เขตตลิ่งชัน
เขตตลิ่งชัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Taling Chan |
ถนนบรมราชชนนีในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน | |
คำขวัญ: คู่ขนานลอยฟ้า พาสู่ตลิ่งชัน เขตขัณฑ์ไม้งาม ตลาดน้ำขึ้นชื่อ เลื่องลือประเพณีชักพระ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตตลิ่งชัน | |
พิกัด: 13°46′37″N 100°27′24″E / 13.77694°N 100.45667°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 29.479 ตร.กม. (11.382 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 101,330[1] คน |
• ความหนาแน่น | 3,437.36 คน/ตร.กม. (8,902.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1019 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 333 ถนนชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 |
เว็บไซต์ | www |
ตลิ่งชัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตตลิ่งชันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฝั่งธนบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย มีคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางขุนศรีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญและเขตบางแค มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทวีวัฒนา มีถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรีมีชื่อว่า อำเภอตลิ่งชัน ตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณคลองบางกอกน้อย ตำบลบางบำหรุ ท้องที่อำเภอบางกอกน้อย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ปากคลองวัดไก่เตี้ย ริมคลองบางกอกน้อย และใน พ.ศ. 2457 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ริมทางรถไฟสายใต้ ตำบลคลองชักพระ
ตำบลคลองชักพระเป็นตำบลเดียวของอำเภอตลิ่งชันที่อยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2479) แต่เนื่องจากอำเภอตลิ่งชันมีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งตำบลทวีวัฒนาแยกจากตำบลศาลาธรรมสพน์ใน พ.ศ. 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลตลิ่งชันครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันใน พ.ศ. 2504 รวมทั้งตั้งตำบลบางพรมขึ้นโดยแยกพื้นที่จากตำบลบางเชือกหนังใน พ.ศ. 2512 และตั้งตำบลฉิมพลีแยกพื้นที่จากตำบลตลิ่งชันใน พ.ศ. 2513 อำเภอตลิ่งชันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล และประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง[2]
ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอตลิ่งชันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตตลิ่งชัน ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวงตามไปด้วย จนกระทั่งในใน พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งออกไปจัดตั้งเป็นเขตใหม่คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ โดยผลไม้ดั้งเดิมชนิดหนึ่งของที่นี่คือมะเฟือง[3] ในปัจจุบันเริ่มมีการสร้างบ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังสัญจรไปมาทางน้ำโดยการใช้เรืออยู่[4]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตตลิ่งชันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
คลองชักพระ | Khlong Chak Phra | 1.251 |
9,560 |
7,641.89 |
|
2. |
ตลิ่งชัน | Taling Chan | 5.183 |
23,385 |
4,511.87
| |
3. |
ฉิมพลี | Chimphli | 7.338 |
23,238 |
3,166.80
| |
4. |
บางพรม | Bang Phrom | 4.253 |
13,045 |
3,067.25
| |
5. |
บางระมาด | Bang Ramat | 8.539 |
20,059 |
2,349.10
| |
7. |
บางเชือกหนัง | Bang Chueak Nang | 2.915 |
12,043 |
4,131.39
| |
ทั้งหมด | 29.479 |
101,330 |
3,437.36
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตทวีวัฒนา
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตตลิ่งชัน[5] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 123,477 | ไม่ทราบ |
2536 | 130,425 | +6,948 |
2537 | 135,100 | +4,675 |
2538 | 137,827 | +2,727 |
2539 | 142,090 | +4,263 |
2540 | 145,490 | +3,400 |
2541 | 98,550 | แบ่งเขต |
2542 | 99,695 | +1,145 |
2543 | 100,509 | +814 |
2544 | 101,600 | +1,091 |
2545 | 103,020 | +1,420 |
2546 | 104,254 | +1,234 |
2547 | 104,679 | +425 |
2548 | 105,730 | +1,051 |
2549 | 106,811 | +1,081 |
2550 | 107,812 | +1,001 |
2551 | 107,513 | -299 |
2552 | 106,963 | -550 |
2553 | 106,753 | -210 |
2554 | 106,786 | +33 |
2555 | 106,532 | -254 |
2556 | 106,192 | -340 |
2557 | 105,857 | -335 |
2558 | 105,613 | -244 |
2559 | 105,289 | -324 |
2560 | 105,299 | +10 |
2561 | 105,047 | -252 |
2562 | 104,779 | -268 |
2563 | 103,617 | -1,162 |
2564 | 102,469 | -1,148 |
2565 | 101,802 | -667 |
2566 | 101,330 | -472 |
ประเพณี
[แก้]เขตตลิ่งชันมีประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดมายาวนานคือประเพณีชักพระ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 หรือหลังวันลอยกระทง 2 วัน ประเพณีนี้อยู่ในคำขวัญประจำเขตว่า "คู่ขนานลอยฟ้า พาสู่ตลิ่งชัน เขตขัณฑ์ไม้งาม ตลาดน้ำขึ้นชื่อ เลื่องลือประเพณีชักพระ"[6]
การคมนาคม
[แก้]ทางบก
[แก้]ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 5 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 และทางพิเศษประจิมรัถยา
ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ ถนนปากน้ำฝั่งเหนือ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก
ทางน้ำ
[แก้]- คลองบางกอกน้อย
- คลองมหาสวัสดิ์
- คลองชักพระ
- คลองบางระมาด
- คลองบางพรม
- คลองบางน้อย
- คลองบางเชือกหนัง
- คลองมอญ
ทางราง
[แก้]- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
สถานที่สำคัญ
[แก้]เขตตลิ่งชันมีตลาดน้ำอยู่หลายแห่ง คือ ตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดจำปา และตลาดน้ำวัดสะพาน[7]
วัดในเขตตลิ่งชันมีอายุเก่าแก่ขึ้นไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ดังปรากฏหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้นที่วัดแก้วและวัดสะพาน ศิลปะวัตถุในสมัยอยุธยาตอนกลางถึงปลาย ได้แก่ วัดตลิ่งชัน วัดมณฑป วัดทองฉิมพลี วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร วัดแก้ว วัดเทพพล วัดอินทราวาส วัดเพลง (กลางสวน) วัดสะพาน วัดพิกุล วัดนครป่าหมาก และวัดน้อยใน ทว่าวัดเหล่านี้ได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างหนักจนแทบไม่เหลือเค้าศิลปะอยุธยา[8]
สถานที่ราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) (สายใต้) เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 2
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ได้แก่ สวนน้ำตลิ่งชัน และสวนมณฑลภิรมย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ ประวัติความเป็นมา[ลิงก์เสีย]
- ↑ OB'Road 13 01 58 เบรก 2
- ↑ OB'Road 13 01 58 เบรก 1
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ "เล่าอดีตสู่ปัจจุบัน 115 ปีตลิ่งชัน". ไทยรัฐ.
- ↑ "ชอป ชิมทัวร์ 5 ตลาดน้ำย่านตลิ่งชัน". สนุก.คอม.
- ↑ "ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า (ก่อน) กรุงเทพฯ".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตตลิ่งชัน
- แผนที่เขตตลิ่งชัน เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน