เทศบาลตำบลไพรบึง
เทศบาลตำบลไพรบึง | |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
อำเภอ | ไพรบึง |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ศักดิ์ชาย ปัญญาทรงรุจิ (ตั้งแต่สิงหาคม 2554–ปัจจุบัน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.00 ตร.กม. (4.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2554)[1] | |
• ทั้งหมด | 10,705 คน |
• ความหนาแน่น | 892.08 คน/ตร.กม. (2,310.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05330601 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 139 หมู่ที่ 20 ถนนเทศบาล 30 ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 33180 |
โทรศัพท์ | 0 4567 5112 |
โทรสาร | 0 4567 5272 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลตำบลไพรบึง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษโดยเป็น 1 ในบรรดาเทศบาลตำบลจำนวน 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ [2] มีสำนักงานตั้งอยู่หมู่ที่ 20 ถนนเทศบาล 30 ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษมาทางทิศใต้ประมาณ 42 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลไพรบึงและตำบลสำโรงพลัน ของอำเภอไพรบึง โดยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานส่วนราชการระดับภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ บริการและการคมนาคมของอำเภอ
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านตราด ตำบลไพรบึง
- ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านทุ่มและบ้านสำโรงธรรม ตำบลสำโรงพลัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านพราน ตำบลไพรบึง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านคอก ตำบลไพรบึง
ประวัติ
[แก้]เทศบาลตำบลไพรบึง มีรากฐานจากการจัดตั้งเป็น สุขาภิบาลไพรบึง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 [3]
โครงสร้างการบริหารและการปฏิบัติราชการ
[แก้]- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี (ปัจจุบันคือนายศักดิ์ชาย ปัญญาทรงรุจิ), รองนายกเทศมนตรี 2 คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาเทศบาลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมฝ่ายบริหาร ภายในสภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน ที่มาจากการเลือกตั้งอีกจำนวน 10 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ประธานสภาเทศบาลคนปัจจุบันคือนายวันนา อินเตสะ รองประธานสภาเทศบาลคนปัจจุบันคือนางอรสา สุภาพ รวมกับสมาชิกสภาเทศบาลที่
- โครงสร้างการปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตานโยบาย ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติราชการคือ สำนักปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุข กองประปา และหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ป่าไม้ หมายถึง ไพรหรือผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นคำหนึ่งที่ประกอบในชื่อเทศบาล สื่อถึงความเขียวขจีของพืชพรรณ ธัญญาหารและป่าไม้
น้ำ หมายถึง บึงหรือแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติขนาดใหญ่ อันได้แก่บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง (หนองใหญ่) ซึ่งเป็นบึงดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ระหว่างชุมชนบ้านไพรบึงกับบ้านสวายทางตอนเหนือของเทศบาล บึงแห่งนี้เป็นที่มาของคำอีกหนึ่งคำที่ประกอบเป็นชื่อเทศบาล บ่งบอกถึงความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ และความมีน้ำใจของชาวเทศบาลไพรบึง
ฝูงนกเป็ดน้ำกำลังโผบิน หมายถึง นกเป็ดน้ำซึ่งเป็นสัตว์ป่าอนุรักษ์และได้รับความคุ้มครอง มีแหล่งพักอาศัยชุกชุมในบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง อันเป็นแหล่งสันทนาการและท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลและของจังหวัดศรีสะเกษ
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]สภาพภูมิประเทศ
[แก้]เทศบาลตำบลไพรบึงตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดศรีสะเกษ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สลับกับลูกคลื่นลอนลาด มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่หนองใหญ่หรือบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง และบางส่วนของลำห้วยชลัง ซึ่งไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของเขตเทศบาล สภาพดินเหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์
