เทศบาลเมืองนาสาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองนาสาร | |
---|---|
คำขวัญ: นาสารเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ประชาชนมีการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตรอย่างยั่งยืน | |
พิกัด: 8°47′58.12″N 99°21′48.50″E / 8.7994778°N 99.3634722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | บ้านนาสาร |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | โกศล ศุทธางกูร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 67.13 ตร.กม. (25.92 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 19,871 คน |
• ความหนาแน่น | 296.00 คน/ตร.กม. (766.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04841201 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 30 ถนนเทศบาล2 ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84120 |
เว็บไซต์ | nasancity |
เทศบาลเมืองนาสาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลนาสาร เมื่อปี พ.ศ. 2547
ประวัติ
[แก้]นาสารเป็นตำบลแห่งหนึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแร่ธาตุ จึงมีประชากรต่างถิ่นเคลื่อนย้ายมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน เช่น ทำกิจการเหมืองแร่ ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ทำให้ตำบลนาสารมีประชากรหนาแน่น การค้าเจริญ รุ่งเรือง เศรษฐกิจโดยร่วมดีขึ้นตามดำดับ พร้อมทั้งยังเป็นที่ตั้งของส่วนราชการและสถานศึกษา ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวในปี พ.ศ. 2483 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลตำบลนาสาร ขึ้น เพื่อความสะดวกในบริหารและการปกครอง แต่เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางเกินกว่าที่จะปกครองควบคุมดูแลได้ทั่วถึง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2484 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลนาสาร คงเหลือพื้นที่ทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน 67.13 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลนาสารเป็น เทศบาลเมืองนาสาร[1]
สภาพทางภูมิศาสตร์
[แก้]เทศบาลเมืองนาสาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครทางรถยนต์ 700 กิโลเมตร และทางรถไฟ 673 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ จดตำบลควนสุบรรณและอำเภอบ้านนาเดิม
- ทิศใต้ จดตำบลคลองปราบ
- ทิศตะวันออก จดตำบลลำพูน
- ทิศตะวันตก จดตำบลน้ำพุ
ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขา ภายในบริเวณเขตเทศบาล มีลำห้วยหลายแห่งและมีลำคลองฉวางกว้างไหลผ่านกลางตัวเมืองจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ ส่วนที่ราบสูงมีเพียงเล็กน้อย
พื้นที่ของเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รับอิทธิพลจากลมสรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้มีช่วงฤดูฝนที่ยาวนาน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ตราเทศบาลเมืองนาสารเป็นรูปวงกลมภายในมีรูปช้างสามเศียรทูนพานแร่มีเปลวแสงสว่างจากก้อนแร่ และมีตัวอักษรชื่อ "เทศบาลเมืองนาสาร สุราษฎร์ธานี" อยู่รอบนอก นายบุญสม ชูสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีคนที่สองของเทศบาลเป็นผู้คิดค้นร่างภาพขึ้นมา รวบรวมความคิดจากหลาย ๆ ฝ่ายถือภาพร่างเข้าที่ประชุม ที่ปรึกษาประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล พนักงาน เทศบาล และชาวบ้าน ท่านเอารูปให้ดูแล้วถามว่า "ใครช่วยอธิบายภาพเหล่านี้ด้วยว่าความคิดจะตรงกันหรือไม่" คณะที่ปรึกษานายกเทศมนตรีปรึกษาหารืออยู่พักหนึ่งแล้วท่านผู้หนึ่งก็ตอบว่า "เป็นรูปช้างสามหัวทูนลูกส้มโอ" นายกเทศมนตรีหน้าเสียไปเล็กน้อย "เราเขียนรูปช้างสามหัวทูนพานแร่ ทำไมดูเป็นลูกส้มโอไป" ที่ปรึกษาท่านหนึ่งจึงแก้ว่า "แร่ที่เหมือนส้มโอหรือคล้าย ๆ ก็มี ไม่ต้องแก้ให้ยาก เอาอย่างนี้แหละ" ตราเทศบาลจึงปรากฏเช่นที่เห็นในปัจจุบัน
เขตการปกครอง
[แก้]เทศบาลเมืองนาสารแบ่งเขตการปกครองและการบริหารออกเป็น 24 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนคลองฉวาง
- ชุมชนนาสารนอก
- ชุมชนคลองหา
- ชุมชนศรีเวียง
- ชุมชนพูนศิริ
- ชุมชนประชาสามัคคี
- ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ
- ชุมชนวังหล้อ
- ชุมชนปลายรางพัฒนา
- ชุมชนนายาง
- ชุมชนเหมืองแกะ
- ชุมชนขุนทองหลาง (คลองช้าง)
- ชุมชนทุ่งคาเกรียน
- ชุมชนสะพานหนึ่ง
- ชุมชนหนองม่วง
- ชุมชนซอยร่วมใจ
- ชุมชนสวนมังคุด
- ชุมชนทุ่งคาเกรียนใหม่
- ชุมชนห้วยมุด 1
- ชุมชนห้วยมุด 2
- ชุมชนห้วยมุด 3
- ชุมชนท่าพลา
- ชุมชนอู่มาด
- ชุมชนนาเตรียะ
ประชากร
[แก้]จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 1 กันยายน 2552 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 19,871 คน แยกเป็นชาย 9,852 คน หญิง 10,019 คน จำนวนครัวเรือน 6,620 ครัวเรือน
ประชากรในเทศบาลเมืองนาสารส่วนใหญ่ 99.0 % นับถือศาสนาพุทธ นอกเหนือจากนั้นนับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ และศาสนาอื่นรวมกันประมาณ 1.0 % มีวัด 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง ประชาชนยังยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลขึ้นปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น
การศึกษา
[แก้]ประชากรในเขตเทศบาลเมืองนาสาร เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา ในปัจจุบันเทศบาลเมืองนาสารเป็นเขตปลอดผู้ไม่รู้หนังสือ สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จัดให้มีการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษา
- สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านนาสาร
- สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 1 แห่ง คือ โรงเรียนนาสาร
- สถานศึกษาสังกัดเทศบาล 6 แห่ง คือ
- โรงเรียนเทศบาล 1 (ห้วยมุด) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- โรงเรียนเทศบาล 2 (อู่มาด) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- โรงเรียนเทศบาล 3 (คลองหา) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- โรงเรียนเทศบาล 4 (ทุ่งคาเกรียน) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- โรงเรียนเทศบาล 5 (วสุนธราภิวัฒน์) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองนาสาร เปิดการเรียนการสอนระดับ ปวช.
- สถานศึกษาสังกัดการศึกษาเอกชน 3 แห่ง คือ โรงเรียนพุทธยาศรม โรงเรียนอนุบาลนวพร โรงเรียนจงฮั้ว
สาธารณสุข
[แก้]ในเขตเทศบาลเมืองนาสารมีสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลบ้านนาสาร เป็นโรงพยาบาลทั่วไปสามรถรองรับผู้ป่วยได้ 60 เตียง คลินิก 5 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล 1 แห่ง ศูนย์สาธารสุขชุมชน 2 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]เทศบาลเมืองนาสารมีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งติดต่อ ทั้งภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนอำเภอและจังหวัดอื่น ๆ โดยทางรถยนต์และทางรถไฟกล่าว คือ
- ทางรถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4009 ไปอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเวียงสระ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) ไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร
- ทางรถไฟ ในเขตเทศบาลมีรถไฟผ่านและมีสถานีรับ – ส่ง ผู้โดยสารถึง 2 สถานี คือสถานีรถไฟนาสาร และสถานีรถไฟห้วยมุด
ส่วนการคมนาคมภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียงสามารถไปมาติดต่อได้โดยสะดวก เนื่องจากมีถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกและถนนคอนกรีตที่สามารถใช้ได้ตลอดปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองชะอำ, เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ, เทศบาลเมืองเบตง, เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร, เทศบาลเมืองนาสาร, เทศบาลเมืองบัวใหญ่)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักงานเทศบาลเมืองนาสาร เก็บถาวร 2012-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน