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 466,848 คน เป็นชาย 227,312 คน เป็นหญิง 239,536 คน จำนวนบ้าน 235,050 หลัง ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เท่ากับ 617.85 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[4]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอเมืองนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งสภาพพื้นที่ดังนี้คือ บริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอ มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดชัน ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ และบริเวณทางตอนใต้ค่อนไปทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าสงวนห้วยยางครอบคลุมพื้นที่ ในเขตตำบลไชยมงคล ตำบลหนองจะบก ตำบลบ้านใหม่ และตำบลโคกกรวด ส่วนบริเวณพื้นที่ตอนล่างมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองลำตะคอง คลองส่งน้ำชลประทานและเป็นที่ตั้งของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และส่วนบริเวณทางตอนเหนือมีลักษณะพื้นที่เกือบราบถึงราบ

แหล่งน้ำ

[แก้]

พื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมาสามารถแบ่งลุ่มน้ำออกเป็น 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำลำตะคอง ลุ่มน้ำลำช่องโค และลุ่มน้ำลำเชิงไกร

  • ลุ่มน้ำลำตะคอง อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครราชสีมา ลำน้ำตอนต้นไหลผ่านหุบเขาเขตอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้วที่มีความลาดชันมาก มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำทั้งหมดรวม 14 ตำบล 129 หมู่บ้าน
  • ลุ่มน้ำลำช่องโค อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นลำน้ำซึ่งรับน้ำมาจากลำมูล มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำ 1 ตำบล คือ ตำบลหนองระเวียง จำนวน 6 หมู่บ้าน
  • ลุ่มน้ำลำเชิงไกร อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครราชสีมา ต้นน้ำไหลมาจากแม่น้ำป่าสัก มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำ 1 ตำบล คือ ตำบลโคกสูง จำนวน 12 หมู่บ้าน

พื้นที่นอกเขตลุ่มน้ำ คือ พื้นที่ตำบลโพธิ์กลาง หนองบัวศาลา ไชยมงคล และสุรนารี ตั้งอยู่ในที่ราบสูง ไม่มีแหล่งน้ำไหลผ่านและไม่สามารถจะจัดเป็นลุ่มน้ำได้ แต่ในแต่ละตำบลและหมู่บ้านดังกล่าวมีหนองน้ำและบึงขนาดใหญ่ รวมถึงอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานอยู่ด้วย การผลิตน้ำประปาเพื่อให้บริการประชาชนในเขตเทศบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกองประปาเทศบาลนครนครราชสีมา โดยอาศัยแหล่งน้ำดิบจากเขื่อนลำตะคอง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเมืองนครราชสีมาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 25 ตำบล 234 หมู่บ้าน ได้แก่

แผนที่แสดงขอบเขตตำบลในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (โดยพฤตินัย)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

อำเภอเมืองนครราชสีมามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 27 แห่ง แบ่งตามรูปแบบการบริหารและจัดการ 2 รูปแบบคือ เทศบาล และอบต. (อบต.) เทศบาลมีทั้งสิ้น 16 แห่ง แบ่งเป็น เทศบาลนครจำนวน 1 แห่ง และเทศบาลตำบลจำนวน 15 แห่ง ส่วนอบต.มีทั้งสิ้น 11 แห่ง ซึ่งบริหารในพื้นที่ตำบลนอกเขตเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองนครราชสีมามีรายชื่อดังนี้[6]

