ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครอุบลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครอุบลราชธานี
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: สถานีรถไฟอุบลราชธานี, ถนนผาแดง, ทุ่งศรีเมือง, พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5, ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครอุบลราชธานี
ตรา
สมญา: 
เมืองดอกบัวงาม, เมืองศรีเมืองมูล
คำขวัญ: 
รวมคนทุกชนชั้น สร้างสรรค์ทุกชุมชน ร่วมพัฒนานครอุบลราชธานี สู่มหานคร
ที่ตั้งเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีในจังหวัดอุบลราชธานี
ที่ตั้งเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีในจังหวัดอุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานีตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานี
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานีตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.อุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานี
ทน.อุบลราชธานี (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°13′41″N 104°51′34″E / 15.22806°N 104.85944°E / 15.22806; 104.85944
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
อำเภอเมืองอุบลราชธานี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีพิศทยา ไชยสงคราม
พื้นที่
 • ทั้งหมด29.04 ตร.กม. (11.21 ตร.ไมล์)
ความสูง125 เมตร (410 ฟุต)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด69,888 คน
 • ความหนาแน่น2,406.611 คน/ตร.กม. (6,233.09 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03340102
สนามบินท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์0 4524 6060
เว็บไซต์www.cityub.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำมูล มีพื้นที่ประมาณ 29 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล เป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากเทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครนครราชสีมา และเทศบาลนครขอนแก่น มีระยะทางจากกรุงเทพมหานครมาถึงตัวเมือง 615 กิโลเมตร[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 76,000 คน[3]

ประวัติ

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]

อุบลราชธานีเป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระวรราชปิตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ เหมือนดั่งใบบัวที่ไม่ยอมซึมซับรับรู้ ปล่อยให้หยดน้ำหยุดหยดกลิ้งกลอกหนีไปจนหมดสิ้น และอุบลราชธานีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศ เปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุมอุบลราชธานี

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

แต่เดิมนั้น ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี มิได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาลมาก่อน ท้องถิ่นจึงเข้าสู่ระบบการปกครองเป็นครั้งแรก โดยได้รับการสถาปนาเป็น เทศบาลเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 โดยผลของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 52 ตอนที่ 79 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 การจัดตั้งเทศบาลในขั้นต้น มีเนื้อที่ 1.65 ตารางกิโลเมตร ต่อมา เมื่อเมืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้มีการประกาศขยายเขตเทศบาลอีก 2 ครั้ง คือ ประกาศขยายเขตโดยพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2480 กับพระราชกฤษฎีกาขยายเขต พ.ศ. 2499 อันมีเนื้อที่ 5.30 ตารางกิโลเมตร เป็นครั้งแรก โดยประกาศขยายเขต ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เป็นครั้งที่ 2 โดยมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ ตำบลในเมือง พร้อมทั้งบางส่วนของตำบลแจระแม ตำบลขามใหญ่ ตำบลปทุม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "เทศบาลนครอุบลราชธานี" จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2542 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียมนครอุบลราชธานี

เทศบาลนครอุบลราชธานีตั้งอยู่ในอำเภอเมืองอุบลราชธานีและริมฝั่งแม่น้ำมูลทางทิศเหนือ มีพื้นที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

เทศบาลนครอุบลราชธานีแบ่งออกเป็น 4 เขต แต่ละเขตแบ่งออกเป็นชุมชน โดยมีชุนชนในเขตเทศบาลทั้งหมด 106 ชุมชน[4][5]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครอุบลราชธานี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.5
(97.7)
38.6
(101.5)
40.4
(104.7)
41.3
(106.3)
41.0
(105.8)
38.5
(101.3)
36.2
(97.2)
35.8
(96.4)
36.8
(98.2)
34.8
(94.6)
35.3
(95.5)
35.0
(95)
41.3
(106.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.5
(88.7)
33.6
(92.5)
35.6
(96.1)
36.2
(97.2)
34.6
(94.3)
32.9
(91.2)
32.3
(90.1)
31.6
(88.9)
31.5
(88.7)
31.4
(88.5)
30.7
(87.3)
30.0
(86)
32.66
(90.79)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.5
(76.1)
26.7
(80.1)
29.1
(84.4)
30.4
(86.7)
29.6
(85.3)
28.7
(83.7)
28.3
(82.9)
27.8
(82)
27.6
(81.7)
27.0
(80.6)
25.4
(77.7)
23.8
(74.8)
27.41
(81.34)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.4
(63.3)
19.7
(67.5)
22.5
(72.5)
24.5
(76.1)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.9
(75)
23.6
(74.5)
22.5
(72.5)
20.0
(68)
17.5
(63.5)
22.07
(71.72)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 8.5
(47.3)
11.7
(53.1)
10.3
(50.5)
15.9
(60.6)
19.4
(66.9)
20.2
(68.4)
20.0
(68)
20.2
(68.4)
20.5
(68.9)
15.7
(60.3)
13.0
(55.4)
8.5
(47.3)
8.5
(47.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 1.2
(0.047)
16.5
(0.65)
28.1
(1.106)
84.6
(3.331)
204.3
(8.043)
261.5
(10.295)
250.1
(9.846)
306.4
(12.063)
296.8
(11.685)
116.6
(4.591)
25.9
(1.02)
1.2
(0.047)
1,593.2
(62.724)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0.6 1.3 3.2 7.3 15.5 17.8 18.9 21.1 19.2 11.4 3.8 0.6 120.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 294.5 265.6 269.7 255.0 238.7 189.0 198.4 170.5 162.0 229.4 255.0 272.8 2,800.6
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization.[6]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (1961-1990, sun only),[7] NOAA (1961-1990, extremes)[8]

