ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครเกาะสมุย

พิกัด: 9°30′57″N 99°56′37″E / 9.5157232°N 99.9435577°E / 9.5157232; 99.9435577
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครเกาะสมุย
จากบนซ้ายไปล่างขวา: ท่าอากาศยานสมุย, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย, น้ำตกนาเมือง, พระเจดีย์แหลมสอ และถนนมุ่งหน้าสู่หาดละไม
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครเกาะสมุย
ตรา
คำขวัญ: 
ปะการังงาม น้ำทะเลใส
หาดทรายขาว มะพร้าวเยอะ
แผนที่
ทน.เกาะสมุยตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทน.เกาะสมุย
ทน.เกาะสมุย
ที่ตั้งของเทศบาลนครเกาะสมุย
ทน.เกาะสมุยตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.เกาะสมุย
ทน.เกาะสมุย
ทน.เกาะสมุย (ประเทศไทย)
พิกัด: 9°30′57″N 99°56′37″E / 9.5157232°N 99.9435577°E / 9.5157232; 99.9435577
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอเกาะสมุย
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีรามเนตร ใจกว้าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด228.7 ตร.กม. (88.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด68,994 คน
 • ความหนาแน่น301.67 คน/ตร.กม. (781.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03840401
สนามบินท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย เลขที่ 29/1 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เว็บไซต์www.kohsamuicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครเกาะสมุย เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในอำเภอเกาะสมุย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 228.7 ตารางกิโลเมตร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวในอำเภอเกาะสมุย เนื่องจากครอบคลุมอำเภอเกาะสมุยเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงหมู่เกาะบางส่วนของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

เริ่มแรกจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499 ในฐานะสุขาภิบาลเกาะสมุย ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง จนกระทั่งเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555[2] มีประชากรใน พ.ศ. 2563 ประมาณ 68,994 คน[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เกาะสมุย ปรากฏชื่อในเอกสารครั้งแรกในหนังสือชีวีวัณย์ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากรมพระยานุพันธ์ วงศ์วรเดช พ.ศ. 2475 มีหลักฐานยืนยันว่ามีผู้คนมาตั้งหลักแหล่งบนเกาะสมุยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเพราะได้กล่าวถึงเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งได้สร้างไว้สมัยกรุงธนบุรี ยังปรากฏหลักฐานจนถึงปัจจุบัน "สมุย" มาจากภาษาใดไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีหลายความหมาย เช่น มาจากภาษาจีนไหหลำ จากคำว่า "เซ่าหมวย" แปลว่า ด่านแรก  บ้างก็ว่ามาจากภาษาทมิฬจากคำว่า "สมอย" แปลว่า คลื่นลม และบ้างก็ว่ามาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในภาคใต้ คือ "ต้นหมุย" จนถึงบัดนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าคำว่า สมุย มีต้นกำเนิดจากภาษาใด

  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะสมุย ในท้องที่บางส่วนของตำบลอ่างทอง[3]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมะเร็ต ในท้องที่ตำบลมะเร็ต[4]
  • วันที่ 23 เมษายน 2506 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลมะเร็ต และเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลอ่างทอง (ยกเว้นหมู่เกาะอ่างทอง) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ ตำบลเกาะพะงัน (ยกเว้นเกาะเต่า) และตำบลบ้านใต้[5]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2516 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย โดยแยกพื้นที่ตำบลเกาะพะงัน และตำบลบ้านใต้ ไปจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเกาะพะงัน กิ่งอำเภอเกาะพะงัน[6] ส่วนเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอ่างทอง (ยกเว้นหมู่เกาะอ่างทอง) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ และเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่เกาะพะลวย ของตำบลอ่างทอง เกาะแตน ของตำบลตลิ่งงาม
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 ยุบสุขาภิบาลเกาะพะงัน กิ่งอำเภอเกาะพะงัน[7] เนื่องจากไม่สามารถบริหารกิจการของสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าได้ และประชาชนในเขตสุขาภิบาลไม่ต้องการให้ท้องถิ่นนี้มีการปกครองเป็นสุขาภิบาล
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2524 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย โดยเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่เกาะพะลวย ของตำบลอ่างทอง เกาะแตน ของตำบลตลิ่งงาม และครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลอ่างทอง (ฝั่งเกาะสมุย) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด และตำบลแม่น้ำ[8]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเกาะสมุย เป็นเทศบาลตำบลเกาะสมุย[9] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2553 เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลเกาะสมุย เป็นเทศบาลเมืองเกาะสมุย[10] โดยยึดพื้นที่ครอบคลุมตามแบบประกาศกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2524 เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย[8] และเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมเกาะฟาน เกาะลุ่มหมูน้อย เกาะฟานใหญ่ เกาะฟานน้อย เกาะส้ม เกาะมัดหลัง ของตำบลบ่อผุด เกาะเตาปูน เกาะมดแดง เกาะกล้วย เกาะตู ของตำบลอ่างทอง เกาะแมลงป่อง เกาะแม่ทับ เกาะดิน เกาะทะลุ เกาะเจตมูล ของตำบลตลิ่งงาม
  • วันที่ 27 มกราคม 2557 เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองเกาะสมุย เป็นเทศบาลนครเกาะสมุย[2]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

เกาะสมุยมีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เกาะนี้มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นและชื้นเกือบตลอดปี เมื่อเทียบกับจังหวัดภูเก็ตและส่วนอื่น ๆ ของภาคใต้ สภาพภูมิอากาศบนเกาะสมุยนั้นแห้งกว่า (เกาะสมุยได้รับฝนประมาณ 1,960 มิลลิเมตร (77.2 นิ้ว) ต่อปี ส่วนภูเก็ตได้ 2,220 มิลลิเมตร (87 นิ้ว)) ฤดูฝนของภูเก็ตกินเวลามากกว่าหกถึงแปดเดือน ส่วนเกาะสมุยมีหยาดน้ำฟ้ามากกว่า 212 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) เพียงสองเดือน) เดือนที่มีหยาดน้ำฟ้ามากที่สุดมักอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน[11] ส่วนช่วงอื่น ๆ จะมีฝนเพียงเล็กน้อยประมาณ 20–60 นาที

ข้อมูลภูมิอากาศของเกาะสมุย (พ.ศ. 2524-2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 33.4
(92.1)
33.9
(93)
35.4
(95.7)
36.5
(97.7)
36.3
(97.3)
36.2
(97.2)
36.0
(96.8)
35.8
(96.4)
35.4
(95.7)
34.1
(93.4)
34.0
(93.2)
32.3
(90.1)
36.5
(97.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.0
(84.2)
29.4
(84.9)
30.6
(87.1)
32.0
(89.6)
32.6
(90.7)
32.5
(90.5)
32.2
(90)
32.1
(89.8)
31.7
(89.1)
30.5
(86.9)
29.6
(85.3)
29.2
(84.6)
31.0
(87.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.8
(80.2)
27.4
(81.3)
28.2
(82.8)
29.1
(84.4)
28.9
(84)
28.7
(83.7)
28.3
(82.9)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.2
(81)
26.8
(80.2)
26.6
(79.9)
27.8
(82)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.2
(75.6)
25.0
(77)
25.6
(78.1)
26.1
(79)
25.7
(78.3)
25.5
(77.9)
25.1
(77.2)
25.2
(77.4)
24.8
(76.6)
24.3
(75.7)
24.1
(75.4)
23.9
(75)
25.0
(77)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.6
(65.5)
19.5
(67.1)
21.0
(69.8)
22.0
(71.6)
22.1
(71.8)
20.6
(69.1)
19.9
(67.8)
21.7
(71.1)
19.4
(66.9)
21.4
(70.5)
20.3
(68.5)
18.8
(65.8)
18.6
(65.5)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 86.2
(3.394)
54.4
(2.142)
80.8
(3.181)
83.1
(3.272)
155.9
(6.138)
124.1
(4.886)
116.3
(4.579)
110.9
(4.366)
121.7
(4.791)
309.8
(12.197)
506.6
(19.945)
210.3
(8.28)
1,960.1
(77.169)
ความชื้นร้อยละ 83 82 82 81 80 78 78 78 80 85 85 82 81
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 11.0 5.6 5.9 8.6 15.6 13.7 14.4 15.2 16.2 19.6 19.2 13.7 158.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 198.4 214.7 238.7 201.0 192.2 150.0 155.0 151.9 144.0 145.7 174.0 176.7 2,142.3
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[12]
แหล่งที่มา 2: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน (ดวงอาทิตย์และความชื้น)[13]

การท่องเที่ยว

[แก้]

เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม

การขนส่ง

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย (ภาพถ่ายปี 2015)

เกาะสมุยมีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย มีสายการบินทั้งในประเทศ และต่างประเทศ กำหนดจุดปลายทางของการบินมาที่ท่าอากาศยานแห่งนี้[14] ใน พ.ศ. 2556 มีจำนวนเที่ยวบินถึง 22,028 เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสารมากกว่า 1.8 ล้านคนต่อปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครเกาะสมุย ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลนครเกาะสมุย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (พิเศษ 18 ง): 28. January 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 84-85. September 20, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (38 ง): 1203–1204. April 23, 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (106 ง): 2443–2447. August 21, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลเกาะพงัน กิ่งอำเภอเกาะพงัน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎรณ์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-11. November 16, 1976.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (215 ง): 4769–4771. December 29, 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-20.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลเมืองเกาะสมุย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 116 ง): 15. October 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  11. "Weather in Thailand". Travelfish.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-15.
  12. "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 23. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
  13. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน. p. 108. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-07-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]