ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500

← กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2512 →

จำนวนทั้งหมด 160 ที่นั่งใน รัฐสภาไทย
ต้องการ 81 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ30% ลดลง
  First party Second party
 
ผู้นำ สุกิจ นิมมานเหมินท์ ควง อภัยวงศ์
พรรค สหภูมิ ประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำ ส.ส.เชียงใหม่ ส.ส.พระนคร
เลือกตั้งล่าสุด พรรคใหม่ 29
ที่นั่งที่ชนะ 46 39
ที่นั่งเปลี่ยน พรรคใหม่ เพิ่มขึ้น 10

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

พจน์ สารสิน
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ถนอม กิตติขจร
พรรคชาติสังคม

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 นับเป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8[1] ของประเทศไทย เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้คือ 44.1%[2]

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นไปตามบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้กันในเวลานั้น โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคสหภูมิ เป็นพรรคที่ได้รับคะแนนมากที่สุด โดยได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 45 ที่นั่ง จากจำนวนเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร 160 ที่นั่ง[3] ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สอง ได้จำนวน 39 ที่นั่ง แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อันเป็นเมืองหลวง ทางพรรคได้ใช้ผู้สมัครชุดเดิมจากการเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ซึ่งได้เพียง 2 ที่นั่ง ครั้งนี้ได้มากถึง 11 ที่นั่ง นับว่ามากที่สุด และทางพรรคชาติสังคม ที่ตั้งขึ้นมาโดยจอมพล สฤษดิ์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ก็ได้รับเลือกตั้งมาด้วยจำนวน 9 ที่นั่ง[4] โดยภาพรวมการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าน้อยมาก[5] แต่จอมพลสฤษดิ์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและเป็นหัวหน้าพรรคชาติสังคมมีความกังวลว่าพรรคสหภูมิที่ตนเองให้การสนับสนุนจะไม่มีเสถียรภาพมากพอจึงตัดสินใจยุบพรรคสหภูมิและพรรคเสรีมนังคศิลาพร้อมกับดูด ส.ส. ประเภท 1 ซึ่งไม่สังกัดพรรคและ ส.ส. ประเภท 2 ซึ่งมาจากการแต่งตั้งเข้ามาอยู่ในพรรคชาติสังคม

การจัดตั้งรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ได้แนะนำให้ พลโท ถนอม กิตติขจร รองหัวหน้าพรรคพรรคชาติสังคม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา โดย พลโท ถนอม กิตติขจร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 โดยมีบุคคลสำคัญบางคนที่ได้รับตำแหน่งในรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ [6]

ขณะที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม ปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ก็ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง โดยประกาศให้ยกเลิกพรรคการเมืองทั้งหมด, ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และยกเลิกรัฐสภา พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน [7]

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1

พรรค หัวหน้าพรรค แบ่งเขต รวม
พระนคร ธนบุรี กลาง เหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
สหภูมิ สุกิจ นิมมานเหมินท์ - - 13 2 19 7 2 3 46
ประชาธิปัตย์ พันตรี ควง อภัยวงศ์ 8 3 4 10 3 8 1 2 39
เศรษฐกร เทพ โชตินุชิต - - - - 6 - - - 6
เสรีประชาธิปไตย เมธ รัตนประสิทธิ์ - - - - 5 - - - 5
เสรีมนังคศิลา จอมพล ป. พิบูลสงคราม - - 3 1 - - - - 4
ชาตินิยม เนตร พูนวิวัฒน์ - - - 1 - - - - 1
ขบวนการไฮด์ปาร์ค ทวีศักดิ์ ตรีพลี - - - - 1 - - - 1
อิสระ เกตุ วงศ์กาไสย - - - - 1 - - - 1
ไม่สังกัดพรรค 1 - 15 7 18 7 6 3 57
รวม 9 3 35 21 53 22 9 8 160

อ้างอิง

[แก้]
  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p278 ISBN 0-19-924959-8
  3. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-04.
  4. หน้า 292-296, นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2524) สำนักพิมพ์เรืองศิลป์
  5. พรรคจอมพล สฤษดิ์ ชนะเสียงข้างมากในสภา มีผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียงเพียง 30 % ในการเลือกตั้ง หน้า 73, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  6. พลโท ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หน้า 73, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  7. สฤษดิ์ "รัฐประหาร" ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ยกเลิกพรรคการเมือง คุมสื่อ หน้า 77 กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3

ดูเพิ่ม

[แก้]