ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดพระนารายณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดพระนารายณ์
ขอบเขตของจังหวัดฝางที่พิจารณาในพื้นที่จังหวัดลพบุรีปัจจุบัน
ขอบเขตของจังหวัดฝางที่พิจารณาในพื้นที่จังหวัดลพบุรีปัจจุบัน
ประเทศ ไทย
ตั้งชื่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,860.65 ตร.กม. (1,104.50 ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (เวลามาตรฐานไทย)

จังหวัดพระนารายณ์ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้นโดยแยกพื้นที่ อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง และ อำเภอโคกเจริญ ออกจากจังหวัดลพบุรี ตามข้อเสนอของนายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2546 ยังไม่มีการบอกว่าเป็นจังหวัดอย่างแน่ชัดแต่อย่างใด

ผลการพิจารณา

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาว่าการแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรี ไปเป็นจังหวัดใหม่ชื่อ "จังหวัดพระนารายณ์" ยังไม่เป็นการสมควร เนื่องจากปัจจุบันจังหวัดลพบุรียังมีพระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นหลักฐาน และได้มีการประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดลพบุรีที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้แบ่งแยกพื้นที่จังหวัดไปเป็นจังหวัดใหม่ ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ปรากฏว่าเนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จำนวนอำเภอในเขตปกครอง จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี จึงยังไม่เห็นสมควรแยกเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรีไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่ในขณะนี้ [1]

การเสนอจัดตั้งจังหวัด พ.ศ. 2553

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2553 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี ได้ยื่นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เกี่ยวกับการจัดตั้งจังหวัดพระนารายณ์อีกครั้ง โดยยกฐานะอำเภอชัยบาดาลเป็นอำเภอเมือง ตำบลม่วงค่อมยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอม่วงค่อม แยกจากอำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ และอำเภอหนองม่วง แต่ไม่ได้รับการพิจารณาเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัด[2]

อ้างอิง

[แก้]