การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี, สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ชื่อเดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้ความแนะนำ หรือรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน
เมื่อผู้ชมเปิดชมรายการโทรทัศน์ของ 7 สถานีดังกล่าว จะมีการแสดงสัญลักษณ์ความเหมาะสมก่อนออกรายการ และ ระหว่างรายการโดยปรากฏตรงด้านล่างซ้ายของจอโทรทัศน์ โดยการจัดระเบียบความเหมาะสมของรายการนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549
อนึ่ง รายการที่ไม่ต้องแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรายการข่าว รายการสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 5 ถึง 10 นาที หรือการถ่ายทอดสด
สัญลักษณ์แสดงระดับความเหมาะสมต่าง ๆ
[แก้]รายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศในแต่ละช่องนั้น จะแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ตามความเหมาะสม ซึ่งมีสัญลักษณ์ 2 แบบ คือ
สัญลักษณ์แบบเดิม
[แก้]เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดการใช้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีลักษณะดังนี้
สำหรับการแสดงสัญลักษณ์นั้น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะใช้ก่อนเข้ารายการตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
สัญลักษณ์แบบใหม่
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ใหม่ โดยลดสีของสัญลักษณ์ลง เหลือเพียง 3 สีคือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง (งดใช้สีฟ้าและสีชมพู) โดยแบ่งรายการระดับ น (รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ) ออกเป็น 2 ประเภทคือ น 13+ และ น 18+ และยกเลิกรายการระดับ ก (รายการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน) โดยแบ่งความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์เป็น 6 ระดับ ประกอบกับมติคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศรายการต่าง ๆ ในแต่ละระดับความเหมาะสมขึ้นไว้ด้วย ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์[1] ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตัวอักษร | ภาพสัญลักษณ์ | คำอธิบาย | รายการโทรทัศน์ตัวอย่าง | ช่วงเวลาออกอากาศ |
---|---|---|---|---|
ป | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ป อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๓ และเครื่องหมาย + ใช้สำหรับรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 3-5 ปี |
เจ้าขุนทอง | ไม่จำกัดช่วงเวลา | |
ด | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปเด็กยิ้มอยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ด อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๖ และเครื่องหมาย + ใช้สำหรับรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 6-12 ปี |
ช่อง 9 การ์ตูน (ส่วนใหญ่) | ||
ท | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเขียว มีสัญลักษณ์รูปบ้านสีขาวอยู่ภายใน ทางขวามือมีอักษร ท อีกแถวหนึ่งมีข้อความว่า ทุกวัย ใช้สำหรับรายการทั่วไป ที่สามารถรับชมได้ทุกวัย คือไม่มีเนื้อหาที่แสดงถึงความรุนแรง หรือเนื้อหาที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม |
ละครออกอากาศก่อน 20:30 น., ชิงร้อยชิงล้าน, เจาะใจ, คดีเด็ด, ช่อง 9 การ์ตูน (เฉพาะบางเรื่อง), ตีสิบ,ศึก 12 ราศี, กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน (ส่วนใหญ่) | ||
น ๑๓ | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเหลือง มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายกากบาท อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร น อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๑๓ และเครื่องหมาย + ใช้สำหรับรายการที่เหมาะกับ ผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ ไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง |
ละครออกอากาศก่อน 22:00 น. | ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 20.30 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น.ของวันถัดไป (ทุกช่องยกเว้นช่อง 8) ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 18.00 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น.ของวันถัดไป (เฉพาะช่อง 8) | |
น ๑๘ | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีเหลือง มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายกากบาท อยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร น อีกแถวหนึ่งมีตัวเลขไทย ๑๘ และเครื่องหมาย + ใช้สำหรับรายการที่เหมาะกับ ผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ จึงไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง |
ละครที่ออกอากาศหลัง 22:00 น., เรื่องจริงผ่านจอ,กรรมลิขิต VRZO | ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 22.00 น. ของทุกวัน
และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น.ของวันถัดไป | |
ฉ | ทางซ้ายมือเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีแดง มีเครื่องหมายฟ้าผ่าอยู่ภายใน ทางขวามือมีตัวอักษร ฉ อีกแถวหนึ่งมีข้อความว่า เฉพาะผู้ใหญ่ ใช้สำหรับรายการเฉพาะผู้ใหญ่ อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา เด็กและเยาวชนไม่ควรรับชม ซึ่งเมื่อพบรายการลักษณะนี้ ไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชม เพราะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว สะเทือนใจ มีผลกระทบทางจิตใจ หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพที่มักจะเกี่ยวกับ บางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ เพื่อป้องกันการเลียนแบบของเด็ก จากเนื้อหาของรายการนั้น ๆ |
ภาพยนตร์ต่างประเทศ
เช่น Fifty Shades ทั้ง 3 ภาค,น้ำผึ้งขม (2552),Fear Factor,บัวปริ่มน้ำ(2549) |
ห้ามมิให้ออกอากาศในช่วงเวลาก่อน 24.00 น. ของทุกวัน และให้ออกอากาศได้จนถึงเวลา 05.00 น. ของวันถัดไป |
สำหรับการแสดงสัญลักษณ์นั้นแต่ละสถานีจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบสัญลักษณ์เองโดยบางช่องใช้รูปแบบจากสัญลักษณ์แบบเดิม หรือบางช่องมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น ช่องพีพีทีวี เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีมุมมนหนึ่งมุมที่มุมบนขวา หรือ ช่อง 8 เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมโค้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2556 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คลิปวิดีโอแสดงสัญลักษณ์การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ เก็บถาวร 2008-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ ททบ.5
- ข่าวกรมประชาสัมพันธ์ เก็บถาวร 2011-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เด็กไทยยิ้มร่า เมื่อทีวีจะมีเรตติ้ง !! เก็บถาวร 2011-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โลกทรรศน์สื่อ โลกทรรศน์แห่งการศึกษาไทย เก็บถาวร 2007-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คน (ใน) วงการทีวี คิดเห็นอย่างไรจัดเรตคนดู?