ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประสานศรีใส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ3 มีนาคม พ.ศ. 2408
สิ้นพระชนม์4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 (42 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส (3 มีนาคม พ.ศ. 2408 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2408 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ในรัชกาลที่ 4 ธิดาหม่อมเจ้านิ่ม ปาลกะวงศ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์เจ้าประสานศรีใส ทรงได้เข้าเป็นสามัญสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังได้ทรงร่วมนิพนธ์วชิรญาณสุภาษิต ในโอกาสจัดงานฉลองหอพระสมุดวชิรญาณที่ได้ตั้งมาเป็นปีที่ 8 และพิธีเปิดอาคารใหม่ ณ บริเวณตึกโรงทองเก่า (ปัจจุบันคือ ตึกสำนักราชเลขาธิการ) วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ด้วย[1] พ.ศ.2440 พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในได้ร่วมกันถวายปัจจัยเพื่อปฏิสังขรณ์วัดราชบุรณราชวรวิหาร พระองค์เจ้าประสานศรีใส ทรงร่วมถวายเงิน 2 ชั่ง[2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส ประชวรพระโรคภายในมานาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแพทย์หลวงประกอบพระโอสถถวายพระอาการทรงบ้างทรุดบ้างเป็นลำดับ[3] จนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 เสด็จสิ้นพระชนม์ พระชันษา 42 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2455[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. วชิรญาณสุภาษิต. กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 326 หน้า. หน้า หน้าที่ 258. ISBN 978-616-7308-28-9
  2. "รายพระนามพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายใน ที่ได้ถวายจตุปัจจัยมูล เพื่อการปฏิสังขรณ์ วัดราชบุรณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 12 (ตอน 50): หน้า 496. 13 มีนาคม 1897. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.
  3. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 15): หน้า 390. 14 กรกฎาคม 1907. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.
  4. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2011). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  5. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 16 (ตอน 34): หน้า 498. 19 พฤศจิกายน 1899. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.