พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ | |
---|---|
อธิบดีกรมราชพัสดุ[1] | |
ประสูติ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 |
สิ้นพระชนม์ | 3 มกราคม พ.ศ. 2459 (58 ปี) |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ เกษมศรี หม่อม 9 ท่าน |
พระบุตร | 30 องค์ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
ราชสกุล | เกษมศรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ[2] พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ สุขสถิตย์ เป็นอธิบดีกรมราชพัสดุ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3][4] และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[5] และเป็นต้นราชสกุลเกษมศรี
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400
ผนวช
[แก้]เมื่อพระชันษาครบอุปสมบท ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 1 พรรษา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439[6] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำกับกรมช่างมุก
รับราชการ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติทรงรับราชการด้านใหญ่ เช่น ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงรับราชการตำแหน่งอธิบดีกรมราชพัสดุ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ทรงปฏิบัติได้ไม่นาน เนื่องจากประชวรพระโรคภายในจึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการประจำ คงรับแต่ราชการจรเป็นครั้งคราว ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อพ.ศ. 2430 เป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ ชุดที่ 3 และได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2
นอกจากทรงงานประจำและงานจรที่ทรงปฏิบัติแล้ว ยังมีงานอดิเรกที่ทรงรักและทรงอัจฉริยภาพอย่างยิ่ง ได้แก่
- การละคร ทรงถนัดทั้งแบบละครเก่าและละครใหม่ ทรงแสดงละครทั้งละครพูดและละครร้อง เช่น โจร 40 ผัวกลัวเมีย และนิทราชาคริต
- การดนตรี โปรดการเล่นซอสามสายและระนาด ทรงจัดตั้งวงมโหรีปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 5
- การเล่นกล้วยไม้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่รู้จักเลี้ยงกล้วยไม้อย่างประณีต จนในที่สุดก็ทรงเพาะพันธุ์ไม้ขึ้นได้สำเร็จ เช่น แคทลียาชื่อ "ทิวากาเรียนา"
สิ้นพระชนม์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประชวรพระโรคบังคนเบาพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2459) ณ วังถนนขาวสามเสน สิริพระชันษา 59 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑป และโปรดให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2459[2]
พระนิพนธ์
[แก้]- โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ ห้องที่ 40 – 41 รวมโคลง 56 บท เนื้อความตั้งแต่ทศกัณฐ์ฝันร้ายจนถึงพิเภกทูลเรื่องทัพยักษ์ในเมืองลงกา
- โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ได้แก่ โคลงประกอบรูปที่ 60 แผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ ภาพพระยาไทรถวายช้างเล็บครบ และโคลงประกอบรูปที่ 82 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท
- วชิรญาณสภาษิต จำนวน 2 บท
- โคลงสุภาษิตใหม่ หรือ โคลงสุภาษิตเจ้านาย จำนวน 16 บท ได้แก่ โคลงความรัก โคลงความเกลียดชัง โคลงความเบื่อหน่าย โคลงความเย่อหยิ่ง โคลงความอาลัย โคลงความริษยา โคลงความพยาบาท โคลงความอาย โคลงความกลัวขลาด โคลงความกล้าหาญ โคลงความเกียจคร้าน โคลงความเพียร โคลงความโทมนัส โคลงความโกง โคลงความสัตย์ซื่อ และโคลงความโกรธ
- โคลงความเท็จ ว่าด้วยของสิ่งเดียวจำนวน 7 บท ต่อมารวมพิมพ์ในชื่อ "โคลงพิพิธพากย์"
- ยันตรสาตร ในโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์
- อธิบายด้วยเครื่องหอม 7 ประการ
- Court ข่าวราชการ 6 ฉบับคือ
- วันจันทร์ เดือน 9 ขึ้น 3 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238 (พ.ศ. 2419)
- วันพุธ เดือน 9 แรม 4 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
- วันศุกร์ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
- วันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
- วันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
- วันจันทร์ เดือน 10 แรม 15 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ มีพระชายา 1 องค์ และหม่อม 9 คน รวม 10 องค์/คน ได้แก่
- หม่อมเจ้าประสานศัพท์ (ราชสกุลเดิม สิงหรา)
- หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม สโรบล)
- หม่อมพลัด
- หม่อมละม้าย (สกุลเดิม ปาณิกบุตร; หม่อมเอกรับตราจุลจอมเกล้า)
- หม่อมเป้า
- หม่อมสอน (สกุลเดิม พวงนาค)
- หม่อมแช่ม
- หม่อมเชย
- หม่อมเชื้อ
- หม่อมแหวน (สกุลเดิม ปาณิกบุตร)
มีพระโอรส 1 พระองค์ กับ 17 องค์ และพระธิดา 12 องค์ รวม 30 พระองค์/องค์ ได้แก่
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หม่อมเจ้าปฏิพัทธเกษมศรี เกษมศรี | ช. | หม่อมเพิ่ม | มีนาคม พ.ศ. 2416 | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 |
|
2 | หม่อมเจ้าเม้า | ญ. | หม่อมเพิ่ม | ก่อน 13 เมษายน พ.ศ. 2417 | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2418 | มิได้สมรส |
3 | หม่อมเจ้าสมบัติบูรณ์ | ช. | หม่อมพลัด | พฤษภาคม พ.ศ. 2417 | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 |
|
4 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (เดิม หม่อมเจ้าขุนเณร) | ช. | หม่อมเพิ่ม | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419[8] | 6 มกราคม พ.ศ. 2476 |
|
5 | หม่อมเจ้าผกามาลย์ เกษมศรี | ญ. | หม่อมละม้าย | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2424[8] | 27 มีนาคม พ.ศ. 2469 | มิได้สมรส |
6 | หม่อมเจ้ารำไพเยาวยุภา ศุขสวัสดิ์ | ญ. | หม่อมเป้า | เมษายน พ.ศ. 2426 | พ.ศ. 2454 | หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ |
7 | หม่อมเจ้า | ช. | ไม่มีข้อมูล | พ.ศ. 2428 | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 | มิได้สมรส |
8 | หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี | ช. | หม่อมเจ้าประสานศัพท์ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429[8] | 25 กันยายน พ.ศ. 2506 |
|
9 | หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี | ช. | หม่อมสอน | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2433[8] | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2476 | หม่อมประภัศร์ (หงสกุล) |
10 | หม่อมเจ้าตระการโชค เกษมศรี | ช. | หม่อมละม้าย | 12 เมษายน พ.ศ. 2424[8] | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2484 | มิได้สมรส |
11 | หม่อมเจ้าสมภพ (เดิม หม่อมเจ้าสำเภา) เกษมศรี | ช. | หม่อมแช่ม | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2434[8] | 24 กันยายน พ.ศ. 2506 | หม่อมเยื้อน (ลักษณะประนัย) |
12 | หม่อมเจ้าเผือก | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล
(พระราชทานเพลิงศพ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2435) |
มิได้สมรส |
13 | หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี | ช. | หม่อมละม้าย | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2436[8] | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 | หม่อมพร (เลาหเศรษฐี) |
14 | หม่อมเจ้าเล็ก | ช. | หม่อมสอน | 1 มกราคม พ.ศ. 2437 | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 | มิได้สมรส |
15 | หม่อมเจ้า | ญ. | ไม่มีข้อมูล | 7 กันยายน พ.ศ. 2437 | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2438 | มิได้สมรส |
16 | หม่อมเจ้าวัฒยากร เกษมศรี | ช. | หม่อมสอน | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2438[8] | 14 เมษายน พ.ศ. 2517 |
|
17 | หม่อมเจ้าอรรคพันธ์ เกษมศรี | ช. | หม่อมเชย | มิถุนายน พ.ศ. 2438 | ตุลาคม พ.ศ. 2461 | มิได้สมรส |
18 | หม่อมเจ้าศุขศรีสมร เกษมศรี | ญ. | หม่อมละม้าย | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2438[8] | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2487 | หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี |
19 | หม่อมเจ้าอุทัยพงศ์ ศุขสวัสดิ์ | ญ. | หม่อมเชื้อ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2439[8] | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ |
20 | หม่อมเจ้า | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | พ.ศ. 2439 | มิได้สมรส |
21 | หม่อมเจ้าสมทรง เทวกุล | ญ. | หม่อมสอน | 17 กันยายน พ.ศ. 2441[8] | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 | หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล |
22 | หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี | ช. | หม่อมแหวน | 15 มกราคม พ.ศ. 2442[8] | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507 | หม่อมเกษรบุปผา (อาคมานนท์) |
23 | หม่อมเจ้าวิไลวรรณ ศุขสวัสดิ์ | ญ. | หม่อมเชื้อ | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2442[8] | 20 มกราคม พ.ศ. 2489 | หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ |
24 | หม่อมเจ้าตุ๊ | ญ. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2451 | มิได้สมรส |
25 | หม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี | ช. | หม่อมละม้าย | 16 เมษายน พ.ศ. 2445[8] | 23 เมษายน พ.ศ. 2532 | หม่อมเจ้าแขไขจรัสศรี (เทวกุล) |
26 | หม่อมเจ้ามัณฑนา เกษมศรี | ญ. | หม่อมเชย | 20 เมษายน พ.ศ. 2445[8] | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 | มิได้สมรส |
27 | หม่อมเจ้าวงศ์แข เกษมสันต์ | ญ. | หม่อมสอน | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445[8] | 18 กันยายน พ.ศ. 2539 | หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ เกษมสันต์ |
28 | หม่อมเจ้าพระมงคลโยค เกษมศรี | ช. | หม่อมแหวน | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2453[8] | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 | มิได้สมรส |
29 | เกษมเสาวภา เกษมศรี | ญ. | หม่อมแหวน | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2457[8] | 29 มกราคม พ.ศ. 2545 |
|
30 | หม่อมเจ้าบุญโศลกเกษม เกษมศรี | ช. | หม่อมแหวน | 12 มกราคม พ.ศ. 2459[8] | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | หม่อมศรีสมบัติ (อาคมานนท์) |
พระนัดดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนัดดารวม 95 คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าปฏิพัทธ์เกษมศรี เกษมศรี มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงชั้น เกษมศรี (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์หญิงชั้นสี่)
- หม่อมราชวงศ์หญิงทรงสอางค์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงสดศรี สุทัศน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงชูศรี เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ระพีพันธุ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงส่องศรี เทพหัสดิน
- หม่อมราชวงศ์หญิงส่งศรี เกตุสิงห์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเสริมศรี เกษมศรี
- หม่อมเจ้าสมบัติบูรณ์ เกษมศรี มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสมศรี สโรบล
- หม่อมราชวงศ์หญิงบูรณศรี เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิริผล เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์สมปอง เกษมศรี (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์สมเพส)
- หม่อมราชวงศ์หญิงพงศ์ศรี พตด้วง
- หม่อมราชวงศ์สมจิต เกษมศรี
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ประพฤทธิ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงประภาศิริ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงศศิโฉม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงแสงโสม เกษมศรี
- หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี)
- หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
- หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
- หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุุภา ศุขสวัสดิ์ มีธิดา 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวาสรำไพ ศุขสวัสดิ์
- หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พงศ์พูนเกษม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงเปรมปรีดิ์มาน เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงศรีสอาด เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงทมยันตี จักษุรักษ์
- หม่อมราชวงศ์พระอุภัยเกษม เกษมศรี อุภยกฺเขโม (บวชเป็นพระภิกษุ จำพรรษาที่วัดราชผาติการามจนถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2514)
- หม่อมราชวงศ์พูนสุข เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงทอร์ศรี คงจำเนียร
- หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงศรีสุภา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงนิลสุดา โตกะหุต
- หม่อมราชวงศ์ชัชวลิน เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงนิลประภา อิศรางกูร
- หม่อมเจ้าสมภพ เกษมศรี มีโอรสธิดา 14 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สมพงศ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์จิราทิตย์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
- หม่อมราชวงศ์ชุณหวงศ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงทำเนา จักรพันธุ์
- ท่านผู้หญิงวรรณพิมล สรเทศน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเดือนเยี่ยม สินทวี
- หม่อมราชวงศ์พงศ์เกษม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงลำเภาพรรณ นุตเวช
- หม่อมราชวงศ์อัครพงศ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิริลักษณา บุรณินทุ
- หม่อมราชวงศ์เกษมศิริพันธุ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงแน่งน้อย ศักดิ์ศรี
- หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิตรเกษม อินทรครรชิต
- หม่อมราชวงศ์หญิงอุรุจิตรา โชติกเสถียร
- หม่อมราชวงศ์อาจิตร เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ทวีโภค เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงศมจิตรา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์อุดมโภค เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์เกษมโภค เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์บูรณโภค เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงเขมจิตรา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ศุภโภค เกษมศรี
- หม่อมเจ้าวัฒยากร เกษมศรี มีโอรสธิดา 9 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมศรี เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ทวีวัฒยา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์วิวัฒย์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์นิติวัฒย์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงเขมวัน แจ๊คสัน
- หม่อมราชวงศ์วรวัฒย์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ปริวัฒย์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงเขมศรี เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
- หม่อมเจ้าหญิงศุขศรีสมร เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงทมยันตี จักษุรักษ์
- หม่อมราชวงศ์อุภัยเกษม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์พูนสุข เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงทอร์ศรี คงจำเนียร
- หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงศ์ ศุขสวัสดิ์ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สรวมสุข ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์เสริมสุข ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงยุพดี ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์ประสานสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงกฤษณา ศุขสวัสดิ์
- หม่อมเจ้าหญิงสมทรง เทวกุล มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงอนงคเทวัญ สุริยสัตย์
- หม่อมราชวงศ์อุทัยเทวัญ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ทรงเทวัญ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์อติเทวัญ เทวกุล
- หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิราธร อินทรปาลิต
- หม่อมราชวงศ์พรพงศ์เกษม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์เขมัสสิริ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงธีรตาร์ เกษมศรี
- หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ ศุขสวัสดิ์ มีธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงเฉลิมสุข บุญไทย
- หม่อมราชวงศ์หญิงขวัญเกษม สุรคุปต์
- หม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี มีโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
- หม่อมเจ้าหญิงวงศ์แข เกษมสันต์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์นิวัทธ์ เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจันทรนิวัทธ์ เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์วงศ์นิวัทธ์ เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์ศุภนิวัทธ์ เกษมสันต์
- เกษมเสาวภา เกษมศรี มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- ปิยะ ศิขรินทร์
- ขนิษฐา วณิชชานนท์
- พงศ์ภากร ปราบณรงค์
- หม่อมเจ้าบุญโศลกเกษม เกษมศรี มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิราวดี จุฑาสมิต
- หม่อมราชวงศ์วีระเดช เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงนพเกตมณี เต็งนิยม
- หม่อมราชวงศ์ระวีวัฒนา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ทิวาพันธุ์ เกษมศรี
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระยศ
[แก้]- 13 กรกฎาคม 2455 – นายหมู่โท[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2439 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2416 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2433 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[11]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อธิบดีกรมราชพัสดุ
- ↑ 2.0 2.1 "การพระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 711–715. 25 มิถุนายน 2459. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ อธิบดีกรมราชพัสดุองคมนตรี
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานสุพรรณบัตร และหิรัญบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (34): 414. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (ง): 2408. 9 มกราคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแก่ท่านที่ได้รับพระสุพรรณบัตรและหิรัญบัตร, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๔๑๗, ๒๒ พฤศจิกายน ๑๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๐๐, ๑ กุมภาพันธ์ ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต, ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พล.ต. ม.ร.ว. และม.ร.ว แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. ที่รฦก 150 ปี วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2550.
- วชิรญาณ เล่มที่ 1 ฉบับที่ 1 จ.ศ. 1246 และพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ กับประวัติเจ้าจอมมารดาจันทร์ในรัขกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : ชาตรี ศิลปสนอง, 2541. (พิมพ์แจกเนื่องในงานฌาปนกิจศพ นางสายหยุด ตะเวทิกุล ณ เมรุวัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
- อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าวัฒยากร เกษมศรี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 17 ธันวาคม 2517. กรุงเทพฯ : ไชยเจริญการพิมพ์, 2517.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2400
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2458
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ราชสกุลเกษมศรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์