ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ

พิกัด: 17°18′6.6276″N 100°40′39.09″E / 17.301841000°N 100.6775250°E / 17.301841000; 100.6775250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
น้ำตกชาติตระการ
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
ที่ตั้งในประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
พิกัด17°18′6.6276″N 100°40′39.09″E / 17.301841000°N 100.6775250°E / 17.301841000; 100.6775250
จัดตั้งพ.ศ. 2530
ผู้เยี่ยมชม46,603 คน[1] (พ.ศ. 2558)

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2530 เป็นส่วนหนึ่งของเขตนิเวศป่าฝนหลวงพระบาง[2] พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ และเป็นที่ตั้งของต้นน้ำหลายสาย รวมถึงแม่น้ำแควน้อย[1] จุดเที่ยวชมที่สำคัญของอุทยานคือ น้ำตกปากรอง หรือน้ำตกชาติตระการ[1] ซึ่งมีหาดทรายอยู่ใกล้บริเวณที่ว่ายน้ำ[1]

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการมีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ที่พบได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กระจง กระรอก กระเล็น และนกหลายสายพันธุ์[1] พืชที่พบได้แก่ ปาล์ม ไผ่ ยาง[1]

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

น้ำตกชาติตระการ

[แก้]

น้ำตกชาติตระการ หรือ น้ำตกปากรอง มีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น แต่ละชั้นก็มีชื่อที่เรียกแตกต่างกันไป และมีความสวยสดงดงามตามลักษณะของภูมิประเทศ

  • ชั้นที่ 1 ชื่อ มะลิวัลย์ เป็นลานน้ำขนาดใหญ่ ที่รองรับน้ำจากชั้นที่ 2 มีความสูงประมาณ 8 เมตร ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน สามารถลงเล่นได้ บางจุดหากลึกมากก็จะมีป้ายแจ้งให้ทราบ
  • ชั้นที่ 2 ชื่อ กรรณิการ์ ระยะทางขึ้นเขาซึ่งมีความลาดชั้นมาก ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินเท้า ความสวยงามจะแตกต่างจากชั้นที่ 1 เนื่องจากเป็นหน้าผาที่มีหินชั้นลดหลั่นกันไป สายน้ำจะมารวมกันในช่องหินซึ่งทะลุไปยังชั้นที่ 1 ในการขึ้นไปท่องเที่ยวยังชั้นที่ 2 ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หากพลัดตกลงไปในช่องหินอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ชั้นที่ 3 ใช้เส้นทางได้ 2 ทาง ได้แก่ ปีนชั้นหินขึ้นไปสู่ชั้น 3 โดยตรง หรือเดินทางเท้าตามเส้นทางของอุทยาน
  • ชั้นที่ 3 ชื่อ การะเกด สามารถให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้ ซึ่งลักษณะคล้ายอ่างน้ำขนาดใหญ่

แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ

[แก้]
  • ผาแดง หน้าผาที่มีลักษณะชันมีหินทรายสีแดง เส้นทางนี้ต้องใช้เจ้าหน้าที่นำทาง
  • น้ำตกนาจาน มีทั้งหมด 7 ชั้น แต่หินค่อนข้างลื่น จึงยังไม่เปิดเป็นทางการ
  • ผากระดาน เป็นภาพแกะสลักของมนุษย์หินยุคโบราณ ลักษณะเป็นรูปทรงเหมือนเรขาคณิต
  • ถ้ำน้ำมุด เกิดจากน้ำตกนาจาน แยกเป็น 3 สาย
  • ถ้ำกา มีร่องรอยของมนุษย์โบราณ แกะสลักไว้บนแผ่นหินขนาดใหญ่ ราวกว่า 7,000 ปี

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Namtok Chat Trakan National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  2. Luang Prabang montane rain forests