สัญลักษณ์

[แก้]
ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี

ดวงตราประจำเทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นรูปดอกบัวขนาดใหญ่เผยอกลีบบานอยู่เหนือน้ำ สองข้างประกอบด้วยดอกบัวตูก้านละดอกและใบก้าน และสองใบ ครอบคลุมด้วยรัศมีรูปครึ่งวงกลม ด้านล่างมีกรอบรูปรูปครึ่งวงกลม ภายในจารึกอักษรไทยว่า "เทศบาลนครอุบลราชธานี"

ความหมายย่อ
  • ดอกบัวบาน : อุบลราชธานีที่มีความเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะแผ่กระจายความดีงามไปทั่วปฐพี
  • ดอกบัวบานตูม : บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระวรราชภักดี และ พระตา ที่ได้นำท้องถิ่นแห่งนี้มาสู่ความเจริญโอบอุ้มชูมาแต่บรรพกาล
  • ใบบัว : ความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายมาแปดเปื้อน
  • รัศมีครึ่งวงกลม : ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความเป็นปราชญ์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่คุ้มครองชาวอุบลราชธานีตลอดกาล

การศึกษา

[แก้]

ต่อไปนี้คือ รายชื่อสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

การสาธารณสุข

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดิน

[แก้]
  • ถนนชยางกูร เริ่มต้นจากหลักกิโลเมตรที่ 0 (ตัดกับถนนสรรพสิทธิ์) ตัดผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอำนาจเจริญ ถึงจังหวัดนครพนม สร้างในสมัย "หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร" ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางอำนาจเจริญ ประมาณ พ.ศ. 2480-2487 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเป็นโอรสในพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต่อมาได้สถาปนาเป็น "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป" ต้นราชสกุล "ชยางกูร"
  • ถนนแจ้งสนิท เริ่มต้นจากถนนสรรพสิทธิ์ (แยกแขวงการทางอุบลราชธานีที่ 1) ผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น บรรจบกับถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) เริ่มสร้างในสมัย นายวิชิต แจ้งสนิท ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางยโสธร ประมาณ พ.ศ. 2481-2488

ทางหลวงท้องถิ่น

[แก้]
วงเวียนน้ำพุ

การคมนาคมทางบก (ถนนที่สำคัญในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี) การตั้งชื่อถนนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ถนนตามทิศทางของดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันออกไปถึงทิศตะวันตก และชื่อถนนที่ตั้งในทิศทางขวางตะวัน (ทิศเหนือ-ทิศใต้)โดยชื่อถนนส่วนใหญ่จะตั้งชื่อตามพระนามข้าหลวงต่างพระองค์และโอรส และตามตำแหน่งเจ้านายที่เป็นคนอุบลราชธานีและชื่อข้าหลวงประจำจังหวัด (เจ้าเมืองอุบลราชธานี) ตามลำดับและนอกจากนี้ก็ได้ตั้งชื่อตามประวัติศาสตร์ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก (ตามชื่อข้าหลวงต่างพระองค์และเจ้านายเมืองอุบลราชธานี) คือ

  • ถนนพรหมราช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระพรหมราชวงศา" (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 4 ต้นราชตระกูล "สุวรรณกูฏ"
  • ถนนพรหมเทพ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" (เจ้าหน่อคำ) สืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์นครจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 5 ต้นราชตระกูล "พรหมเทพ"
  • ถนนเขื่อนธานี ตั้งชื่อตามแนวเขตคูเมืองเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยสร้างเมืองอุบลราชธานี เมื่อเก่าผุพังลงจึงได้มีการปรับปรุงให้เป็นถนน และได้ชื่อตามแนวเขตคูเมืองเดิม คือ "เขื่อนธานี"
  • ถนนศรีณรงค์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระยาศรีสิงหเทพ" (ทัด ไกรฤกษ์) และ "พระยาภักดีณรงค์" (สิน ไกรฤกษ์) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ
  • ถนนพิชิตรังสรรค์ ตั้งชื่อตามพระนามของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร" ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2433-2436 ต้นราชสกุล "คัคณางค์"
  • ถนนสรรพสิทธิ์ ตั้งชื่อตามพระนามของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์" ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ประทับ ณ วังสงัด เมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2436-2453 ต้นราชสกุล "ชุมพล"
  • ถนนอุปลีสาน ตั้งชื่อตามพระนามของ "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล" โอรสในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์กับหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา สกุลเดิม "บุตโรบล" (บุตรีท้าวสุรินทร์ชมภู(หมั้น)และหลานราชบุตร(สุ่ย)เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 3)
  • ถนนหม่อมเจียงคำ ตั้งชื่อตามนามของ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา สกุลเดิม "บุตโรบล" (บุตรีท้าวสุรินทร์ชมภู(หมั้น) และหลานราชบุตร(สุ่ย) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 3) หม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก (ตามชื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์) คือ

  • ถนนพโลรังฤทธิ์ ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อจีนฮ่อยกทัพมาเมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทน์ ในครั้งนี้เมืองอุบลราชธานีได้มีการเกณฑ์ไพร่พลไปช่วยในการปราบปรามด้วยและได้มีการรวบรวมกำลังอยู่ที่บริเวณนี้ใต้ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์จึงได้ตั้งชื่อเอาไว้เพื่อเป็นการระลึกถึง ซึ่งคำว่า "พโลรังฤทธิ์" หมายถึง กองทหารที่เพียบพร้อมไปด้วยกำลังและอิทธิฤทธิ์
  • ถนนพโลชัย ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่กองทัพทหารเมืองอุบลราชธานีไปปราบปรามจีนฮ่อที่เมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทนืได้รับชัยชนะ จึงได้ตั้งชื่อเอาไว้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์เพื่อการระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ ซึ่งคำว่า "พโลชัย" หมายถึง กองทหารที่มีชัยเหนือศัตรู
  • ถนนสุรศักดิ์ ตั้งชื่อตามราชทินนามของ "จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี" แม่ทัพบัญชาการกองทหารเมืองอุบลราชธานีไปปราบฮ่อที่แคว้นหลวงพระบางและแคว้นสิบสองจุไท และได้รับชัยชนะจึงได้ตั้งชื่อถนนนี้เอาไว้เป็นอนุสรณ์ และในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพุงดำ
  • ถนนสุริยาตร์ ตั้งชื่อตามทิศทางวงโคจรของดวงอาทิตย์ หรือ อีกนัยหนึ่งอาจมาจากชื่อของ "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์" (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากใต้-เหนือ จากแนวริมฝั่งแม่น้ำมูลขึ้นไป (ตามคณะอาญาสี่ และตามราชทินนาม ของบุคคลที่สำคัญ) คือ

  • ถนนอุปราช ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนราชบุตร ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนราชวงศ์ ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนอุบลเดช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลเดชประชารักษ์" (เสือ ณ อุบล) ผู้ว่าราชการเมือง (ตามระบบเทศาภิบาล พ.ศ. 2440-2442)
  • ถนนอุบลศักดิ์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลศักดิ์ประชาบาล" (กุคำ สุวรรณกุฏ) ยกกระบัตรเมือง (ตามระบบเทศาภิบาลพ.ศ. 2440-2442)
  • ถนนอุบลกิจ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลกิจประชากร" (ท้าวบุญเพ็ง บุตโรบล) ผู้รักษาตำแหน่งเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนสุดท้ายและผู้ช่วยราชการเมือง ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  • ถนนสุรพล ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระสุรพลชยากร" (อุ่น วนะรมย์) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พล (เมือง) ทำหน้าที่กำกับดูแลกำลังพลของเมือง
  • ถนนเทพโยธี ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระโยธีบริรักษ์" (เคลือบ ไกรฤกษ์) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 9
  • ถนนสุนทรกิจวิมล ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระสุนทรกิจวิมล" (คูณ สังโขบล) มหาดไทยเมือง ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (ชื่อตามป้ายถนนคือ "ถนนสุนทรวิมล")
  • ถนนจงกลนิธาน ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระจงกลนิธานสุพันธ์" (สุคำทัด สุวรรณกูฏ) กรมการเมืองผู้ใหญ่ ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  • ถนนพนม ตั้งชื่อตามราชทินนาม "อำมาตย์เอก พระพนมนครานุรักษ์" (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 22
  • สถานีรถไฟอุบลราชธานี เป็นสถานีรถไฟปลายทางของตะวันออกเฉียงเหนือ

หมายเหตุ

  • คณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่ ประกอบไปด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร
  • มณฑลลาวกาว ประกอบไปด้วย เมืองอุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอีสาน ตั้งกองบัญชาการที่เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2455 ได้แบ่งออกเป็น 2 มณฑลคือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด

การขนส่งสาธารณะ

[แก้]
รถสองแถว

การคมนาคมทางบก (ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)

  • มีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทาง เช่น สาย 8 สาย 10 เป็นต้น นอกจากนี้มีการบริการด้วยรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก (สามล้อเครื่อง) และรถแท็กซี่มิเตอร์ โดยให้บริการตามถนนสายต่างๆและสถานที่สำคัญ เช่น หน้าโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ หน้าศาลากลางจังหวัด หน้าตลาดสดเทศบาล 3 เป็นต้น

การคมนาคมทางบก มีการบริการด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจากจังหวัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือและโครงการเดินรถในเขตภาคใต้มายังจังหวัดอุบลราชธานี ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี เช่น

  • กรุงเทพมหานคร (หมอชิตใหม่) - อุบลราชธานี
  • เชียงใหม่ (สถานีขนส่งอาเขต) - อุบลราชธานี
  • ขอนแก่น - อุบลราชธานี
  • อุดรธานี - อุบลราชธานี
  • ระยอง - พัทยา - อุบลราชธานี
  • หัวหิน - อุบลราชธานี
  • ภูเก็ต - อุบลราชธานี

และนอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศระหว่างประเทศซึ่งเดินทางมาถึงเมืองอุบลราชธานี คือ

ท่าอากาศยาน

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี

มีท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี โดยเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2531) ให้บริการโดยสายการบินดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง

ทำเนียบนายกเทศมนตรี[9]

[แก้]
ชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง
1.ร.ต.สุวรรณ  อุณหะรัตน์ พ.ศ. 2479-2484
2.นายผดุง  โกศัลวิตร พ.ศ. 2484-2496
3.นายมงคล  กรินชัย พ.ศ. 2492-2496
4.นายยงยุทธ  พึ่งภพ พ.ศ. 2496-2500
5.นายวรวิทย์  รังสิโยทัย (รอง ผวจ.) พ.ศ. 2500-2501
3.นายมงคล  กรินชัย พ.ศ. 2501-2504
6.นายเริ่ม  อุปถัมภ์ (ปลัดจังหวัด) พ.ศ. 2504-2506
7.นายชุณห์  จันทร์ประสิทธิ (ปลัดจังหวัด) พ.ศ. 2506-2507
8.นายสวัสดิ์  ชาญวิจิตร (ปลัดจังหวัด) พ.ศ. 2507-2510
9.นายสายสิทธิ์  พรแก้ว (ปลัดจังหวัด) พ.ศ. 2510-2511
10.นายประจวบ  ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2511-2515
พ.ศ. 2515-2517
พ.ศ. 2517-2522
พ.ศ. 2522-2528
พ.ศ. 2528-2533
11.นายประสาน  เรืองกาญจนเศรษฐ์ พ.ศ. 2533-2537
12.นายอนันต์  ตันติศิรินทร์ พ.ศ. 2537-2538
13.นายประสาน  ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2538-2541
14.นางเพ็ญพักต์  ศรีทอง พ.ศ. 2541-2543
13.นายประสาน  ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2543-2546
15.นายสมยศ  จรัสดำรงนิตย์ พ.ศ. 2546-2547
16.นายสุชิน  พุ่มอิ่ม (ปลัดเทศบาล) พ.ศ. 2547-2548
17.นางรจนา  กัลป์ตินันท์ พ.ศ. 2548-2551
พ.ศ. 2552-2556
18.นางสาวสมปรารถนา  วิกรัยเจิดเจริญ พ.ศ. 2556-2563
19.นายอัมพล  ทองพุ พ.ศ. 2563
20.นางสาวพิศทยา  ไชยสงคราม พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
  2. "Distance: Bangkok to Ubon". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครอุบลราชธานี ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  4. "รายชื่อ 106 ชุมชน ในเทศบาลนครอุบลราชธานี". เทศบาลนครอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-24. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "จำนวนชุมชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี". กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Climate Data for Ubon Ratchathani, accessed 29 March 2012.
  7. Climatological Information for Ubon Ratchathani, Thailand เก็บถาวร 2011-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 29 March 2012.
  8. "Climate Normals for Ubon Ratchathani AB". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  9. "เทศบาลนครอุบลราชธานี - ทำเนียบนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี". www.cityub.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]