สิ่งมีชีวิตนอกโลก
สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra ["เกินกว่า" หรือ "ไม่ใช่ของ"] และ terrestris ["อาศัยอยู่บนโลก, เป็นของโลก"]) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น [1] การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" [2][3][4][5][6] ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน [7] นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ [8] นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี [9]
ภูมิหลัง
[แก้]สิ่งมีชีวิตเอเลียน เช่น แบคทีเรีย ได้รับการตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าจะมีอยู่ในระบบสุริยะและตลอดทั่วไปทั้งเอกภพ สมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับขนาดที่กว้างใหญ่ (vast size) และกฎทางกายภาพที่สอดคล้องกันของเอกภพที่สังเกตได้ จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ทำโดยนักวิทยาศาสตร์เช่นคาร์ล เซแกน และ สตีเฟน ฮอว์คิง, ก็ได้มีความเห็นพ้องกันว่าไม่น่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการที่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่อื่นนอกเหนือจากโลก [10][11] ข้อโต้แย้งนี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัส (Copernican principle), ที่ระบุว่าโลกไม่ได้ครอบครองตำแหน่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาล, และหลักความธรรมดาสามัญ (mediocrity principle) ซึ่งถือว่าไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับชีวิตบนโลก [12] คุณสมบัติทางเคมีของชีวิตอาจจะเพิ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่เกิดบิ๊กแบงเมื่อประมาณ 13.8 พันล้านปีที่ผ่านมา, ในช่วงยุคที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อจักรวาลมีอายุได้เพียง 10 ถึง 17 ล้านปี ชีวิตอาจจะปรากฏเกิดขึ้นมาได้อย่างเป็นอิสระในสถานที่หลายแห่งทั่วทั้งจักรวาล หรือมิฉะนั้นชีวิตอาจก่อตัวขึ้นได้อย่างไม่บ่อยครั้งนักแล้วจึงได้แพร่กระจายออกไปในระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือ สภาพที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ผ่านวิธีการแบบแพนสเปอร์เมีย (panspermia) หรือ เอ็กโซแจเนซิส (Exogenesis) ซึ่งมีวิธีการที่มาจากสมมติฐานที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นสมมติฐานที่ว่าชีวิตที่มีอยู่ทั่วทั้งจักรวาลนั้นได้ถูกแพร่กระจัดกระจายไปสู่ห้วงอวกาศและดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยอุกกาบาต, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง, และ วัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ (planetoids) [13] ในกรณีใด ๆ โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่จำเป็นสำหรับชีวิตอาจจะเกิดขึ้นในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดของเม็ดฝุ่นคอสมิคที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ก่อนที่จะมีการก่อตัวขึ้นของโลกโดยที่ได้มีการศึกษาโดยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ [14] ตามที่ได้อ้างอิงจากการศึกษาถึงสิ่งเหล่านี้, กระบวนการเดียวกันนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้กับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่มีดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณโดยรอบ [14] (โปรดดูเพิ่มเติมที่โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ต่างดาว (Extraterrestrial organic molecules)) สถานที่แนะนำที่ชีวิตอาจจะได้มีการพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดาวเคราะห์เช่น ดาวศุกร์, [15] ดาวอังคาร, ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี, ดวงจันทร์ไททันและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์ [16] ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011, นักวิทยาศาสตร์นาซ่ารายงานว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัส "เป็นดาวเคราะห์น้องใหม่ที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจที่มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งที่เอื้ออิงอาศัยอยู่ได้สำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดนอกเหนือจากโลกของเราในระบบสุริยะเท่าที่เรารู้จักกันดีที่สุดในตอนนี้" [17]
นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเสนอแนะส่งเสริมต่อแนวความคิดที่ว่า "เขตอาศัยได้" (habitable zone) เป็นอาณาบริเวณที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาจจะสามารถพบเจอได้ การค้นพบมากมายในโซนเขตอาณาบริเวณเหล่านี้มีมาตั้งแต่ปี 2007 มีการสร้างการประมาณการของความถี่ของจำนวนของดาวเคราะห์ที่มีสภาพคล้ายโลก -ในแง่ของส่วนประกอบสภาพแวดล้อมของดาว -ที่มีการนับเป็นจำนวนไว้ได้เป็นจำนวนหลายพันล้านดวง แต่นี่เป็นข้อมูลในปี 2013, มีเพียงจำนวนเล็กน้อยของดาวเคราะห์ที่ได้รับการค้นพบในโซนเหล่านี้ [18] อย่างไรก็ตาม, ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2013 นักดาราศาสตร์ได้มีรายงาน, บนพื้นฐานของข้อมูลภารกิจของยานอวกาศเคปเลอร์, ว่าอาจจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลก (Earth-sized planet) เป็นจำนวนมากถึง 40 พันล้านดวง โคจรอยู่โดยรอบในเขตอาศัยได้ของดาวคล้ายดวงอาทิตย์ (Sun-like star) และดาวแคระแดง (red dwarf) ในทางช้างเผือก, [19][20] ที่มีจำนวนถึง 11 พันล้านดวงซึ่งอาจจะโคจรอยู่รอบดาวที่คล้ายดวงอาทิตย์ [21] ดาวเคราะห์ดังกล่าวที่อยู่ใกล้โลกที่สุดอาจจะอยู่ห่างเป็นระยะทาง 12 ปีแสงห่างออกไปตามการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ [19][20] นักชีววิทยาดาราศาสตร์ยังได้มีการพิจารณาการ "ติดตามพลังงาน" (follow the energy) ในมุมมองของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพอีกด้วย [22][23]
ความเป็นไปได้ขั้นพื้นฐาน
[แก้]สมมติฐานหลายข้อได้รับการเสนอเกี่ยวกับพื้นฐานที่เป็นไปได้ของชีวิตต่างดาวจากมุมมองทางชีวเคมี, วิวัฒนาการ หรือลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ชีวเคมี
[แก้]หากมีชีวิตนอกโลกอยู่จริง อาจมีตั้งแต่จุลินทรีย์ (microorganism) อย่างง่ายๆ และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) คล้ายกับสัตว์หรือพืช ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีสติปัญญา (alien intelligence) ซับซ้อนที่คล้ายคลึงกับมนุษย์
ทุกชีวิตบนโลกนั้นมีพื้นฐานอยู่บนองค์ประกอบทางเคมี 26 ชนิด อย่างไรก็ดี, ประมาณ 95% ของชีวิตนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเพียงหกอย่างเหล่านี้ คือ: คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ไนโตรเจน, ออกซิเจน, ฟอสฟอรัส, และกำมะถัน อักษรย่อคือ CHNOPS ทั้งหกองค์ประกอบเหล่านี้เป็นรูปแบบของการสร้างบล็อกขั้นพื้นฐานของแทบทุกชีวิตบนโลกในขณะที่ส่วนใหญ่ขององค์ประกอบที่เหลือจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย [24]
ชีวิตบนโลกต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในการที่ปฏิกิริยาชีวเคมีจะเกิดขึ้นได้ ปริมาณที่เพียงพอของคาร์บอนและองค์ประกอบอื่น ๆ พร้อมกับน้ำอาจช่วยให้มีการก่อกำเนิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่มีสารเคมีเป็นต้นกำเนิดพื้นฐาน (make-up) และมีช่วงของอุณหภูมิในย่านที่คล้ายกันกับโลก[25] ดาวเคราะห์หิน เช่น โลกเกิดขึ้นได้จากกระบวนการที่ช่วยให้สำหรับความเป็นไปได้ของการมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับโลก การรวมกันของคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในรูปแบบทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต (เช่น น้ำตาล) สามารถเป็นแหล่งของพลังงานเคมีที่ชีวิตจะต้องพึ่งพาอาศัย และสามารถเอื้ออำนวยให้เกิดเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างสำหรับชีวิต (เช่น น้ำตาลไรโบส (ribose) ในโมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) และ อาร์เอ็นเอ (RNA) และเซลลูโลส (cellulose) ในพืช) พืชได้รับพลังงานโดยการแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีโดยผ่านทางการสังเคราะห์ด้วยแสง สิ่งมีชีวิตตามที่เป็นที่รับรู้กันในตอนนี้นั้นต้องการคาร์บอนในรูปแบบของปฏิกิริยารีดอกซ์ของทั้งสองแบบ [26] (คือ จำพวกแก๊สมีเธน) และที่อยู่ในสภาพผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นบางส่วน (คาร์บอนออกไซด์) ไนโตรเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการลดลงของอนุพันธ์แอมโมเนียในโปรตีนทั้งหมด กำมะถันเป็นอนุพันธ์ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ในโปรตีนที่จำเป็นบางส่วนและฟอสฟอรัสจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นฟอสเฟตในสารพันธุกรรมและในการถ่ายโอนพลังงาน
น้ำบริสุทธิ์นั้นมีประโยชน์เพราะมันมีค่าพีเอชที่เป็นกลางเนื่องจากการแยกตัวออกจากกันอย่างต่อเนื่องระหว่างไฮดรอกไซด์และไฮโดรเนียม ไอออน (hydronium ions) เป็นผลทำให้มันสามารถละลายทั้งไอออนบวกของโลหะและไอออนลบของสารที่ไม่ใช่โลหะด้วยความสามารถที่เท่าเทียมกันได้ นอกจากนี้ความจริงที่ว่าโมเลกุลสารอินทรีย์ที่สามารถเป็นได้ทั้งแบบไฮโดรโฟบิกที่ไม่ชอบน้ำ (ขับไล่น้ำ) หรือแบบไฮโดรฟิลิค (hydrophilic) (ละลายในน้ำ) จะช่วยสร้างความสามารถของสารประกอบอินทรีย์ในการที่จะปรับทิศทางของตัวมันเองให้อยู่ในรูปแบบของเยื่อ [27] ทางชีวภาพที่สามารถห่อหุ้มน้ำไว้ได้ (water-enclosing membranes) นอกจากนี้พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำทำให้มันมีความสามารถในการจัดเก็บพลังงานที่มีการระเหยซึ่งเมื่อเกิดการควบแน่นเข้าก็จะถูกปลดปล่อยออกมาได้นี้จะช่วยให้สภาพภูมิอากาศมีอุณหภูมิอยู่ในระดับปานกลาง บริเวณเขตร้อนของโลกก็จะเย็นสบายและบริเวณขั้วโลกก็จะอบอุ่นขึ้น ทำให้ช่วยรักษาเสถียรภาพทางอุณหพลศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับชีวิตไว้ได้
คาร์บอนเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตบนพื้นดินที่มีความยืดหยุ่นอยู่มากในการสร้างเคมีพันธะโคเวเลนต์ (covalent chemical bonds) ที่มีความหลากหลายของธาตุที่ไม่ใช่โลหะ, อันได้แก่ ไนโตรเจน, ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน เป็นหลัก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นตัวช่วยร่วมกันในการทำให้การจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของน้ำตาลและแป้ง เช่น กลูโคส
ดาวเคราะห์หิน หรือที่เรียกว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลก อย่างเช่น โลกของเรา จะก่อตัวขึ้นด้วยกระบวนการที่ช่วยให้ความเป็นไปได้ของการมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับที่โลกของเรามีได้ [28] การผสมผสานกันระหว่าง คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ในรูปแบบทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) (ตัวอย่างเช่น น้ำตาล) จะสามารถเป็นแหล่งของพลังงานทางเคมีที่ชีวิตจะสามารถพึ่งพาได้และสามารถเอื้ออำนวยก่อให้เกิดองค์ประกอบโครงสร้างทางชีวเคมีที่จำเป็นสำหรับการก่อกำเนิดชีวิตได้ พืชได้รับพลังงานผ่านการแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางเคมีผ่านทางการสังเคราะห์ด้วยแสง
อย่างไรก็ตาม คาร์ล เซแกนได้ชี้ว่าลักษณะที่ปรากฏในสิ่งชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นลักษณะที่มีอยู่ในสิ่งชีวิตทั้งหมดในจักรวาล[29] ซึ่งคาร์ลได้เรียกการอนุมานดังกล่าวว่า "การยึดอคติคาร์บอน" (carbon chauvinism)[30] โดยคาร์ลเห็นว่าซิลิคอนและเจอร์เมเนียมนั้นอาจเป็นสิ่งที่อาจแทนที่คาร์บอนได้[30] แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ว่าคาร์บอนนั้นดูเหมือนจะมีความหลากหลายทางเคมีมากกว่าและมีปริมาณในจักรวาลมากกว่าด้วย[31]
ความต้องการพื้นฐานประการแรกของชีวิตคือสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ (non-equilibrium thermodynamic) ซึ่งหมายความว่าสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ (thermodynamic equilibrium) จะต้องถูกทำลายโดยแหล่งพลังงาน แหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมในจักรวาลก็คือดวงดาว เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตบนโลกที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ยังมีแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นอีก เช่น ภูเขาไฟ แผ่นเปลือกโลก (plate tectonic) และปล่องแบบน้ำร้อน (hydrothermal vent)
วิวัฒนาการและสัณฐานวิทยา
[แก้]นอกจากนี้ยังมีพื้นฐานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนอกโลกจำนวนมากที่ได้มีการพิจารณาทางการวิวัฒนาการ (evolution) และสัณฐานวิทยา (morphology) ในนิยายวิทยาศาสตร์มักจะปรากฏมีภาพของสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์ (humanoid) หรือสัตว์เลื้อยคลาน (reptilian) อยู่เสมอ ๆ เอเลียนตามภาพปรากฏที่เราคุ้นตากันนั้นมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่มีผิวกายสีเขียวหรือสีเทาอ่อน, มีศีรษะขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่มีสี่แขนขา-เหมือนกับ ลักษณะของมนุษย์โดยพื้นฐานทั่วไป ในรูปแบบอื่น ๆ ก็มีเช่น เหมือนสัตว์ในตระกูลแมว, แมลง, หยดสี ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในการเป็นตัวแทนสมมติของมนุษย์ต่างดาว
การจัดแยกแบ่งจำแนกตามการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลกตามหลักการของวิวัฒนาการและสัณฐานวิทยานี้ ได้รับการเสนอแนะให้อยู่ระหว่างคุณลักษณะของความเป็นสากลทั่วไปและการถูกจำกัดวงแคบ (ถูกจำกัดวงให้แคบเข้า) ความเป็นสากล เป็นคุณสมบัติที่คิดว่าน่าจะมีการวิวัฒนาการอย่างมีความเป็นอิสระมากกว่าหนึ่งครั้งเมื่อคิดเปรียบเทียบกับที่จะเกิดบนดาวเคราะห์เช่น โลก ของเรา (และน่าจะไม่ยากเกินไปที่จะพัฒนา) และจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งที่สายพันธุ์ หรือ สปีชีส์ (species) นั้นจะมีแนวโน้มในการวิวัฒนาการมุ่งไปทางสิ่งมีชีวิตรูปแบบเหล่านั้น ความเป็นพื้นฐานที่สุดของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจจะเป็นความสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) [32] [33] แต่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (แต่ก็ยังคงเป็นพื้นฐาน) นั้นรวมไปถึงลักษณะการบิน การมองเห็น (sight) การสังเคราะห์แสง และ รยางค์ (แขนขา) (limbs) ซึ่งทั้งหมดนี้มีแนวคิดกันว่าน่าจะมีการพัฒนาการเกิดขึ้นหลายครั้งบนโลกใบนี้
ดาวเคราะห์ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยได้ในระบบสุริยะ
[แก้]มีเทหะวัตถุบางแห่งในระบบสุริยะที่ได้รับการแนะนำว่ามีศักยภาพสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมสามารถจะเป็นโฮสต์หรือเจ้าบ้านให้แก่ชีวิตนอกโลกได้, โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งก็คือ บริเวณใต้พื้นผิวมหาสมุทร (subsurface ocean) [34] แม้ว่าจะเกิดจากความขาดแคลนแร้นแค้นของสภาพแวดล้อมในการที่จะเป็นสถานที่สำหรับการเอื้ออาศัยอยู่ได้ของสิ่งมีชีวิตมากเกินไปกว่าโลกของเรา, ที่ควรจะค้นพบชีวิตอยู่ในที่อื่น ๆ ในระบบสุริยะ, นักชีวดาราศาสตร์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่ามันอาจจะมีแนวโน้มที่ชีวิตนั้นจะสามารถดำรงอยู่ได้ในรูปแบบของจุลินทรีย์ประเภท "เอกซ์ตรีมเมเฟียล" (extremophile microorganisms) คือ จุลินทรีย์ที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดสุดขั้ว เช่น บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง, มีความเป็นกรดสูง
ดาวอังคารอาจมีสภาพแวดล้อมที่มีช่องซอกโพรงใต้ผิวดินที่จุลินทรีย์ที่มีชีวิตอาจจะมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ [35][36][37] สภาพแวดล้อมใต้ผิวมหาสมุทรบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีอาจจะเหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมากที่สุดในระบบสุริยะ, นอกโลกสำหรับจุลินทรีย์เอกซ์ตรีมเมเฟียล [38][39][40]
สมมุติฐานแพนสเปอร์เมีย (panspermia hypothesis) เสนอว่าชีวิตในที่อื่น ๆ ในระบบสุริยะอาจมีต้นกำเนิดร่วมกัน หากชีวิตนอกโลกถูกพบในเทหวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะก็อาจมีต้นตอมาจากโลกเช่นเดียวกับชีวิตบนโลกที่อาจได้รับเมล็ดพันธ์ชีวิตจากที่อื่น ๆ (เอ็กโซแจเนซิส (exogenesis)) การกล่าวถึงคำว่า 'แพนสเปอร์เมีย' เป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกในงานเขียนของนักปรัชญาชาวกรีกที่ชื่อ แอแนกแซเกอเริส (Anaxagoras) ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 [41] ในศตวรรษที่ 19 มันได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในรูปแบบที่ทันสมัยโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคน, รวมทั้ง เยินส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส (พ.ศ. 2377), [42] เคลวิน (พ.ศ. 2414), [43] แฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ (พ.ศ. 2422) [44] และหลังจากนั้นต่อมาโดย สวานเต อาร์เรเนียส (พ.ศ. 2446) [45] เซอร์ เฟรด ฮอยล์ (Sir Fred Hoyle) (พ.ศ. 2458-2544) และ จันทรา วิกครามาซิง (Chandra Wickramasinghe) (เกิด พ.ศ. 2482) สองนักวิทยาศาสตร์ผู้นำเสนอข้อสันนิษฐานสำคัญซึ่งสนับสนุนยืนยันว่ารูปแบบของชีวิตสามารถดำเนินการสีบต่อเนื่องเข้ามาสู่ในบรรยากาศของโลกได้และอาจจะเป็นตัวการของการแพร่ระบาดของโรคระบาด, โรคภัยไข้เจ็บใหม่ ๆ และความแปลกใหม่ทางพันธุกรรมที่จำเป็นสำหรับวิวัฒนาการระดับมหภาค (Macroevolution) [46] [47] (วิวัฒนาการระดับมหภาค เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นในกลุ่มสิ่งมีชีวิตระดับสปีชีส์ ขึ้นไป โดยการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่สิ่งมีชีวิตหลากหลายในปัจจุบัน เช่น กิ้งก่า ไก่ ต่างมีวิวัฒนาการแตกแขนงมาจากนกโบราณ(เทอราโนดอน) ที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว)
สมมติฐานแพนสเปอร์เมียได้ชี้นำเกี่ยวกับการส่งผ่านจุลชีพในอวกาศ, โดยเจตนาส่งตรงมายังโลกเพื่อเริ่มต้นชีวิตขึ้นที่นี่, หรือส่งมาจากโลกเพื่อสร้างระบบดาวฤกษ์ขึ้นใหม่ด้วยชีวิต สองนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ฟรานซิส คริก (Francis Crick) พร้อมกับ เลสลี่ ออร์เกล (Leslie Orgel) เสนอว่าเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตอาจได้รับการแพร่กระจายอย่างจงใจโดยอารยธรรมชั้นสูงนอกโลก, [48] แต่เมื่อพิจารณา "สมมติฐานโลกของ RNA" (RNA world) ตั้งแต่แรก คริก ตั้งข้อสังเกตในภายหลังว่าชีวิตอาจก่อกำเนิดเกิดขึ้นบนโลกของเรานี่เอง [49]
ดาวศุกร์
[แก้]ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ, ดาวศุกร์มักจะคิดกันว่าคล้ายคลึงกับโลกในแง่ของความเป็นแหล่งเอื้ออาศัยอยู่ได้ของชีวิต, แต่จากการสังเกตการณ์ที่เริ่มมาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของยุคอวกาศได้เผยให้เห็นว่าพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิตเหมือนดังเช่นโลก โดยพบว่าอุณหภูมิพื้นผิวดาวศุกร์อยู่ที่ประมาณ 467 °C (873 °F) [50], อย่างไรก็ตาม, บรรยากาศของดาวศุกร์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกือบทั้งหมดซึ่งอาจเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับโลก ที่ระดับความสูงระหว่าง 50 และ 65 กิโลเมตร, ความดันและอุณหภูมิจะมีความคล้ายคลึงกับโลก, และได้รับการสมมุติฐานว่าน่าจะมีจุลินทรีย์ที่ดำรงชีพอยู่ได้ในอากาศและอาจเอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ได้ในสภาพที่มีความร้อนสูงในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ที่เป็นกรด[51][52][53][54] นอกจากนี้, ดาวศุกร์น่าจะมีน้ำในสถานะของเหลวบนพื้นผิวเป็นเวลาอย่างน้อยไม่กี่ล้านปีหลังจากการก่อตัวของมัน[55][56][57] ในเดือนกันยายนปี 2020 มีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการตรวจพบก๊าซฟอสฟีน (phosphine) ในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ในระดับความเข้มข้นที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางอชีวนะ (abiotic ซึ่งไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่ได้เกิดมาจากสิ่งมีชีวิต แต่เกิดมาจากกลไกทางกายภาพและไม่ได้เป็นกลไกทางชีวภาพที่รู้จักกันในสภาพแวดล้อมของดาวศุกร์ เช่น การเกิดฟ้าผ่าหรือการระเบิดของภูเขาไฟ) [58][59]
ดาวอังคาร
[แก้]ชีวิตบนดาวอังคารได้รับการสันนิษฐานกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว น้ำที่อยู่ในสถานะของเหลวนั้น เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในการมีชีวิตอยู่บนดาวอังคารในอดีตกาลที่ผ่านมา, และในขณะนี้บางครั้งบางคราวก็อาจจะพบเจอน้ำเกลือเข้มข้น (brine) ในสภาพของเหลวในปริมาณต่ำบนพื้นดินตื้น ๆ บนดาวอังคาร [60] ต้นกำเนิดของสัญญาณชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ของแก๊สมีเทนถูกสังเกตได้ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารยังไม่ได้รับการอธิบาย, แม้ว่าสมมติฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต (abiotic hypotheses) ยังคงได้รับการเสนออยู่ [61] โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 2008 ในห้องปฏิบัติการทดสอบบนยานอวกาศของนาซา ชื่อ ฟีนิกซ์ มาร์ส แลนด์เดอร์ (Phoenix Mars lander) ระบุว่าพบน้ำในตัวอย่างผิวหน้าดิน ภาพถ่ายจากยาน มาร์ส โกลโบล เซอร์เวเยอร์ (Mars Global Surveyor) เมื่อปี 2006 แสดงให้เห็นหลักฐานเมื่อไม่นานมานี้ (นั่นคือภายใน 10 ปี) ของการไหลของของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคารที่หนาวเย็น [62] มีหลักฐานว่าในอดีตดาวอังคารเคยมีอากาศที่อบอุ่นและชุ่มชื้น: ก้นแม่น้ำที่แห้งขอด, ขั้วน้ำแข็ง, ภูเขาไฟ, และแร่ธาตุที่ก่อตัวขึ้นในการแสดงถึงการมีอยู่ของน้ำที่ทั้งหมดได้รับการค้นพบ แต่อย่างไรก็ตาม, สภาพปัจจุบันบนดาวอังคารนั้น ชั้นใต้ผิวดินอาจจะสนับสนุนการดำรงชีวิต [63][64] หลักฐานที่ได้จากยานคิวริออซิตี โรเวอร์ที่กำลังศึกษาบริเวณ Aeolis Palus, ในปี 2013 หลุมอุกกาบาตเกล (Gale Crater) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเคยมีทะเลสาบน้ำจืดโบราณที่น่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อชีวิตจุลินทรีย์ (microbial life) [65][66]
ดาวเคราะห์แคระเซเรส
[แก้]ดาวเคราะห์แคระเซเรส (Ceres), เป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ที่อยู่เฉพาะในแถบดาวเคราะห์น้อย (asteroid belt) ได้รับการยืนยันจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชลแล้วว่ามีบรรยากาศที่มีชั้นไอน้ำอยู่เบาบาง [67][68] น้ำค้างแข็ง (Frost) ที่มีอยู่บนพื้นผิวของดาวนั้นนอกจากนี้ก็ยังอาจได้รับการตรวจพบได้ในรูปแบบของจุดสว่าง (bright spots) [69][70][71]
ระบบดาวพฤหัสบดี
[แก้]ดาวพฤหัสบดี
[แก้]ในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 คาร์ล เซแกน และคนอื่น ๆ ได้คิดคำนวณเงื่อนไขสำหรับการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์หรือจุลชีพที่สามารถดำรงชีวิตอาศัยอยู่ได้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ระบบดาวเสาร์
[แก้]ดวงจันทร์ไททันและดวงจันทร์เอนเซลาดัสซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ได้รับการคาดการณ์ในอันที่จะเป็นโฮสหรือเจ้าบ้านที่อยู่อาศัยที่เป็นไปได้สำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต
ดวงจันทร์เอนเซลาดัส
[แก้]ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) ของดาวเสาร์มีบางส่วนของเงื่อนไขสำหรับการดำรงชีวิตอยู่รวมทั้งกิจกรรมของพลังงานความร้อนและไอน้ำใต้ภิภพ, ตลอดจนความเป็นไปได้ของการได้รับพลังงานความร้อนมาจากภายใต้มหาสมุทรน้ำแข็งจากผลกระทบของน้ำขึ้นน้ำลง
ดวงจันทร์ไททัน
[แก้]ไททันเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นดวงเดียวที่รู้จักกันในระบบสุริยะว่ามีชั้นบรรยากาศที่มีความพิเศษอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลจากภารกิจของยานแคสซีนี–ไฮเกนส์ (Cassini-Huygens) ได้หักล้างสมมติฐานของมหาสมุทรไฮโดรคาร์บอนทั้งหมด, แต่ต่อมาได้แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลวในบริเวณขั้วของดาวซึ่งเป็นวัตถุที่มีความเสถียรอย่างแรกที่พื้นผิวของของเหลวที่ค้นพบนอกโลก [72][73][74] การวิเคราะห์ข้อมูลจากภารกิจได้เปิดเผยแง่มุมของคุณสมบัติทางเคมีของชั้นบรรยากาศใกล้พื้นผิวที่สอดคล้องกัน - แต่ไม่ได้พิสูจน์ - สมมติฐานที่ว่าสิ่งมีชีวิตมีอยู่ (organisms there) ถ้ามันมีอยู่จริง, พวกมันอาจบริโภคก๊าซไฮโดรเจน, อะเซทิลีน และ อีเทน เป็นอาหารและผลิตแก๊สมีเทนออกมาเป็นผลพลอยได้ [75][76][77] ภารกิจ "แมลงปอ" ของนาซา (NASA's Dragonfly mission) มีกำหนดลงจอดบนไทท้นในช่วงกลางปี 2030 ด้วยอากาศยานปีกหมุน (Rotorcraft) แบบ VTOL โดยมีกำหนดปล่อยยานในปี 2027
เทห์วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System bodies)
[แก้]เทห์วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System bodies) ก็ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านประเภทเอกซ์ตรีมเมเฟียล (extremophile)
มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการ
[แก้]มนุษย์ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อพิสูจน์เรื่องมนุษย์ต่างดาว แต่ก็ยังมีจินตนาการภาพลักษณ์ของมนุษย์ต่างดาวที่ได้ในสื่อต่าง ๆ ทั้งภาพยนตร์ นิยาย การ์ตูน และ วิดีโอเกม
ประเภทของมนุษย์ต่างดาว
[แก้]ได้มีการแบ่งประเภทตามลักษณะของผู้ที่อ้างว่าได้พบเจอมนุษย์ต่างดาวไว้ ดังนี้
- เกรย์ (Grey) หมายถึง สีเทา โดยประเภทนี้พบบ่อยที่สุด (ดังในรูป) มีลักษณะหัวโต ตาโตสีดำ รูปร่างคล้ายมนุษย์ ไม่มีขน นิ้วทุกนิ้วเรียวยาว ผิวหนังสีเทา จึงเป็นที่มาของชื่อ สื่อสารกันด้วยการใช้โทรจิต
- อเลสเฮนกา (Aleshenka) ตั้งตามชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัสเซีย ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยหญิงสติไม่สมประกอบผู้หนึ่ง มีการบันทึกการพบเจอไว้ด้วยเทปของตำรวจ แต่ภายหลังพบว่าแท้จริงแล้วเป็นเพียงตัวอ่อนของมนุษย์เท่านั้น[78]
- กึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian humanoid) ตัวสีเขียว รูปร่างคล้ายมนุษย์ มี 2 ขา แต่มีผิวหนังและลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน
- ดรอป้า (Dropa) ตัวเล็กมาก ก่อนหน้านี้มีหลักฐานว่าเคยพบบริเวณพรมแดนจีน-ธิเบต ราว 1 หมื่นปีก่อน แต่ต่อมาพบว่าเป็นหลักฐานเท็จ และเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องกุขึ้น[79]
- คล้ายหุ่นยนต์ (Robot) รูปร่างคล้ายหุ่นยนต์ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เนื้อตัวเป็นโลหะ ขนาดค่อนข้างใหญ่
- คล้ายวิญญาณ (Soul) ไม่มีกายเนื้อ สีขาว คล้ายผีหรือวิญญาณ (ตามคำบอกเล่าของ ศ.ดร.น.พ.เทพพนม เมืองแมน)
- นอร์ดิก (Nordics) รูปร่างเหมือนคน สูง 6-7 ฟุต ดวงตาสีเขียว
การค้นหาทางวิทยาศาสตร์
[แก้]การค้นหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับชีวิตต่างดาวจะถูกดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม
ค้นหาโดยตรง
[แก้]นักวิทยาศาสตร์ได้มีการค้นหาโดยตรงสำหรับสัญญาณของชีวิต (biosignatures) ภายในระบบสุริยะ มีการดำเนินการศึกษาบนพื้นผิวของดาวอังคารและตรวจสอบอุกกาบาต (meteorites) ซึ่งได้ตกลงสู่พื้นผิวโลก [80] มีการกล่าวอ้างบางอย่างถึงการที่มีพยานหลักฐานระบุว่ามีสิ่งมีชีวิตในระดับ "จุลชีพ" (microbial life) สามารถดำรงชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารได้ [81][82][83][84][85][86] จากการทดลองบนยานทั้งสองครั้งของยานไวกิ้งที่ได้ทำการร่อนลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคารได้รายงานถึงการปล่อยก๊าซจากตัวอย่างดินบนดาวอังคารที่ถูกทำให้อุ่นที่นักวิทยาศาสตร์บางคนได้ยืนยันว่ามีความสอดคล้องกับการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ [87] การขาดหลักฐานยืนยันจากการทดลองอื่น ๆ ในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ทางชีวภาพ (non-biological reaction) ดูจะมีแนวโน้มที่เป็นสมมุติฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่า [87][88][89][90] ในปี 1996, มีรายงานโต้แย้งระบุว่า มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายนาโนแบคทีเรีย (nanobacteria) ถูกค้นพบในอุกกาบาต, ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอแอลเอช 84001 (ALH84001), อยู่ในรูปแบบของก้อนหินที่พุ่งกระเด็นออกมาจากดาวอังคาร (rock ejected from Mars) [81][82] ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2005 นักวิทยาศาสตร์ของนาซารายงานว่าพวกเขาอาจได้พบหลักฐานบางอย่างของชีวิตบนดาวอังคาร [91] สองนักวิทยาศาสตร์ ได้แก่, แครอล สโตกเกอร์ (Carol Stoker) และ ลาร์รี่ เลมกี แห่งศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) ของนาซ่า ตามข้ออ้างของพวกเขาที่ได้พบแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารคล้ายกับการผลิตแก๊สมีเทนบางรูปแบบของชีวิตดึกดำบรรพ์ดั้งเดิมบนโลก, เช่นเดียวกับการศึกษาของพวกเขาเกี่ยวกับชีวิตดึกดำบรรพ์ที่อยู่ใกล้ แม่น้ำริโอทินโต (Rio Tinto river) ในสเปน
ดาวเคราะห์นอกระบบ
[แก้]การค้นหาของนักดาราศาสตร์สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้จำกัดเป้าหมายของการค้นหาให้แคบลงโดยมุ่งไปที่การค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกหรือบางครั้งก็เรียกว่าดาวเคราะหิน (terrestrial planet) ที่อยู่ภายในเขตอาศัยได้ (habitable zone) สำหรับชีวิต [92][93] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา, มีดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบกว่า 2000 ดวงที่ได้มีการค้นพบแล้ว (2052 ดวงอยู่ในระบบดาวเคราะห์ (planetary system) 1300 ระบบ รวมทั้งสิ้น 507 ระบบ ที่อยู่ภายในมหาระบบดาวเคราะห์ (multiple planetary system) ณ วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2016)
สมการของเดรก
[แก้]ในปี 1961, มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ, นักดาราศาสตร์และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ดร.แฟรงก์ เดรก (Dr. Frank Drake) ได้คิดค้นสมการของเดรกขึ้น สมการที่มีความขัดแย้งกันนี้เป็นผลการคูณแบบประมาณการเข้าด้วยกันของเทอมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อัตราของการก่อตัวของดาวฤกษ์ที่มีสภาพเหมาะสม และเกิดขึ้นนานพอที่เกิดสภาพเหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตชั้นสูง
- อัตราส่วนของดาวฤกษ์เหล่านั้นที่มีระบบดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ
- จำนวนของดาวเคราะห์ที่มีสภาพที่คล้ายโลกต่อระบบดาวเคราะห์ที่มีอยู่ทั้งหมด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ จำนวนดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตที่น่าจะใช้อยู่อาศัยได้
- อัตราส่วนของดาวเคราะห์ที่สามารถพัฒนาให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดขึ้นมาได้
- อัตราส่วนของความเป็นไปได้ของดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีจนถึงขั้นสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้
- "ช่วงอายุชีวิต" ของความเป็นไปได้ของอารยธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารกันได้
เมื่อ :
- N = จำนวนของอารยธรรมที่มีอยู่ในกาแลคซีทางช้างเผือกที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารข้ามอวกาศระหว่างดาวนพเคราะห์ได้
และ
- R* = อัตราเฉลี่ยของการก่อตัวของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีของเรา
- fp = สัดส่วนของดาวฤกษ์เหล่านั้นที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร
- ne = ค่าเฉลี่ยของจำนวนดาวเคราะห์ที่อาจจะสนับสนุนการมีอยู่ของชีวิต
- fl = สัดส่วนของดาวเคราะห์ตามความเป็นจริงที่สนับสนุนการมีอยู่ของชีวิต
- fi = สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่มีชีวิตที่สามารถพัฒนากลายมาป็นสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดทรงภูมิปัญญา (มีอารยธรรม)
- fc = สัดส่วนของอารยธรรมที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจพบการดำรงชีวิตอยู่ของพวกเขาส่งขึ้นไปสู่ยังห้วงอวกาศได้
- L = ความยาวนานของระยะเวลาที่นานพอที่อารยธรรมดังกล่าวจะสามารถถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจพบได้เข้ามาในอวกาศ
เดรกได้นำเสนอการประมาณการดังต่อไปนี้, แต่ตัวเลขทางด้านขวาของสมการคือการยอมรับกันว่าเป็นการคาดเดาและเปิดกว้างให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวเลขกันได้:
สมการเดรกได้รับการพิสูจน์ความขัดแย้งเนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยยังมีความไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับการคาดเดา, จึงยังไม่อนุญาตให้มีข้อสรุป
ผลกระทบทางวัฒนธรรม
[แก้]แนวความคิดในยุคโบราณและยุคกลาง
[แก้]ในสมัยยุคโบราณ, เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเชื่อกันว่าจักรวาลนั้นประกอบด้วย "หลายโลก" ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาด ไม่ใช่รูปแบบของสิ่งมีชีวิตแบบมนุษย์อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ แต่ "โลก" ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับตำนาน (mythological) ที่เล่าขานสืบต่อกันมาและยังไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งต่อความเข้าใจของมนุษย์เราในยุคสมัยนั้น ที่ว่า จะมีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ หรือว่า ดวงอาทิตย์จะเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในท่ามกลางหมู่ดาวฤกษ์จำนวนนับไม่ถ้วนกันแน่ [95] ตัวอย่างได้แก่ ตำนานเรื่อง สิบสี่โลกา (fourteen Loka) ในวิชาจักรวาลวิทยาในศาสนาฮินดูหรือ เก้าโลกของเทพนิยายนอร์ซอันเก่าแก่ (Nine Worlds of Old Norse) ฯลฯ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นมักจะปรากฏว่าเป็นโลกที่อาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในบริบทดังกล่าวหรือเป็นดังยานพาหนะ (รถม้าศึก (chariot) หรือเรือ ฯลฯ ) ที่เทพเจ้า (god) ขับเคลื่อน นิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นเรื่องของตำนานคนตัดไผ่ (The Tale of the Bamboo Cutter) (ศตวรรษที่ 10) เป็นตัวอย่างของเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ที่ได้มาเยี่ยมชมโลก
มีความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดูเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำรอบแล้วซ้ำรอบเล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของชีวิตที่เรียกว่าสังสารวัฏ ได้นำไปสู่รายละเอียดของการมีอยู่ของโลกที่มีอยู่หลายโลก และการติดต่อสื่อสัมพันธ์กันระหว่างโลกที่มีอยู่ทั้งหลายเหล่านั้น (คำสันสกฤต สฺมปรก อ่านว่า "สัม-ปา-ระ-กะ" (sampark) (सम्पर्क) หมายถึง "การติดต่อ" (คำแปลในความหมายคำภาษาอังกฤษ คือ contact [96] [97]) ใน มหาสฺมปรก อ่านว่า "มะ-หา-สัม-ปา-ระ-กา" (Mahasamparka) (महासम्पर्क) = "การติดต่อที่ยิ่งใหญ่") ตามที่พระคัมภีร์พุทธและฮินดูได้จารึกไว้ว่า มีจักรวาลที่มีอยู่มากมายหลายจักรวาลเป็นจำนวนมาก
ในคัมภีร์ทัลมุด (Talmud states) ของชาวยิวซึ่งได้กล่าวไว้ถึงการที่มีโลกอื่นเป็นจำนวนอย่างน้อย 18,000 โลก ปรากฏอยู่, แต่ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ กับธรรมชาติของโลกเหล่านั้น, ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายภาพหรือทางจิตวิญญาณ จากหลักฐานนี้, อย่างไรก็ตาม, ในงานแสดงนิทรรศการในศตวรรษที่ 18 ที่มีชื่อว่า "Sefer HaB'rit" = "ซีเฟอร์ แฮบเบอะเรต" ได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกนั้นมีอยู่จริง ๆ, และซึ่งในบรรดามนุษย์ต่างดาวทั้งหมดนั้นบางส่วนบางจำพวกก็อาจจะมีความสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมาก มันจึงเป็นการช่วยเพิ่มเติมแนวความคิดที่ว่า มนุษย์ไม่ควรที่จะคาดหวังถึงสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่นที่จะมีลักษณะคล้ายกับชีวิตบนโลกมากเกินไปกว่าสัตว์ทะเลที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์บก [98][99]
สอดคล้องกับที่กลุ่มมุสลิม Ahmadiyya ได้กล่าวอ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ถูกนำเสนอโดย มีร์ซา ทาฮีร์ อาหมัด (Mirza Tahir Ahmad) เป็นข้อพิสูจน์ว่าชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีอยู่ตามคัมภีร์อัลกุรอาน
ด้วยการปฏิวัติของโคเปอร์นิคัสและการปฏิวัติวิทยาศาสตร์, และต่อมา, ในช่วงระหว่างยุคเรืองปัญญา, แนวคิดพหุนิยมฝ่ายจักรวาลก็ได้กลายมาเป็นแนวความคิดหลัก, ที่ได้รับการสนับสนุนโดยชอบโดย เบอร์นาร์ด เลอ โบเวียร์ เดอ ฟานเทนเนลลี (Bernard le Bovier de Fontenelle) ในหนังสือผลงานของเขาที่เขียนขึ้นในปี 1686 ในชื่อเรื่องว่า Entretiens sur la pluralité des mondes [100]
ยุคใหม่ตอนต้น
[แก้]มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการคิดริเริ่มโดยมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นและการกล่าวโจมตีของ โคเปอร์นิคัส (Copernican) ต่อเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่กล่าวว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล เมื่อมันกลายเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในหมู่วัตถุท้องฟ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนนับไม่ถ้วนในจักรวาล ทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตนอกโลกก็เริ่มที่จะกลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันในชุมชนทางวิทยาศาสตร์ (scientific community) [101] ผู้ที่นำเสนอแนวความคิดดังกล่าวอันเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงยุคสมัยใหม่ตอนต้นเป็นนักปรัชญาชาวอิตาเลียนชื่อ จอร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno), ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่ได้โต้แย้งด้วยเหตุผลเอาไว้ในศตวรรษที่ 16 ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ในจักรวาลหรือเอกภพอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ดวงดาวทุกดวงในจักรวาลหรือเอกภพจะต้องถูกห้อมล้อมรอบอยู่ด้วยระบบดาวเคราะห์ (planetary system) ที่มีอยู่โดยตัวของมันเอง บรูโน่ได้เขียนบันทึกพรรณนาเอาไว้ว่า ในโลกอื่น ๆ นั้น "มีคุณธรรมคุณงามความดีอยู่น้อยมาก หรือ มีลักษณะที่แตกต่างกันกับที่โลกของเรามีอยู่" และแตกต่างกับโลกของเราตรงที่โลกของเรานั้น "มีสัตว์และผู้คนอาศัยอยู่" [102] ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 นักดาราศาสตร์แห่งสาธารณรัฐเช็กชื่อ แอนตัน มาเรีย เชอร์รัส แห่ง ไรต้า (Anton Maria Schyrleus of Rheita) ได้รำพึงว่า "ถ้าดาวพฤหัสบดี ( ... ) มีผู้คนอาศัยอยู่ ( ... ) พวกเขาจะต้องมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โตและสวยงามมากกว่าคนที่อาศัยอยู่บนโลกของเราในสัดส่วนที่มีลักษณะของคู่แฝดทรงกลมสองอันติดกัน" [103]
ศตวรรษที่ 19
[แก้]จากแนวความคิดของมนุษย์เราเกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารที่ได้ทวีเพิ่มพูนมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และจากภาพของคลองส่งน้ำที่อยู่บนดาวอังคารที่ได้จากการสังเกตการณ์ที่ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์เมื่อในเร็ว ๆ นี้, จะอย่างไรก็ตามแต่, มันก็ได้กลับกลายเป็นว่าเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา (optical illusion) เราเท่านั้นเอง [104] อย่างไรก็ตามเรื่องนี้, ในปี 1895 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell) ได้ตีพิมพ์หนังสือของเขาในชื่อเรื่องว่า ดาวอังคาร (Mars), ตามด้วยเรื่อง ดาวอังคารและคลอง (Mars and its Canals) ในปี 1906 ซึ่งเสนอว่าคลองเป็นผลงานของอารยธรรมที่หายสาบสูญไปนานแล้ว [105] แนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารทำให้นักเขียนชาวอังกฤษที่ชื่อ เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) เขียนนวนิยายเรื่อง เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส (The War of the Worlds) ในปีพ. ศ. 2440 (ค.ศ. 1897), ซึ่งบอกถึงการรุกรานของมนุษย์ต่างดาวจากดาวอังคารที่กำลังหนีจากความแห้งแล้งของดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่
การวิเคราะห์สเปกตรัม (Spectroscopic) ของชั้นบรรยากาศดาวอังคารเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1894, เมื่อนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ วิลเลียม วอลเลซ แคมพ์บอล (William Wallace Campbell) แสดงให้เห็นว่าไม่มีน้ำและออกซิเจนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร (Martian atmosphere) [106] โดยในปี 1909 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ดีขึ้นและตำแหน่งของดาวอังคารที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด (the best perihelic opposition of Mars) นับตั้งแต่ปี 1877 ได้ยุติสมมติฐานเกี่ยวกับคลองบนดาวอังคารได้อย่างเป็นเอกฉันท์
ศตวรรษที่ 20
[แก้]ข้อความอาเรซีโบ จากหอดูดาวอาเรซีโบ (Arecibo Observatory) เป็นข้อความในระบบดิจิตอลที่ถูกส่งไปยังกระจุกดาวทรงกลมเอ็ม 13 (globular star cluster M13) และเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีของความพยายามของมนุษย์เพื่อที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การติดต่อกับวัตถุบินกำหนดเอกลักษณ์ไม่ได้ (unidentified flying object) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น การพบเห็นยูเอฟโอ (UFO sightings) [107] โดยที่สามารถอธิบายแยกแยะได้โดยง่ายว่าเป็นปรากฏการณ์ของเครื่องบินที่สร้างขึ้นบนโลกตามที่รู้จักกันหรือว่าจะเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์หรือเรียกว่า เทห์ฟ้า (astronomical object) หรือเป็นแค่การหลอกลวง (hoax) กันแน่ [108] กระนั้น, ประชาชนบางส่วนก็เชื่อว่ายูเอฟโอแท้ที่จริงอาจเป็นต้นตอของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว, และโดยแท้จริงแล้ว ก็เป็นแนวความคิดที่ได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมร่วมสมัย (popular culture)
ความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตนอกโลกบนดวงจันทร์ถูกขัดขวางไม่ยอมรับในทศวรรษที่ 1960, และในช่วงทศวรรษที่ 1970 ก็เป็นที่ชัดเจนว่าส่วนใหญ่ของเทหวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะก็ไม่ได้เป็นที่พำนักพักพิงแก่ชีวิตที่ถูกพัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก, แม้ว่าคำถามของชีวิตแรกเริ่มบนเทหวัตถุในระบบสุริยะจะยังคงเปิดอยู่ก็ตาม
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
[แก้]จากความล้มเหลวจนถึงขณะนี้ของโครงการเซติ (SETI) ในการตรวจจับสัญญาณวิทยุจากสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาจากห้วงอวกาศ สิบปีให้หลังของความพยายามที่มีอย่างน้อยที่สุดด้วยความหวังอันริบหรี่ นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเริ่มมีมุมมองในแง่ดีมากขึ้นจากจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในมนุษย์ต่างดาวยังคงถูกเล่าขานอยู่ในวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience), ทฤษฎีสมคบคิด และแพร่หลายอยู่ในนิทานชาวบ้าน (popular folklore) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ในบริเวณที่เรียกว่า "แอเรีย 51" (Area 51) และในตำนานกล่าวขานถึงวีรบุรุษ มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมเชิงอุปมาเปรียบเทียบที่ได้รับการปฏิบัติบำรุงดูแลอย่างจริงจังไม่น้อยหน้าไปกว่ารายการความบันเทิงที่เป็นที่นิยมในหมู่มหาชน
ในคำว่า "เซติ" ในการให้นิยามคำจำกัดความของแฟรงก์ เดรก ก็คือ "ทั้งหมดที่เราทราบแน่นอนได้ว่าท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นจะไม่ได้เป็นแค่เพียงถังขยะสำหรับเครื่องส่งสัญญาณไมโครเวฟที่ทรงพลังอย่างแน่นอน" (นั่นก็คือ ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น ด้วยสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่เราส่งออกไปหรือรับเข้ามาเหมือนกับถังขยะรอรับสิ่งปฏิกูลหรือของที่คนเขาทิ้งแล้วนั้น เราอาจจะได้เจอ "อะไรที่เจ๋ง ๆ" ในถังขยะใบเล็ก ๆ นี้อย่างแน่นอน) [109] เดรกตั้งข้อสังเกตว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าผลลัพธ์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของมนุษย์โลกเราในความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวนั้นจะต้องได้รับการดำเนินการในบางวิธีที่อยู่ในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการส่งคลื่นวิทยุออกไปในห้วงอวกาศนอกโลกอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม
ในขณะเดียวกันข้อมูลที่ส่งกลับโดยยานสำรวจอวกาศและความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวิธีการตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ที่จะเริ่มต้นการวิเคราะห์เกณฑ์เงื่อนไขที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้บนโลกอื่น ๆ และยืนยันว่ามีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกมากมาย ถึงแม้ว่าเรื่องของมนุษย์ต่างดาวยังคงเปินปริศนา แต่แล้วเมื่อปี ค.ศ. 1977 สัญญาณว้าว! (Wow! signal) ได้ถูกตรวจพบโดยบังเอิญโดยโครงการเซติและก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงและคาดเดากันอยู่ถึงที่มาของมันจนถึงบัดนี้
ในปี ค.ศ. 2000 นักธรณีวิทยาชื่อ ปีเตอร์ วอร์ด (Peter Ward) และนักบรรพชีวินวิทยา (astrobiologist) ชื่อ โดนัลด์ บรานลี (Donald Brownlee) ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า "โลกที่เร้นลับ : ทำไมชีวิตที่มีความสลับซับซ้อนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาในจักรวาล" (Rare Earth: Why Complex Life is Uncommon in the Universe) [110] เนื้อหาภายในหนังสือนั้นพวกเขาได้สนทนาพูดคุยถึงสมมติฐานเกี่ยวกับโลกที่ค้นพบได้ยาก หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า โลกที่หายาก (Rare Earth) ซึ่งพวกเขาอ้างว่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมบนดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวเคราะห์โลกของเรานั้นเป็นของที่พบเจอได้ยากในจักรวาล ในขณะที่จุลินทรีย์ที่มีชีวิตนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดามากที่จะสามารถพบเจอได้ทั่วไป วอร์ดและ บรานลี ได้เปิดใจกว้างให้กับแนวความคิดที่ว่าวิวัฒนาการบนดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่บนคุณลักษณะพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพที่มีสภาพคล้ายโลกเสมอไป (เช่น ดีเอ็นเอ และ คาร์บอน)
นักฟิสิกส์ทฤษฎี สตีเฟน ฮอว์คิง ได้เตือนไว้ในปี 2010 ว่ามนุษย์ไม่ควรพยายามที่จะติดต่อกับรูปแบบของชีวิตต่างดาว เขาเตือนว่ามนุษย์ต่างดาวอาจจะมาปล้นสะดมโลกเพื่อช่วงชิงเอาทรัพยากรจากโลกไป "ถ้ามนุษย์ต่างดาวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพวกเราเข้า ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะปรากฏออกมาเหมือนกับที่ครั้งเมื่อโคลัมบัสที่ได้เดินทางมาค้นพบดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกาซึ่งไม่ได้เป็นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเลย" เขากล่าว [111] นักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง คือ จาเร็ด ไดมอนด์ ก็ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่คล้าย ๆ กัน [112]
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 ที่ทำเนียบขาว ได้ออกอาการตอบสนองอย่างเป็นทางการในข้ออุทธรณ์ทั้งสองที่ได้ขอให้ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้มีมติที่จะรับทราบอย่างเป็นทางการว่ามนุษย์ต่างดาวเคยมาเยือนโลกและการเปิดเผยใด ๆ ที่จะพยายามระงับความมุ่งหมายของทางรัฐบาลกับการมีปฏิสัมพันธ์ของรัฐบาลกับมนุษย์ต่างดาว สอดคล้องกับการตอบสนองของ "รัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่า ไม่มีชีวิตใด ๆ อยู่ภายนอกโลกของเรา, หรือว่ามีการปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกของเผ่าพันธุ์มนุษย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น [113][114] นอกจากนี้จากผลสะท้อนจากการตอบสนองที่มีจากประชาชน คือ "ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถืออันใดเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าหลักฐานใด ๆ จะถูกซ่อนเร้นไปจากสายตาของประชาชนไปได้" เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 2015 ฮอว์คิงและมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ยูริ เมลเนอร์ (Yuri Milner) พร้อมด้วยสถาบัน SETI (SETI Institute) ได้ประกาศความพยายามที่ได้รับทุนสนับสนุนอย่างดี เรียกว่า Breakthrough Initiatives หรือ การริเริ่มความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่ง เพื่อขยายความพยายามในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
การตอบสนองของรัฐบาล
[แก้]สนธิสัญญาอวกาด้านนอก (Outer Space Treaty) ปี 1967 และ ความตกลงจันทรา (Moon Agreement) ปี 1979 ได้มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวการปกป้องพิทักษ์ดาวเคราะห์ (planetary protection) จากสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่อาจเป็นภัยอันตรายคุกคามต่อโลกของเราและดาวเคราะห์ต่างๆ ขึ้น คณะกรรมาธิการว่าด้วยการวิจัยด้านอวกาศ หรือ COSPAR ยังได้ให้ข้อกำหนดแนวทางในการปกป้องคุ้มครองดาวเคราะห์ต่างๆ ไว้ด้วย [115]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Griffin, Dale Warren (14 August 2013). "The Quest for Extraterrestrial Life: What About the Viruses?". Astrobiology (journal). 13 (8): 774–783. Bibcode:2013AsBio..13..774G. doi:10.1089/ast.2012.0959. สืบค้นเมื่อ 6 September 2013.
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/306565
- ↑ http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/01/X7463445/X7463445.html
- ↑ http://tarnhatai.igetweb.com/?mo=3&art=464568
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
- ↑ http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/527-dione
- ↑ Davies, Paul (18 November 2013). "Are We Alone in the Universe?". New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
- ↑ Overbye, Dennis (January 6, 2015). "As Ranks of Goldilocks Planets Grow, Astronomers Consider What's Next". New York Times. สืบค้นเมื่อ January 6, 2015.
- ↑ BBC News - Scientists in US are urged to seek contact with aliens
- ↑ Brad Steiger; John White, บ.ก. (1986). Other Worlds, Other Universes. Health Research Books. p. 3. ISBN 0-7873-1291-6.
- ↑ Filkin, David; Hawking, Stephen W. (1998). Stephen Hawking's universe: the cosmos explained. Art of Mentoring Series. Basic Books. p. 194. ISBN 0-465-08198-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- ↑ Rauchfuss, Horst (2008). Chemical Evolution and the Origin of Life. T. N. Mitchell. Springer. ISBN 3-540-78822-0
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Gonzalez, Guillermo; Richards, Jay Wesley (2004). The privileged planet: how our place in the cosmos is designed for discovery. Regnery Publishing. pp. 343–345. ISBN 0-89526-065-4.
- ↑ 14.0 14.1 Moskowitz, Clara (29 March 2012). "Life's Building Blocks May Have Formed in Dust Around Young Sun". Space.com. สืบค้นเมื่อ 30 March 2012.
- ↑ Redfern, Martin (2004-05-25). "Venus clouds 'might harbour life'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
- ↑ Coustenis, A.; และคณะ (March 2009). "TandEM: Titan and Enceladus mission". Experimental Astronomy. 23 (3): 893–946. Bibcode:2009ExA....23..893C. doi:10.1007/s10686-008-9103-z.
- ↑ Lovett, Richard A. (31 May 2011). "Enceladus named sweetest spot for alien life". Nature. Nature. doi:10.1038/news.2011.337. สืบค้นเมื่อ 2011-06-03.
- ↑ Torres, Abel Mendez (April 26, 2013). "Ten potentially habitable exoplanets now". Habitable Exoplanets Catalog. University of Puerto Rico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ April 29, 2013.
- ↑ 19.0 19.1 Overbye, Dennis (November 4, 2013). "Far-Off Planets Like the Earth Dot the Galaxy". New York Times. สืบค้นเมื่อ November 5, 2013.
- ↑ 20.0 20.1 Petigura, Eric A.; Howard, Andrew W.; Marcy, Geoffrey W. (October 31, 2013). "Prevalence of Earth-size planets orbiting Sun-like stars". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 110: 19273–19278. arXiv:1311.6806. Bibcode:2013PNAS..11019273P. doi:10.1073/pnas.1319909110. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ November 5, 2013.
- ↑ Khan, Amina (November 4, 2013). "Milky Way may host billions of Earth-size planets". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ November 5, 2013.
- ↑ Hoehler, Tori M.; Amend, Jan P.; Shock, Everett L. (2007). "A "Follow the Energy" Approach for Astrobiology". Astrobiology. 7 (6): 819–823. Bibcode:2007AsBio...7..819H. doi:10.1089/ast.2007.0207. ISSN 1531-1074.
- ↑ Jones, Eriita G.; Lineweaver, Charles H. (2010). "To What Extent Does Terrestrial Life "Follow The Water"?". Astrobiology. 10 (3): 349–361. Bibcode:2010AsBio..10..349J. doi:10.1089/ast.2009.0428. ISSN 1531-1074.
- ↑ Mix, Lucas John (2009). Life in space: astrobiology for everyone. Harvard University Press. p. 76. ISBN 0-674-03321-3. สืบค้นเมื่อ 2011-08-08.
- ↑ Pace, Norman R. (January 20, 2001). "The universal nature of biochemistry". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 98 (3): 805–808. Bibcode:2001PNAS...98..805P. doi:10.1073/pnas.98.3.805. PMC 33372. PMID 11158550.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 2016-02-12.
- ↑ http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads/libs/document/tranmembrane1_cb2d.ppt[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bond, Jade C.; O'Brien, David P.; Lauretta, Dante S. (June 2010). "The Compositional Diversity of Extrasolar Terrestrial Planets. I. In Situ Simulations". The Astrophysical Journal. 715 (2): 1050–1070. arXiv:1004.0971. Bibcode:2010ApJ...715.1050B. doi:10.1088/0004-637X/715/2/1050.
- ↑ Sagan, Carl; Agel, Jerome (2000). Carl Sagan's Cosmic Connection: an Extraterrestrial Perspective (2nd ed.). Cambridge U.P. p. 41. ISBN 0521783038.
- ↑ 30.0 30.1 Sagan, Carl (2000). Carl Sagan's Cosmic Connection: an Extraterrestrial Perspective (2nd ed.). Cambridge U.P. p. 46.
- ↑ Sagan, Carl (2000). Carl Sagan's Cosmic Connection: an Extraterrestrial Perspective (2nd ed.). Cambridge U.P. p. 47.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-07. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13.
- ↑ http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/sci/animalia5/summary.htm
- ↑ Dyches, Preston; Chou, Felcia (7 April 2015). "The Solar System and Beyond is Awash in Water". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-10. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
- ↑ Summons, Roger E.; Amend, Jan P.; Bish, David; Buick, Roger; Cody, George D.; Des Marais, David J.; Dromart, Gilles; Eigenbrode, Jennifer L.; และคณะ (2011). "Preservation of Martian Organic and Environmental Records: Final Report of the Mars Biosignature Working Group". Astrobiology. 11 (2): 157–81. Bibcode:2011AsBio..11..157S. doi:10.1089/ast.2010.0506. PMID 21417945.
There is general consensus that extant microbial life on Mars would probably exist (if at all) in the subsurface and at low abundance.
- ↑ Michalski, Joseph R.; Cuadros, Javier; Niles, Paul B.; Parnell, John; Deanne Rogers, A.; Wright, Shawn P. (2013). "Groundwater activity on Mars and implications for a deep biosphere". Nature Geoscience. 6 (2): 133–8. Bibcode:2013NatGe...6..133M. doi:10.1038/ngeo1706.
- ↑ "Habitability and Biology: What are the Properties of Life?". Phoenix Mars Mission. The University of Arizona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
If any life exists on Mars today, scientists believe it is most likely to be in pockets of liquid water beneath the Martian surface.
- ↑ Tritt, Charles S. (2002). "Possibility of Life on Europa". Milwaukee School of Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 10 August 2007.
- ↑ Kargel, Jeffrey S.; Kaye, Jonathan Z.; Head, James W.; Marion, Giles M.; Sassen, Roger; และคณะ (November 2000). "Europa's Crust and Ocean: Origin, Composition, and the Prospects for Life". Icarus. 148 (1): 226–265. Bibcode:2000Icar..148..226K. doi:10.1006/icar.2000.6471.
- ↑ Schulze-Makuch, Dirk; Irwin, Louis N. (2001). "Alternative Energy Sources Could Support Life on Europa" (PDF). Departments of Geological and Biological Sciences, University of Texas at El Paso. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 July 2006. สืบค้นเมื่อ 21 December 2007.
- ↑ O'Leary, Margaret R. (2008). Anaxagoras and the Origin of Panspermia Theory. iUniverse. ISBN 978-0-595-49596-2.
- ↑ Berzelius, Jöns Jacob (1834). "Analysis of the Alais meteorite and implications about life in other worlds". Annalen der Chemie und Pharmacie. 10: 134–135.
- ↑ Thomson, William (August 1871). "The British Association Meeting at Edinburgh". Nature. 4 (92): 262. Bibcode:1871Natur...4..261.. doi:10.1038/004261a0.
We must regard it as probably to the highest degree that there are countless seed-bearing meteoritic stones moving through space.
- ↑ Demets, René (October 2012). "Darwin's Contribution to the Development of the Panspermia Theory". Astrobiology. 12 (10): 946–950. doi:10.1089/ast.2011.0790. PMID 23078643.
- ↑ Arrhenius, Svante (March 1908). Worlds in the Making: The Evolution of the Universe. trans. H. Borns. Harper & Brothers. OCLC 1935295.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2017-08-16.
- ↑ Hoyle, Fred; Wickramasinghe, Chandra; Watson, John (1986). Viruses from Space and Related Matters (PDF). University College Cardiff Press. Bibcode:1986vfsr.book.....H. ISBN 978-0-906449-93-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 2017-08-16.
- ↑ Crick, F. H.; Orgel, L. E. (1973). "Directed Panspermia". Icarus. 19: 341–348. Bibcode:1973Icar...19..341C. doi:10.1016/0019-1035(73)90110-3.
- ↑ Orgel, L. E.; Crick, F. H. (January 1993). "Anticipating an RNA world. Some past speculations on the origin of life: Where are they today?". FASEB Journal. 7 (1): 238–239. PMID 7678564.
- ↑ Redd, Nola Taylor (2012-11-17). "How Hot is Venus?". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
- ↑ Clark, Stuart (26 September 2003). "Acidic clouds of Venus could harbour life". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ Redfern, Martin (25 May 2004). "Venus clouds 'might harbour life'". BBC News. Retrieved 30 December 2015.
- ↑ Dartnell, Lewis R.; Nordheim, Tom Andre; Patel, Manish R.; Mason, Jonathon P.; และคณะ (September 2015). "Constraints on a potential aerial biosphere on Venus: I. Cosmic rays". Icarus. 257: 396–405. Bibcode:2015Icar..257..396D. doi:10.1016/j.icarus.2015.05.006.
- ↑ "Did the Early Venus Harbor Life? (Weekend Feature)". The Daily Galaxy. 2 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ "Was Venus once a habitable planet?". European Space Agency. 24 June 2010. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ Atkinson, Nancy (24 June 2010). "Was Venus once a waterworld?". Universe Today. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ Bortman, Henry (26 August 2004). "Was Venus Alive? 'The Signs are Probably There'". Space.com. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ Greaves, Jane S. (14 September 2020). "Phosphine gas in the cloud decks of Venus". Nature Astronomy. arXiv:2009.06593. Bibcode:2020NatAs.tmp..178G. doi:10.1038/s41550-020-1174-4. S2CID 221655755. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ Stirone, Shannon; Chang, Kenneth; Overbye, Dennis (14 September 2020). "Life on Venus? Astronomers See a Signal in Its Clouds - The detection of a gas in the planet's atmosphere could turn scientists' gaze to a planet long overlooked in the search for extraterrestrial life". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ Ojha, L.; Wilhelm, M. B.; Murchie, S. L.; McEwen, A. S.; Wray, J. J.; Hanley, J.; Massé, M.; Chojnacki, M. (2015). "Spectral evidence for hydrated salts in recurring slope lineae on Mars". Nature Geoscience. 8: 829–832. Bibcode:2015NatGe...8..829O. doi:10.1038/ngeo2546.
- ↑ "Top 10 Places To Find Alien Life : Discovery News". News.discovery.com. 2010-06-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-06-13.
- ↑ "Water 'flowed recently' on Mars". BBC News. 6 December 2006. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- ↑ Baldwin, Emily (26 April 2012). "Lichen survives harsh Mars environment". Skymania News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
- ↑ de Vera, J.-P.; Kohler, Ulrich (26 April 2012). "The adaptation potential of extremophiles to Martian surface conditions and its implication for the habitability of Mars" (PDF). European Geosciences Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-08. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
- ↑ Chang, Kenneth (9 December 2013). "On Mars, an Ancient Lake and Perhaps Life". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
- ↑ "Science – Special Collection – Curiosity Rover on Mars". Science. 9 December 2013. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
- ↑ Küppers, M.; O'Rourke, L.; Bockelée-Morvan, D.; Zakharov, V.; Lee, S.; Von Allmen, P.; Carry, B.; Teyssier, D.; Marston, A.; Müller, T.; Crovisier, J.; Barucci, M. A.; Moreno, R. (2014-01-23). "Localized sources of water vapour on the dwarf planet (1) Ceres". Nature. 505 (7484): 525–527. Bibcode:2014Natur.505..525K. doi:10.1038/nature12918. ISSN 0028-0836. PMID 24451541.
- ↑ Campins, H.; Comfort, C. M. (23 January 2014). "Solar system: Evaporating asteroid". Nature. 505 (7484): 487–488. Bibcode:2014Natur.505..487C. doi:10.1038/505487a. PMID 24451536.
- ↑ A'Hearn, Michael F.; Feldman, Paul D. (1992). "Water vaporization on Ceres". Icarus. 98 (1): 54–60. Bibcode:1992Icar...98...54A. doi:10.1016/0019-1035(92)90206-M.
- ↑ "A. Duffy – Cosmos – What on Ceres are those bright spots?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
- ↑ Rivkin, Andrew (21 July 2015). "Dawn at Ceres: A haze in Occator crater?". The Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 2015-07-24.
- ↑ Than, Ker (13 September 2005). "Scientists Reconsider Habitability of Saturn's Moon". Space.com.
- ↑ Britt, Robert Roy (28 July 2006). "Lakes Found on Saturn's Moon Titan". Space.com.
- ↑ "Lakes on Titan, Full-Res: PIA08630". 24 July 2006.
- ↑ "What is Consuming Hydrogen and Acetylene on Titan?". NASA/JPL. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 6 June 2010.
- ↑ Strobel, Darrell F. (2010). "Molecular hydrogen in Titan's atmosphere: Implications of the measured tropospheric and thermospheric mole fractions". Icarus. 208 (2): 878–886. Bibcode:2010Icar..208..878S. doi:10.1016/j.icarus.2010.03.003.
- ↑ McKay, C. P.; Smith, H. D. (2005). "Possibilities for methanogenic life in liquid methane on the surface of Titan". Icarus. 178 (1): 274–276. Bibcode:2005Icar..178..274M. doi:10.1016/j.icarus.2005.05.018.
- ↑ "Humanoid Alyoshenka is a viction of Abortion" (รัสเซีย)
- ↑ ["Dropa Stones (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-05. Dropa Stones (อังกฤษ)]
- ↑ Loeb, Abraham (October 2014). "The Habitable Epoch of the Early Universe". International Journal of Astrobiology. 13 (04): 337–339. arXiv:1312.0613. Bibcode:2014IJAsB..13..337L. doi:10.1017/S1473550414000196. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ 81.0 81.1 Crenson, Matt (6 August 2006). "Experts: Little Evidence of Life on Mars". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2011. สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.
- ↑ 82.0 82.1 McKay DS, Gibson EK, ThomasKeprta KL, Vali H, Romanek CS, Clemett SJ, Chillier XDF, Maechling CR, Zare RN (1996). "Search for past life on Mars: Possible relic biogenic activity in Martian meteorite ALH84001". Science. 273 (5277): 924–930. Bibcode:1996Sci...273..924M. doi:10.1126/science.273.5277.924. PMID 8688069.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ McKay DS, Thomas-Keprta KL, Clemett, SJ, Gibson, EK Jr, Spencer L, Wentworth SJ (2009). Hoover, Richard B; Levin, Gilbert V; Rozanov, Alexei Y; Retherford, Kurt D (บ.ก.). "Life on Mars: new evidence from martian meteorites". Proc. SPIE. Proceedings of SPIE. 7441 (1): 744102. doi:10.1117/12.832317. สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.
{{cite journal}}
:|display-editors=4
ไม่ถูกต้อง (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Webster, Guy (27 February 2014). "NASA Scientists Find Evidence of Water in Meteorite, Reviving Debate Over Life on Mars". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
- ↑ White, Lauren M.; Gibson, Everett K.; Thomnas-Keprta, Kathie L.; Clemett, Simon J.; McKay, David (19 February 2014). "Putative Indigenous Carbon-Bearing Alteration Features in Martian Meteorite Yamato 000593". Astrobiology. 14 (2): 170–181. Bibcode:2014AsBio..14..170W. doi:10.1089/ast.2011.0733. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
- ↑ Gannon, Megan (28 February 2014). "Mars Meteorite with Odd 'Tunnels' & 'Spheres' Revives Debate Over Ancient Martian Life". Space.com. สืบค้นเมื่อ 28 February 2014.
- ↑ 87.0 87.1 Chambers, Paul (1999). Life on Mars; The Complete Story. London: Blandford. ISBN 0-7137-2747-0.
- ↑ Klein, Harold P.; Levin, Gilbert V.; Levin, Gilbert V.; Oyama, Vance I.; Lederberg, Joshua; Rich, Alexander; Hubbard, Jerry S.; Hobby, George L.; Straat, Patricia A.; Berdahl, Bonnie J.; Carle, Glenn C.; Brown, Frederick S.; Johnson, Richard D. (1976-10-01). "The Viking Biological Investigation: Preliminary Results". Science. 194 (4260): 99–105. Bibcode:1976Sci...194...99K. doi:10.1126/science.194.4260.99. PMID 17793090. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ Beegle, Luther W.; Wilson, Michael G.; Abilleira, Fernando; Jordan, James F.; Wilson, Gregory R. (August 2007). "A Concept for NASA's Mars 2016 Astrobiology Field Laboratory". Astrobiology. 7 (4): 545–577. Bibcode:2007AsBio...7..545B. doi:10.1089/ast.2007.0153. PMID 17723090. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
- ↑ "ExoMars rover". ESA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2014-04-14.
- ↑ Berger, Brian (2005). "Exclusive: NASA Researchers Claim Evidence of Present Life on Mars".
- ↑ "Discovery of OGLE 2005-BLG-390Lb, the first cool rocky/icy exoplanet". IAP.fr. 25 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-01-07.
- ↑ SPACE.com – Major Discovery: New Planet Could Harbor Water and Life
- ↑ Aguirre, L. (1 July 2008). "The Drake Equation". Nova ScienceNow. PBS. สืบค้นเมื่อ 7 March 2010.
- ↑ Who discovered that the Sun was a Star? Stanford Solar Center.
- ↑ http://www.jomvphd2.com/contact-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87/
- ↑ http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.rabblerousetheworld.com/wp-content/uploads/2011/11/Contact_Movie_Poster_by_Ditroi.jpg&imgrefurl=http://alissmovie.blogspot.com/2012/10/contact-hd.html&h=720&w=556&tbnid=mn63Ze_ojVpOqM:&zoom=1&tbnh=186&tbnw=143&usg=__QqWVsVp9Jt9zBVOv8qGAXWPLXfg=&docid=PLiD8NommaD9zM&itg=1
- ↑ "Star Struck, a letter to a Rabbi". ohr.edu.
- ↑ Kaplan, Rabbi Aryeh. "Extraterrestrial life". torah.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ Conversations on the Plurality of Worlds— Bernard le Bovier de Fontenelle
- ↑ http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/paradigm/01.html
- ↑ "Giordano Bruno: On the Infinite Universe and Worlds (De l'Infinito Universo et Mondi) Introductory Epistle: Argument of the Third Dialogue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-13. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
- ↑ "Rheita.htm". cosmovisions.com.
- ↑ Evans, J. E. and Maunder, E. W. (1903) "Experiments as to the Actuality of the 'Canals' observed on Mars", MNRAS, 63 (1903) 488
- ↑ Wallace, Alfred Russel (1907). Is Mars Habitable? A Critical Examination of Professor Lowell's Book "Mars and Its Canals," With an Alternative Explanation. London: Macmillan. OCLC 8257449.
- ↑ Chambers, Paul (1999). Life on Mars; The Complete Story. London: Blandford. ISBN 978-0-7137-2747-0.
- ↑ Cross, Anne (2004). "The Flexibility of Scientific Rhetoric: A Case Study of UFO Researchers". Qualitiative Sociology. 27 (1): 3–34. doi:10.1023/B:QUAS.0000015542.28438.41.
- ↑ Ailleris, Philippe (January–February 2011). "The lure of local SETI: Fifty years of field experiments". Acta Astronautica. 68 (1–2): 2–15. Bibcode:2011AcAau..68....2A. doi:10.1016/j.actaastro.2009.12.011.
- ↑ "LECTURE 4: MODERN THOUGHTS ON EXTRATERRESTRIAL LIFE". The University of Antarctica. สืบค้นเมื่อ 2015-07-25.
- ↑ Amazon.com: Rare Earth: Why Complex Life is Uncommon in the Universe: Books: Peter Ward, Donald Brownlee
- ↑ "Hawking warns over alien beings". BBC News. 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ Diamond, Jared. "The Third Chimpanzee", Harper Perennial, 2006, Chapter 12.
- ↑ Larson, Phil (5 November 2011). "Searching for ET, But No Evidence Yet". White House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-24. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- ↑ Atkinson, Nancy (5 November 2011). "No Alien Visits or UFO Coverups, White House Says". UniverseToday. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06.
- ↑ Matignon, Louis (29 May 2019). "The French anti-UFO Municipal Law of 1954". Space Legal Issues. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Baird, John C. (1987). The Inner Limits of Outer Space: A Psychologist Critiques Our Efforts to Communicate With Extraterrestrial Beings. Hanover: University Press of New England. ISBN 0-87451-406-1.
- Cohen, Jack; Stewart, Ian (2002). Evolving the Alien: The Science of Extraterrestrial Life. Ebury Press. ISBN 0-09-187927-2.
- Crowe, Michael J. (1986). The Extraterrestrial Life Debate, 1750–1900. Cambridge. ISBN 0-521-26305-0.
- Crowe, Michael J. (2008). The extraterrestrial life debate Antiquity to 1915: A Source Book. University of Notre Dame Press. ISBN 0-268-02368-9.
- Dick, Steven J. (1984). Plurality of Worlds: The Extraterrestrial Life Debate from Democratis to Kant. Cambridge.
- Dick, Steven J. (1996). The Biological Universe: The Twentieth Century Extraterrestrial Life Debate and the Limits of Science. Cambridge. ISBN 0-521-34326-7.
- Dick, Steven J. (2001). Life on Other Worlds: The 20th Century Extraterrestrial Life Debate. Cambridge. ISBN 0-521-79912-0.
- Dick, Steven J.; Strick, James E. (2004). The Living Universe: NASA And the Development of Astrobiology. Rutgers. ISBN 0-8135-3447-X.
- Fasan, Ernst (1970). Relations with alien intelligences – the scientific basis of metalaw. Berlin: Berlin Verlag.
- Goldsmith, Donald (1997). The Hunt for Life on Mars. New York: A Dutton Book. ISBN 0-525-94336-6.
- Grinspoon, David (2003). Lonely Planets: The Natural Philosophy of Alien Life. HarperCollins. ISBN 0-06-018540-6.
- Lemnick, Michael T. (1998). Other Worlds: The Search for Life in the Universe. New York: A Touchstone Book.
- Michaud, Michael (2006). Contact with Alien Civilizations – Our Hopes and Fears about Encountering Extraterrestrials. Berlin: Springer. ISBN 0-387-28598-9.
- Pickover, Cliff (2003). The Science of Aliens. New York: Basic Books. ISBN 0-465-07315-8.
- Roth, Christopher F. (2005). Debbora Battaglia (บ.ก.). Ufology as Anthropology: Race, Extraterrestrials, and the Occult. E.T. Culture: Anthropology in Outerspaces. Durham, NC: Duke University Press.
- Sagan, Carl; Shklovskii, I. S. (1966). Intelligent Life in the Universe. Random House.
- Sagan, Carl (1973). Communication with Extraterrestrial Intelligence. MIT Press. ISBN 0-262-19106-7.
- Ward, Peter D. (2005). Life as we do not know it-the NASA search for (and synthesis of) alien life. New York: Viking. ISBN 0-670-03458-4.
- Tumminia, Diana G. (2007). Alien Worlds – Social and Religious Dimensions of Extraterrestrial Contact. Syracuse: Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-0858-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Extraterrestrial Intelligence in the Solar System: Resolving the Fermi Paradox by Robert A. Freitas Jr.
- 'Is There Anybody Out There?' Freeview video by the Vega Science Trust and the BBC/OU.
- PBS: Life Beyond Earth a film by Timothy Ferris
- PBS: Exploring Space – The Quest for Life by Scott Pearson
- Xenopsychology" by Robert A. Freitas Jr.
- "What Aliens Might Look Like" from National Geographic Channel
- Top stars picked in alien search, from BBC News
- Taiwan's Museum of Alien Studies: a new view of the extraterrestrial เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, from Erenlai
- ภาพยนตร์สั้น "Who's Out There? (1975)" NASA สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- Tanzella-Nitti, Giuseppe. "Extraterrestrial Life". สืบค้นเมื่อ 23 April 2012.
- "Is it true that there could be intelligent life out there?". physics.org. สืบค้นเมื่อ 2 November 2012.
- Minerals and the Origins of Life (Robert Hazen, NASA) (video, 60m, April 2014).
- "Search for Life in the Universe" (NASA) (video, 87m, July 14, 2014).