ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลบึงสำโรง

พิกัด: 15°41′40″N 102°12′32″E / 15.69444°N 102.20889°E / 15.69444; 102.20889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทศบาลตำบลบึงสำโรง)
ตำบลบึงสำโรง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Bueng Samrong
ตำบลบึงสำโรงตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ตำบลบึงสำโรง
ตำบลบึงสำโรง
ที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา
พิกัด: 15°41′40″N 102°12′32″E / 15.69444°N 102.20889°E / 15.69444; 102.20889
ประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอแก้งสนามนาง
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด43 ตร.กม. (17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[2]
 • ทั้งหมด5,446 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30440
รหัสภูมิศาสตร์302305
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลบึงสำโรง
พิกัด: 15°41′40″N 102°12′32″E / 15.69444°N 102.20889°E / 15.69444; 102.20889
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอแก้งสนามนาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีพเยาว์ เพราะไธสง
รหัส อปท.05302301
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 59 หมู่ที่ 3 ตำบลบึงสำโรง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา 30440
โทรศัพท์0 4475 6270-1
เว็บไซต์www.bsr.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บึงสำโรง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล

ประวัติ

[แก้]

ตำบลบึงสำโรง เป็นตำบลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 จัดให้มีการเลือกตั้ง กำนันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531 บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งคือ นายกวี ซาตัน ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของตำบลบึงสำโรง ชื่อของ “ตำบลบึงสำโรง” ได้จัดตั้งมาจากชื่อของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ 1,102 ไร่ ที่ประชาชนในบริเวณนั้นเรียกว่า “หนองบึงสำโรง” เพราะมีต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำมีชื่อว่า “ต้นสำโรง” จึงตั้งเป็นชื่อแหล่งน้ำนี้ว่า “หนองบึงสำโรง” จึงเป็นบึงขนาดใหญ่ที่ใช้หล่อเลี้ยงประชาชนภายในเขตตำบลบึงสำโรงและตำบลใกล้เคียงใช้ในการอุปโภค-บริโภค และประกอบอาชีพประมงน้ำจืดได้ตลอดทั้งปี และปัจจุบันอยู่ในพื้นที่บ้านกุดปลาฉลาด

การปกครองของตำบลบึงสำโรงมีหมู่บ้านอยู่ในเขตการปกครองของสภาตำบลบึงสำโรง ทั้งหมด 9 หมู่บ้าน

  • แยกมาจากตำบลบึงพะไล จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 3 บ้านหนองโน หมู่ที่ 4 บ้านหัวหนอง
  • แยกมาจากตำบลแก้งสนามนาง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5 บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 6 บ้านกุดปลาฉลาด
  • แยกออกมาจากตำบลสีสุก จำนวน 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 บ้านโมกมัน หมู่ที่ 8 บ้านโนนอุดม
  • เมื่อปี พ.ศ. 2542 บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 5 ได้แยกพื้นที่หมู่บ้านออกมาอีก 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือใหม่

สาเหตุที่ตั้งตำบลขึ้นมาใหม่ก็เพื่อความสะดวกในการปกครองและพัฒนาตำบลบึงสำโรง จัดได้ว่าเป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติตำบลหนึ่ง ในเขตอำเภอแก้งสนามนาง กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลบึงสำโรง" เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลบึงสำโรง" เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลบึงสำโรงตั้งอยู่ในเขตอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 395 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 43 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ภูมิอากาศจะเป็นแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม–เดือนตุลาคม)

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลบึงสำโรงแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว
  • หมู่ที่ 2 บ้านโนนสะอาด
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองโน
  • หมู่ที่ 4 บ้านหัวหนอง
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองปรือ
  • หมู่ที่ 6 บ้านกุดปลาฉลาด
  • หมู่ที่ 7 บ้านโมกมัน
  • หมู่ที่ 8 บ้านโนนอุดม
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือใหม่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล

ศาสนา

[แก้]
  • ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 10 วัด
  • วัดศรีลำพอง บ้านหนองบัว
  • วัดโนนสะอาด บ้านโนนสะอาด
  • วัดบ้านหนองโน บ้านหนองโน
  • วัดป่าจตุพร บ้านหนองโน
  • วัดบ้านหัวหนอง บ้านหัวหนอง
  • วัดใหม่สามัคคีธรรม บ้านหนองปรือ
  • วัดบ้านกุดปลาฉลาด บ้านกุดปลาฉลาด
  • วัดป่าโมกอุดมพร บ้านโมกมัน
  • วัดทุ่งสว่างวณาราม บ้านโมกมัน
  • วัดสว่างอารมณ์ บ้านโนนอุดม
  • วัดหนองบัว หมู่ 1

การศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนบ้านกุดปลาฉลาดหนองปรือ
  • โรงเรียนบ้านหัวหนอง
  • โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราฎรสามัคคี)
  • โรงเรียนบ้านมูกมันโนนอุดมสามัคคี
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสะอาด แห่งที่ 1
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดปลาฉลาด แห่งที่ 2

อาชีพ

[แก้]

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ ร้อยละ 75 เช่น ทำไร่อ้อย ทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมีอาชีพ ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ ฯลฯ

ปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพเป็นวิสาหกิจชุมชนดังนี้

  • วิสาหกิจชุมชนเอ็นแฟต ผลิตอาหารสัตว์ใช้เฉาะกลุ่ม
  • วิสาหกิจชุมชนผลิตผักอินทรีย์
  • วิสาหกิจชุมชนผลิตสมุนไพร (ป้าทรัพย์)
  • วิสาหกิจชุมชน ผลิตสมุนไพร (นายต๊อก)
  • วิสาหกิจชุมชน ผลิตเห็ดตำบลบึงสำโรง

กลุ่มเกษตรกรมีดังนี้

  • กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำหาดไทรสูง

สาธารณูปโภค

[แก้]

การโทรคมนาคม

[แก้]

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 14 ตู้ (ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว) มีระบบอินเตอร์เท็ต จาก 3bb และ TOT เข้าถึงทุกหมู่บ้าน

การไฟฟ้า

[แก้]

เขตตำบลบึงสำโรงเป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกคือ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน

ระบบประปา

[แก้]

ประชาชนในตำบลบึงสำโรง ส่วนใหญ่ได้รับการบริการด้านการประปาจากการประปาหมู่บ้าน

การสาธารณสุข

[แก้]
  • สถานีอนามัยหัวหนอง

การคมนาคม

[แก้]

ปัจจุบันการคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลบึงสำโรง มีความสะดวกมากขึ้นเพราะได้รับการพัฒนาจากเทศบาลตำบลบึงสำโรง มีการก่อสร้างถนนคอนกรีตประมาณ 3500 เมตรเกือบเต็มพื้นที่ มีการบูรณะซ่อมแซมซ่อมแซมถนนลูกรังให้สามารถใช้งานได้ดี พร้อมทั้งถนนเกษตรกรรมมีการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่ดี เส้นทางการคมนาคมระหว่างตำบลกับอำเภอเป็นถนนลาดยาง (ถนนแก้งสนามนานางบ้านเหลื่อม)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สภาพทั่วไป". เทศบาลตำบลบึงสำโรง. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลบึงสำโรง". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]