เขตหนองจอก
เขตหนองจอก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Nong Chok |
สวนสาธารณะหนองจอก | |
คำขวัญ: หนองจอกกว้างใหญ่ ก้าวไกลเกษตรกรรม ธรรมชาติน้อมนำ พหุวัฒนธรรมสามัคคี | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหนองจอก | |
พิกัด: 13°51′20″N 100°51′45″E / 13.85556°N 100.86250°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 236.261 ตร.กม. (91.221 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 184,138[1] คน |
• ความหนาแน่น | 779.38 คน/ตร.กม. (2,018.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10530 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1003 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 16 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530 |
เว็บไซต์ | www |
หนองจอก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยมุสลิมบางส่วนและมีมัสยิดอยู่เป็นจำนวนมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตหนองจอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวเส้นตรงจากคลองเก้าไปบรรจบคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่ คลองแสนแสบ คลองบึงทองหลางเฒ่า คลองนครเนื่องเขต และคลองหลวงแพ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองลำตาแฟง คลองลำตาอิน คลองกระทุ่มล้ม คลองลำพะอง คลองลำปลาทิว (คลองขุดใหม่) คลองลำมะขาม และคลองลำกอไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตคลองสามวา มีคลองลำนกแขวก คลองลำต้นไทร คลองลำหินฝั่งใต้ คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ ลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแสนแสบ คลองลัดตาเตี้ย คลองแบนชะโด และคลองเก้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]เดิมเขตหนองจอกมีฐานะเป็น อำเภอหนองจอก ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานพวกแรก ๆ เป็นชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากหัวเมืองภาคใต้ โดยตั้งชุมชนตามแนวคลองแสนแสบซึ่งได้มีการขุดลอกขยายคลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] รวมทั้งชาวมอญ จีน ลาว เขมร และอีก 5 ปีต่อมา (พ.ศ. 2445) อำเภอหนองจอกก็ได้มาขึ้นอยู่กับเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นหัวเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในมณฑลกรุงเทพ[4]
ต่อมา เกิดสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการ ใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีจึงถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร ส่วนอำเภอหนองจอกถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา[5] แต่เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและการติดต่อระหว่างกัน ในปีถัดมา (พ.ศ. 2475) ทางราชการจึงได้ย้ายอำเภอหนองจอกมาเป็นเขตการปกครองในจังหวัดพระนคร[6]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[7] อำเภอหนองจอกจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองจอก นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตหนองจอกแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 8 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
กระทุ่มราย | Krathum Rai | 38.132 |
41,193 |
1,080.27 |
|
2. |
หนองจอก | Nong Chok | 29.992 |
24,218 |
807.48
| |
3. |
คลองสิบ | Khlong Sip | 30.849 |
9,611 |
311.55
| |
4. |
คลองสิบสอง | Khlong Sip Song | 38.867 |
12,175 |
313.25
| |
5. |
โคกแฝด | Khok Faet | 22.524 |
35,046 |
1,555.94
| |
6. |
คู้ฝั่งเหนือ | Khu Fang Nuea | 17.750 |
18,222 |
1,026.59
| |
7. |
ลำผักชี | Lam Phak Chi | 33.358 |
33,816 |
1,013.73
| |
8. |
ลำต้อยติ่ง | Lam Toiting | 24.789 |
9,857 |
397.52
| |
ทั้งหมด | 236.261 |
184,138 |
779.38
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตหนองจอก[8] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 64,175 | ไม่ทราบ |
2536 | 65,668 | +1,493 |
2537 | 68,391 | +2,723 |
2538 | 70,801 | +2,410 |
2539 | 75,198 | +4,397 |
2540 | 79,585 | +4,387 |
2541 | 84,481 | +4,896 |
2542 | 88,095 | +3,614 |
2543 | 92,180 | +4,085 |
2544 | 97,381 | +5,201 |
2545 | 102,564 | +5,183 |
2546 | 109,789 | +7,225 |
2547 | 117,388 | +7,599 |
2548 | 126,126 | +8,738 |
2549 | 133,415 | +7,289 |
2550 | 138,667 | +5,252 |
2551 | 143,675 | +5,008 |
2552 | 147,668 | +3,993 |
2553 | 151,292 | +3,624 |
2554 | 154,371 | +3,079 |
2555 | 157,224 | +2,853 |
2556 | 159,962 | +2,738 |
2557 | 162,598 | +2,636 |
2558 | 165,281 | +2,683 |
2559 | 167,844 | +2,563 |
2560 | 170,643 | +2,799 |
2561 | 172,990 | +2,347 |
2562 | 176,022 | +3,032 |
2563 | 177,979 | +1,957 |
2564 | 178,856 | +877 |
2565 | 181,367 | +2,511 |
2566 | 184,138 | +2,771 |
การคมนาคม
[แก้]เส้นทางถนนสายหลักในพื้นที่เขตหนองจอก ได้แก่
|
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
นอกจากนั้นยังมีลำคลองสายต่างๆ เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญมาแต่โบราณอีกด้วย เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์แต่เดิมมาของพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการจัดรูปการบริหารเป็นเขตหนองจอก มีลำคลองขุดเช่น คลองเก้า คลองสิบ จนถึงคลองสิบสี่ขุดผ่าน และมีคลองลัดตัดเชื่อมระหว่างลำคลองสายหลักในลักษณะก้างปลาอย่างทั่วถึง
สถานที่สำคัญ
[แก้]- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- บางกอกอารีนา
- ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คลองเก้า ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการของทั้งสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานคร
- สถานที่ท่องเที่ยว อาทิ ตลาดเก่าร้อยปี วัดสีชมพู แหล่งเที่ยวชมค้างคาวแม่ไก่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 21 กันยายน 2552.
- ↑ 3.0 3.1 สำนักงานเขตหนองจอก. "ประวัติความเป็นมา". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001037&strSection=aboutus&intContentID=313[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงนครบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (23): 464. 7 กันยายน 2445.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-28.
- ↑ "พระราชบัญญัติโอนการปกครองอำเภอหนองจอกมาขึ้นจังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๗๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49: 763–764. 26 มีนาคม 2475.
- ↑ 7.0 7.1 ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. "วิวัฒนาการของกรุงเทพมหานคร". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.230/passbkk/frame.asp เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.