เขตเทศบาลในอำเภอเมืองนครราชสีมา
ชื่อ ประเภท ครอบคลุมตำบล พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
พ.ศ. 2555
(คน)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
จำนวนบ้าน
(หลัง)
ระยะทางจาก
ที่ว่าการอำเภอ
(กม.)
ทั้งหมด บางส่วน
นครราชสีมา 1ทน. ในเมือง 37.50 120,354 3,209.44 72,306 1.3
โพธิ์กลาง ทต. โพธิ์กลาง 55.23 29,468 533.55 13,508 8.5
หัวทะเล ทต. หัวทะเล 15.59 27,729 1,778.64 13,858 8
สุรนารี ทต. สุรนารี 49.90 21,074 422.32 11,722 15
บ้านใหม่ ทต. บ้านใหม่ 19.55 19,465 955.65 8,248 10
จอหอ ทต. จอหอ, บ้านเกาะ 9.50 16,968 1,786.10 9,909 8
เมืองใหม่โคกกรวด ทต. โคกกรวด 64.17 15,430 240.45 7,500 13
หนองไผ่ล้อม ทต. หนองไผ่ล้อม 17.89 15,186 848.85 11,300 3
โคกสูง ทต. โคกสูง 30.56 11,493 376.07 5,202 15
บ้านโพธิ์ ทต. บ้านโพธิ์ 44.36 10,422 234.94 4,583 18
ตลาด ทต. ตลาด 22.20 10,332 465.40 5,509 12
พุดซา ทต. พุดซา 39.36 10,240 260.16 3,430 16
ปรุใหญ่ ทต. ปรุใหญ่ 16.63 9,861 592.96 5,156 11
ไชยมงคล ทต. ไชยมงคล 60.18 8,724 144.96 4,234 18
โคกกรวด ทต. โคกกรวด 3.00 7,093 2,364.33 4,687 18
หนองไข่น้ำ ทต. หนองไข่น้ำ 43.44 6,149 141.55 1,841 19
หนองบัวศาลา อบต. หนองบัวศาลา 36.61 25,647 700.54 14,960 10
จอหอ อบต. จอหอ 26.97 14,960 554.69 8,261 12.5
หนองจะบก อบต. หนองจะบก 23.56 14,447 613.20 7,055 7
หนองระเวียง อบต. หนองระเวียง 54.77 13,150 240.09 5,350 16
บ้านเกาะ อบต. บ้านเกาะ 11.30 11,731 1038.14 6,783 6
หมื่นไวย อบต. หมื่นไวย 9.76 10,824 1,109.01 5,860 5
หนองกระทุ่ม อบต. หนองกระทุ่ม 18.50 9,702 524.43 5,295 8
มะเริง อบต. มะเริง 10.25 9,156 893.26 4,102 10.5
สีมุม อบต. สีมุม 15.0 6,497 433.13 2,274 15
พะเนา อบต. พะเนา 18.16 5,251 289.15 1,852 9
พลกรัง อบต. พลกรัง 18.65 4,745 254.42 1,384 17
  • สถิติจำนวนประชากรและบ้านของอำเภอเมืองนครราชสีมา ข้อมูล ณ ธันวาคม 2564[1][2]

สถานีตำรวจ

[แก้]
  • กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
  • กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
  • สถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา
  • สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง
  • สถานีตำรวจภูธรจอหอ
  • สถานีตำรวจภูธรพลกรัง
  • สถานีตำรวจภูธรมะเริง

สถาบันอุดมศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

[แก้]

โรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนรัฐบาล

[แก้]

โรงเรียนเอกชน

[แก้]

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ปราสาทหินพนมวัน

การคมนาคม

[แก้]

อำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางคมนาคมและการขนส่ง โดยเป็นชุมทางสำหรับการติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยใช้เส้นทางรถยนต์ ทางรถไฟ และทางอากาศ มีรายละเอียดดังนี้

ทางรถยนต์

[แก้]