[แก้]ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 10,705 คน จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 5,351 คน, เพศหญิง จำนวน 5,354 คน [4] มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 7,593 คน มีบ้านเรือนทั้งหมดจำนวน 2,376 หลังคาเรือน [5] กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งชาวไทยเชื้อสายลาวซึ่งพูดภาษาลาว ชาวไทยเชื้อสายเขมรซึ่งพูดภาษาเขมรสูงหรือขแมร์เลอ ชาวไทยเชื้อสายกูย (หรือกวยหรือส่วย) ชาวไทยเชื้อสายเยอซึ่งพูดภาษากูยเยอ [6] กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ มักประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งพูดทั้งภาษาจีน ภาษาไทยลาวหรือไทยอีสานและเขมรสูงหรือขแมร์เลอ จัดเป็นประชากรส่วนรองซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่เป็นนักลงทุนและเจ้าของธุรกิจค้าปลีกและการบริการ
เขตการปกครอง
[แก้]ภายในพื้นที่เทศบาลจำแนกเป็น 11 ชุมชน ได้แก่ชุมชนหมู่ต่างๆในบางส่วนของตำบลไพรบึงและตำบลสำโรงพลัน ซึ่งไม่นับรวมเป็นเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึงและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงพลัน
โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
[แก้]พื้นที่เขตเทศบาลตำบลไพรบึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานและศูนย์บริการสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ดังนี้
การคมนาคมและขนส่ง
[แก้]- ที่ทำการหมวดการทางไพรบึง (กรมทางหลวง)
- เส้นทางหลักในการคมนาคมทางบกคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 (พยุห์-ขุนหาญ) ซึ่งผ่านเขตเทศบาลตำบลไพรบึง ถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการคมนาคมขนส่งของอำเภอ โดยป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมโยงการเดินทางไปยังจุดสำคัญในทิศทางต่างๆ ดังนี้
- ทางทิศเหนือ เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอพยุห์ ด้วยระยะทาง 20 กิโลเมตร และจากอำเภอพยุห์เชื่อมต่อไปยังอำเภอเมืองศรีสะเกษ ด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 อีก 20 กิโลเมตร รวมเป็นระยะทางจากเขตเทศบาลไพรบึงถึงตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษทั้งสิ้น 42 กิโลเมตร (รถโดยสารประจำทางสายขุนหาญ-ไพรบึง-ศรีสะเกษ)
- ทางทิศใต้ เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอขุนหาญ (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111) ด้วยระยะทาง 20 กิโลเมตร (รถโดยสารประจำทางสายขุนหาญ-ไพรบึง-ศรีสะเกษ)
นอกจากนั้น บริเวณสี่แยกหัวช้าง ในเขตบ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน ของอำเภอไพรบึง ซึ่งห่างจากเขตเทศบาลไพรบึงไปทางทิศใต้ (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111) ประมาณ 3 กิโลเมตร ถือเป็นชุมทางการคมนาคมและการขนส่งขนาดใหญ่อีกจุดหนึ่ง เนื่องจากเป็นจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ชุมทางแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักรถและพักผ่อนสำหรับผู้เดินทาง ซึ่งประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนป้อมตำรวจหน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรไพรบึง
จากชุมทางดังกล่าวด้านด้านทิศเหนือ เข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึงและอำเภอพยุห์, ด้านทิศตะวันออกเป็นเส้นทางเชื่อมโยงไปยัง อำเภอกันทรลักษ์ และจังหวัดอุบลราชธานี , ด้านทิศใต้ไปยังอำเภอขุนหาญ, ด้านทิศตะวันตกไปยังอำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตลอดจนอำเภอต่างๆของจังหวัดสุรินทร์ (อำเภอสังขะ อำเภอปราสาท) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง อำเภอหนองกี่) และจังหวัดนครราชสีมา (อำเภอหนองบุญมาก อำเภอโชคชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสีคิ้ว) แล้วบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เชื่อมโยงต่อเนื่องไปยังจังหวัดสระบุรี จากนั้นเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปยังเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร
- ทางทิศตะวันออก เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอศรีรัตนะ โดยทางหลวงชนบท หมายเลข ศก 4014 และ 3014 ระยะทาง 30 กิโลเมตร
- ทางทิศตะวันตก เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอขุขันธ์ โดยทางหลวงชนบท ระยะทาง 36 กิโลเมตร
- ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาล 64 สาย
- ถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 5 กิโลเมตร
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 61 สาย ระยะทางรวม 37.75 กิโลเมตร
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน ที่โอนให้เทศบาลดูแล พื้นผิวลาดยางแบบ 6 ช่องจราจร จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 2 กิโลเมตร
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน ที่โอนให้เทศบาลดูแล พื้นผิวลาดยางแบบ 2 ช่องจราจร จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 5 กิโลเมตร
- ถนนทางหลวงชนบท ที่โอนให้เทศบาลดูแล จำนวน 3 สาย ระยะทางรวม 4 กิโลเมตร
ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร
[แก้]- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขไพรบึง (33180)
- ชุมสายโทรศัพท์และโทรคมนาคมไพรบึง (บริษัท ทีโอที จำกัด และการสื่อสารแห่งประเทศไทย)
- ผู้ใช้บริการเช่าเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในเขตเทศบาล 400 เลขหมาย
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 22 แห่ง
- เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความถี่ 800/900/1800 (AIS, CAT, DTAC, TRUE)
- ศูนย์วิทยุสื่อสารเทศบาลตำบลไพรบึง
- สถานที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งของรัฐและเอกชน 7 แห่ง
- ระบบเครือข่ายกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ในเขตชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100
พลังงานไฟฟ้า
[แก้]- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอไพรบึง
- ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาล ร้อยละ 100
- ระบบไฟฟ้าส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะ
การประปาและแหล่งน้ำ
[แก้]- สำนักงานการประปาเทศบาลตำบลไพรบึง
- สถานีสูบน้ำ
- โรงกรองน้ำ
- ระบบจ่ายน้ำ
- แหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปา 1 แห่ง
- แหล่งน้ำธรรมชาติ
- หนอง/บึง 6 แห่ง
- ลำห้วย 1 สาย
- อ่างเก็บน้ำ/ฝายทดน้ำ 3 แห่ง
โครงสร้างทางสังคม
[แก้]การศึกษา
[แก้]สถานศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไพรบึงได้แก่
- ศูนย์อนุบาลและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
- โรงเรียนประถมศึกษา
- โรงเรียนอนุบาลไพรบึง เก็บถาวร 2009-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอไพรบึง
- โรงเรียนบ้านสวาย-สนวน
- โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน
- โรงเรียนมัธยมศึกษา
- โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เก็บถาวร 2011-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอไพรบึง
- โรงเรียนวัดไพรบึงวิทยา
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไพรบึง
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอไพรบึง
- ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
[แก้]- วัดในพุทธศาสนา อันเป็นศาสนสถานและฌาปนสถานสำหรับการประกอบศาสนพิธี 4 แห่ง
- วัดไพรบึง (วัดจำปาสุรภี)
- วัดจังกระดาน
- วัดสำโรงพลัน
- วัดสวาย
- สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
- ศาลเจ้าปู่ตาซึ่งเป็นศาลผีประจำชุมชนตั้งอยู่ตามชุมชนต่างๆ เช่น ศาลผีอารักษ์หนองปิด
- เทศกาลและงานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
- ประเพณีสักการะพระพุทธเจดีย์ไพรบึงและพระบรมสารีริกธาตุ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี คาบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ณ วัดไพรบึง
- ประเพณีสงกรานต์ ช่วงวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี
- ประเพณีบุญบ้องไฟ ในช่วงเดือน 6 ของทุกปี
- ประเพณีเข้าพรรษา ใน แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
- ประเพณีแซนโฎนตา หรือประเพณีการทำบุญวันสารทของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมร จัดในวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ณ สวนสาธารณะบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง (หนองใหญ่) และสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ (หนองปิด)
การแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข
[แก้]- โรงพยาบาล 1 แห่ง คือโรงพยาบาลไพรบึง เก็บถาวร 2011-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง)
- แพทย์ 4 คน
- ทันตแพทย์ 2 คน
- เภษัชกร 3 คน
- พยาบาลวิชาชีพ
- พยาบาลเทคนิค
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข
- หอผู้ป่วย 3 หลัง
- ตึกสงฆ์อาพาธ 1 หลัง
- หอพักญาติผู้ป่วย 1 หลัง
- ศูนย์บริการแพทย์แผนไทย
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง เก็บถาวร 2011-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คลินิกการแพทย์แผนปัจจุบัน 4 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
[แก้]- สถานีตำรวจภูธรไพรบึง
- สถานีดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลไพรบึง
- รถยนต์ดับเพลิงขนาดความจุ 4,000 ลิตร 1 คัน
- กระเช้าดับเพลิง
- เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม ติดตั้งตามสถานที่ชุมชน
- รถบรรทุกน้ำขนาดความจุ 10,000 ลิตร 1 คัน
- พนักงานขับรถดับเพลิง 2 คน
- พนักงานดับเพลิง 3 คน
- เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2 คน
- กองร้อย อส.จังหวัดศรีสะเกษ ที่ 10 (อำเภอไพรบึง)
การดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยชุมชน
[แก้]- รถเก็บขยะ
- พนักงานขับรถเก็บขยะ
- พนักงานประจำรถเก็บขยะ
- ถังขยะสาธารณะในที่ชุมชน
- พื้นที่ทิ้งและกำจัดขยะมูลฝอย
การกีฬาและสันทนาการ
[แก้]- สวนสาธารณะ 2 แห่ง
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติหนองปิด
- สวนสาธารณะหนองใหญ่หรือบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง
- สนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกาย
- สนามกีฬาเทศบาลตำบลไพรบึง (สนามฟุตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามแบดมินตัน, สนามบาสเก็ตบอล, สนามเซปักตะกร้อ และลู่วิ่ง)
- ศูนย์บริการฟิตเนสเทศบาลตำบลไพรบึง
- ลานกีฬากลางแจ้งบริการอุปกรณ์บริหารร่างกายเทศบาลตำบลไพรบึง
- สนามฟุตบอลหน้าที่ว่าการอำเภอไพรบึง
- สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลไพรบึง (สนามฟุตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามเซปักตะกร้อ)
- สนามกีฬาโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม (สนามฟุตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามแบดมินตัน, สนามบาสเก็ตบอล, สนามเซปักตะกร้อ และลู่วิ่ง)
- ลานกีฬาที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง (สนามบาสเก็ตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามเซปักตะกร้อ, สนามเปตอง)
นอกจากนี้ ประชากรในเขตเทศบาลยังนิยมวิ่งออกกำลังกายรอบสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ (หนองปิด) และสวนสาธารณะหนองใหญ่หรือบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
[แก้]สภาพพื้นฐานหลักทางเศรษฐกิจ
[แก้]สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจของอำเภอไพรบึง มีพื้นฐานหลักจากการเกษตรกรรม การพาณิชยกรรมด้านการค้าปลีก และการบริการประเภทต่างๆ โดยด้านการเกษตรกรรมนั้นเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดทั้งพืชและสัตว์ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นผลิตผลที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปและที่ผ่านการแปรรูปแล้ว ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว พืชสวนและพืชไร่ สัตว์เลี้ยง ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกและบริการประเภทต่างๆ ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร สินค้าอุปโภค บริโภค อุปกรณ์ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม บริการต่างๆ ด้วยเหตุที่เขตเทศบาลตำบลไพรบึงเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและธุรกิจดังกล่าวของอำเภอ จึงส่งผลให้เขตเทศบาลเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของอำเภอด้วยเช่นกัน
นอกเหนือจากตลาดสดเทศบาลตำบลไพรบึงและย่านศูนย์รวมกิจการค้าปลีกและการบริการแล้ว ในเขตเทศบาลยังเป็นที่ตั้งของสหกรณ์การเกษตรและตลาดกลางรับซื้อข้าวเปลือก ตลอดจนผลิตผลทางการเกษตรของอำเภอไพรบึงด้วย
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
[แก้]- สถานประกอบการประเภทพาณิชยกรรม
- ตลาดสดเทศบาลตำบลไพรบึง 1 แห่ง
- ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เทศบาลตำบลไพรบึง 1 แห่ง
- สาขาของธุรกิจห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต
- สถานบริการทางการแพทย์ พยาบาลและผดุงครรภ์แผนปัจจุบัน 4 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบันและผลิตภัณฑ์ทางเภษัชกรรม
- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
- ร้านเสริมสวยและแต่งผม
- ร้านบริการนวดและสปาบำบัด
- ร้านจำหน่ายและซ่อมอุปกรณ์เครื่องเหล็กเครื่องยนต์
- ร้านจำหน่ายและซ่อมอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ
- ร้านจำหน่าย รับซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และบริการอินเทอร์เน็ต
- ร้านจำหน่ายและรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ร้านจำหน่ายอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง
- ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง
- ร้านรับซื้อวัสดุและของเก่า
- ร้านขายสินค้าปลีก-ส่ง
- ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
- ตลาดรับซื้อข้าวเปลือก 3 แห่ง
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 3 แห่ง และจุดบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก 5 แห่ง
- ร้านจำหน่ายยานพาหนะและชิ้นส่วนอะหลั่ยยานพาหนะ
- ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
- ร้านจำหน่ายพืชพรรณ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ผลิตภัณฑ์เคมี และเครื่องมือทางการเกษตร
- สถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรม
- โรงซ่อมสร้างเครื่องยนต์
- โรงสีข้าว
- สถานประกอบการประเภทบริการธุรกรรมทางการเงิน
- ธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาล 1 แห่ง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาไพรบึง)
- ธนาคารพาณิชย์ของเอกชน ที่กำลังสำรวจตลาด คือ ธนาคารกสิกรไทย
- เครื่องบริการธุรกรรมทางการเงินอัตโนมัติของธนาคารพาณิชย์ (ตู้ ATM) 3 เครื่อง
สถานที่น่าสนใจ
[แก้]- วัดไพรบึง (วัดจำปาสุรภี) เป็นวัดประจำอำเภอ ภายในวัดมี พระพุทธเจดีย์ไพรบึง หรือ พระธาตุไพรบึงซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ สร้างตามแบบศิลปะอินเดียแบบเจดีย์พุทธคยา สูงประมาณ 60 เมตร ยอดฉัตรด้านบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ถือเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและได้รับการเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษและชาวไทยอีกแห่งหนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีในช่วงคาบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ทางวัดกำหนดให้มีงานประเพณีสักการะพระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ
- บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง (หนองใหญ่) เป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ มีฝูงนกเป็ดน้ำซึ่งเป็นสัตว์อนุรักษ์อาศัยอยู่หนาแน่นโดยเฉพาะในฤดูหนาว จึงเป็นแหล่งดูนกเป็ดน้ำที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลเทศบาลตำบลไพรบึง ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปจำนวน อปท แยกรายจังหวัด ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 จัดทำโดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-12-07.
- ↑ ข้อมูลเทศบาลตำบลไพรบึง ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลไพรบึง จากเว็บไซต์เทศบาลตำบลไพรบึง เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.phraibueng.go.th
- ↑ กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- เทศบาลตำบลไพรบึง.รายงานสรุป ประจำปีงบประมาณ 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลไพรบึง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลไพรบึง เก็บถาวร 2012-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของโรงเรียนอนุบาลไพรบึง เก็บถาวร 2011-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เก็บถาวร 2011-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของโรงพยาบาลไพรบึง เก็บถาวร 2011-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง เก็บถาวร 2011-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ของจังหวัดศรีสะเกษ เก็บถาวร 2006-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน