จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม พ.ศ. 2492
|
|
21 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย |
---|
ผู้ใช้สิทธิ | 24.27% |
---|
|
First party
|
|
|
|
|
พรรค
|
อิสระ
|
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
21
|
|
|
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม พ.ศ. 2492 หรือเรียกตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า การเลือกตั้งเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2492[1] มีขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติมตามจำนวนพลเมืองตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492[2] เป็นการเลือกตั้งทางตรง โดยวิธีรวมเขตเรียงเบอร์ โดยถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง จำนวนผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัดคิดคำนวณโดยถือจำนวนประชาชน 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน เนื่องจากการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม จึงมีการจัดการเลือกตั้งเฉพาะใน 19 จังหวัด ทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นมาอีก 21 คน จากที่มีอยู่เดิม 99 คน
ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 3,518,276 คน มีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 870,208 คน คิดเป็นร้อยละ 24.27 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็นร้อยละ 45.12 และจังหวัดอุดรธานีมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือร้อยละ 12.02
|
---|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2475–2516 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2516–2544 |
---|
|
|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน |
---|
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน แถวแรก: = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ), การเลือกตั้งทั่วไป (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)
นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหาร |
|
|
---|
| | ตัวเอียง หมายถึง ฉบับชั่วคราว |
|
|
|
เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง |
---|
|
|