ตำบลรุ่งระวี
ตำบลรุ่งระวี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Rung Rawi |
สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
อำเภอ | น้ำเกลี้ยง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 37.58 ตร.กม. (14.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 8,312 คน |
• ความหนาแน่น | 221.18 คน/ตร.กม. (572.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 331505 |
องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี | |
---|---|
พิกัด: 14°53′07.6″N 104°31′28.8″E / 14.885444°N 104.524667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
อำเภอ | น้ำเกลี้ยง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 37.58 ตร.กม. (14.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 8,312 คน |
• ความหนาแน่น | 221.18 คน/ตร.กม. (572.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06331506 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ที่ 12 ตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ 33130 |
เว็บไซต์ | rungravee |
รุ่งระวี เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ตั้งของสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี และยังเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบป่าสนสองใบ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลรุ่งระวี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลตำแย อำเภอพยุห์ และตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเสื่องข้าว และตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลพรหมสวัสดิ์ และตำบลตำแย อำเภอพยุห์
ประวัติ
[แก้]เดิมพื้นที่ "รุ่งระวี" เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีเดียวกัน โดยในขณะนั้นรุ่งระวียังมีฐานะเป็นหมู่บ้านหนึ่งในท้องที่ตำบลละเอาะ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จึงได้แยกตัวเป็นตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง โดยรวมเอาหมู่บ้านของตำบลเขินและตำบลละเอาะ ตั้งเป็นตำบลรุ่งระวี[3] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 และมีผลในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกันชื่อตำบลรุ่งระวีได้มาโดยมีปลัดในสมัยนั้นชื่อนายอุดม ได้เสนอชื่อเพื่อเลือก 3 ชื่อ ดังนี้
- "สวนป่า" เนื่องจากพื้นที่มีป่าสงวนแห่งชาติป่าสนละเอาะ ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
- "ลำระวี" ซึ่งเป็นลำห้วยธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่ มีต้นกำเนิดอยู่ที่เขตตำบลไพร อำเภอขุนหาญ
- "รุ่งระวี" โดยใช่ชื่อหมู่บ้านรุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลละเอาะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ มารวมกับชื่อลำห้วยในพื้นที่ กลายเป็นชื่อมงคลนาม และคนในพื้นที่ซึ่งนิยมเรียกชื่อหมู่บ้านรุ่งที่อยู่ติดห้วยระวีว่า "บ้านรุ่งระวี"
และได้ร่วมกันลงมติตั้งชื่อตำบลว่า "ตำบลรุ่งระวี" และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ขึ้นเป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้ตำบลรุ่งระวี กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ เข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอน้ำเกลี้ยง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลรุ่งระวีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านสบายใต้ | (Ban Sabai Tai) | หมู่ 14 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 2 | บ้านสบาย | (Ban Sabai) | หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 3 | บ้านสบาย | (Ban Sabai) | หมู่ 3 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 4 | บ้านโนนงาม | (Ban Non Ngam) | หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ | |||
หมู่ 5 | บ้านหนองพะแนง | (Ban Nong Phanaeng) | หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ | |||
หมู่ 6 | บ้านรุ่ง | (Ban Rung) | หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ | |||
หมู่ 7 | บ้านหนองระไง | (Ban Nong Ra-ngai) | หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 8 | บ้านหนองแคน | (Ban Nong Khaen) | หมู่ 12 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 9 | บ้านหนองแลง | (Ban Nong Laeng) | หมู่ 13 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน | |||
หมู่ 10 | บ้านโนนโพธิ์ | (Ban Non Pho) | หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ | |||
หมู่ 11 | บ้านโนนไชยงาม | (Ban Non Chai-ngam) | - | |||
หมู่ 12 | บ้านหนองสบาย | (Ban Nong Sabai) | - | |||
หมู่ 13 | บ้านกลาง | (Ban Klang) | - | |||
หมู่ 14 | บ้านสบายเหนือ | (Ban Sabai Nuea) | - | |||
หมู่ 15 | บ้านรุ่งเหนือ | (Ban Rung Nuea) | - |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลรุ่งระวี มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรุ่งระวีทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลรุ่งระวี ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533[3] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวีในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[5] จนถึงปัจจุบัน
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลรุ่งระวีประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 15 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,312 คน แบ่งเป็นชาย 4,212 คน หญิง 4,100 คน (เดือนธันวาคม 2564)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอน้ำเกลี้ยง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563 [7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] | พ.ศ. 2559[11] | พ.ศ. 2558[12] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
หนองพะแนง | 1,135 | 1,128 | 1,114 | 1,108 | 1,111 | 1,103 | 1,094 |
รุ่งเหนือ | 846 | 827 | 832 | 819 | 820 | 809 | 796 |
หนองแคน | 697 | 683 | 681 | 699 | 687 | 691 | 688 |
สบาย (หมู่ 2) | 692 | 680 | 684 | 673 | 669 | 666 | 675 |
รุ่ง | 608 | 611 | 618 | 622 | 615 | 615 | 608 |
หนองสบาย | 590 | 588 | 591 | 579 | 586 | 589 | 573 |
สบายเหนือ | 571 | 584 | 588 | 590 | 592 | 580 | 579 |
หนองแลง | 562 | 553 | 546 | 543 | 542 | 539 | 526 |
โนนงาม | 535 | 535 | 541 | 529 | 527 | 514 | 507 |
หนองระไง | 503 | 505 | 505 | 502 | 505 | 505 | 499 |
โนนไชยงาม | 464 | 462 | 454 | 456 | 451 | 455 | 448 |
สบายใต้ | 356 | 361 | 361 | 369 | 380 | 380 | 389 |
โนนโพธิ์ | 285 | 288 | 288 | 290 | 287 | 284 | 284 |
กลาง | 244 | 243 | 242 | 240 | 240 | 238 | 235 |
สบาย (หมู่ 3) | 224 | 226 | 229 | 228 | 232 | 231 | 232 |
รวม | 8,312 | 8,274 | 8,274 | 8,247 | 8,244 | 8,199 | 8,133 |
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา
[แก้]ตั้งอยู่ที่พื้นที่หมู่ 5 บ้านหนองพะแนง ตำบลรุ่งระวี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสนละเอาะ สังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) สำนักการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับหน่วยป้องกันรักษาที่ ศก.5 (ห้วยขะยุง - หนองม่วง) เป็นป่าสนสองใบบริเวณที่ราบผืนสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่รับผิดชอบ 800 ไร่ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม[13] ปีเดียวกัน
ต่อมาได้มีประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 423 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[14] ปีเดียวกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้พะยอม ไม้ประดู่ ไม้พะยุง ไม้ตะเคียน ไม้สน และไม้ชนิดอื่นซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้
การเดินทางไปสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทานี้ สามารถเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ไปตามทางหลวงหมายเลข 221 จังหวัดศรีสะเกษ ไปอำเภอกันทรลักษ์ ตรงกิโลเมตรที่ 28 - 29 ก็จะถึงสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ถนนหลวงจะผ่านพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ที่ทำการสถานีห่างจากถนนใหญ่เพียง 200 เมตรเท่านั้น ปัจจุบันมีเส้นทางเดินชมพื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีข้อมูลของพันธุ์ไม้ต่างๆ ให้ศึกษา และมีสวนสาธารณะเจริญจิต ตั้งอยู่ภายในพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลรุ่งระวี เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 75-79. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 164–165. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-02-19. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ และตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตูมและตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๙๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (72 ก): 802–804. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าในท้องที่ตำบลสนละเอาะ ในท้องที่ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลละเอาะ อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลศรีแก้ว ตำบลตูม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (46 ก): 539–540. วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2512