เส้นทางรถยนต์ ถนนสายหลักที่ใช้ติดกับจังหวัด อำเภอใกล้เคียง

  1. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา (ให้บริการบางส่วนช่วงเทศกาล)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เส้นทางสระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินเส้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นวงแหวนวนรอบตัวเมืองนครราชสีมา (เปิดให้บริการบางส่วน)
  4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) เส้นทางนครราชสีมา-ชัยภูมิ-ลพบุรี ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและภาคกลาง
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 (ถนนนครราชสีมา-โชคชัย) เส้นทางนครราชสีมา-อุบลราชธานี ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
  6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ถนนนครราชสีมา-จักราช) เส้นทางนครราชสีมา-บุรีรัมย์-อุบลราชธานี ใช้ติดต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
  7. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนนครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เส้นทางนครราชสีมา-ฉะเชิงเทรา ใช้สำหรับติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก
  8. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2068 เส้นทางตำบลโคกกรวด-อำเภอโนนไทย ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอขามทะเลสอและอำเภอโนนไทย
  9. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2162 เส้นทางอำเภอเมืองนครราชสีมา-อำเภอห้วยแถลง ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอจักราชและอำเภอห้วยแถลง
  10. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2198 เส้นทางตำบลโคกสูง-อำเภอขามทะเลสอ ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอเมืองนครราชสีมากับอำเภอขามทะเลสอ
  11. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2310 เส้นทางตำบลไชยมงคล-อำเภอโชคชัย ใช้สำหรับติดต่อกับอำเภอเมืองนครราชสีมากับอำเภอโชคชัย

ทางรถไฟ

[แก้]

มีสถานีรถไฟในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาจำนวน 6 สถานี รองรับรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 2 เส้นทาง โดยเริ่มจากสถานีดังต่อไปนี้

  • สถานีรถไฟโคกกรวด เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-นครราชสีมา กิโลเมตรที่ 249.94 ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกกรวด ระยะห่างถึงสถานีรถไฟภูเขาลาดประมาณ 7.5 กิโลเมตร
  • สถานีรถไฟภูเขาลาด เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-นครราชสีมา กิโลเมตรที่ 257.44 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ ระยะห่างถึงสถานีรถไฟนครราชสีมาประมาณ 6.21 กิโลเมตร
  • สถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี และสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 263.65 เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มแรกกิจการรถไฟของประเทศไทย ตั้งอยู่ตำบลในเมือง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองนครราชสีมา บนถนนมุขมนตรี (เป็นสถานีร่วมสถานีรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา)
  • สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟชุมทางในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี และสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 266.28 เป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากสถานีนครราชสีมา ตั้งอยู่ตำบลในเมือง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา โดยที่สถานีแห่งนี้ ได้แยกเส้นทางรถไฟออกเป็น 2 สาย คือ
  • สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ผ่านไปยังอำเภอโนนสูง คง บ้านเหลื่อม บัวใหญ่ เรื่อยไปจนถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทางประมาณ 624 กิโลเมตร
    • สถานีรถไฟบ้านเกาะ เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 272.50 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 6.22 กิโลเมตร
    • ที่หยุดรถไฟสระธรรมขันธ์ เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 278 ตั้งอยู่ในเขตตำบลจอหอ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 11.72 กิโลเมตร
    • ที่หยุดรถไฟหนองไข่น้ำ เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 282.92 ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองไข่น้ำ มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 16.64 กิโลเมตร
    • สถานีรถไฟบ้านกระโดน เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-หนองคาย กิโลเมตรที่ 284.67 ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกสูง มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 18.39 กิโลเมตร
  • สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ผ่านไปยังอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จักราช ห้วยแถลง เรื่อยไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 575 กิโลเมตร
    • ที่หยุดรถไฟบ้านพะไล เป็นที่หยุดรถในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี กิโลเมตรที่ 271.59 ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวทะเล มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 5.31 กิโลเมตร
    • สถานีรถไฟบ้านพะเนา เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี กิโลเมตรที่ 276.35 ตั้งอยู่ในเขตตำบลพะเนา มีระยะทางห่างจากสถานีชุมทางถนนจิระประมาณ 10.07 กิโลเมตร

สถานีขนส่ง

[แก้]
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศสายที่ 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมาให้บริการ ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี

หน่วยกู้ภัย

[แก้]
  • มูลนิธิพุทธธรรม 31 (กู้ภัยฮุก 31)
  • มูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน (กู้ภัยสว่างเมตตา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] ข้อมูลประชากร ตำบลในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. 2.0 2.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] ข้อมูลประชากร เขตเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  4. สถิติประชากร ปี พ.ศ. 2555 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  5. https://www.thairath.co.th/content/103549
  6. "ศูนย์ข้อมูลพื้นฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.

ดูเพิ่ม

[แก้]