ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ27 มกราคม พ.ศ. 2401
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร
สิ้นพระชนม์24 มกราคม พ.ศ. 2479 (77 ปี)
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแก้ว
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา (27 มกราคม พ.ศ. 2401 – 24 มกราคม พ.ศ. 2479) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ประสูติเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2400 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2401) เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 39 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว (สกุลเดิม บุรณศิริ)[1] เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์มีโรคไข้หวัดระบาดภายในพระบรมมหาราชวัง พระองค์ประชวรไข้อย่างรุนแรง พร้อมกับเจ้าจอมเขียน ในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นบาทบริจาริกา ต้องรักษาพระอาการประชวรอยู่หลายวันจึงหายจากพระอาการประชวร ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "วาณีรัตนกัญญา บุตร์หญิงของหม่อมฉันคนหนึ่ง ซึ่งเปนบุตร์มารดาชื่อแก้วนั้น ป่วยลงคนหนึ่ง อาการมากหมอไม่รับ อยู่หลายวันก็หาย หาตายไม่..." เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาววังตายมากถึง 43 คน[2]

เจ้าจอมมารดาแก้วยักยอกนำทรัพย์สินของพระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาไปผลาญเพราะติดการพนัน ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกริ้วคุณจอมนางนี้และพาลไม่โปรดพระราชธิดาพระองค์นี้ด้วย ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาจึงทรงตั้งใจเล่าเรียนกับแอนนา ลีโอโนเวนส์ ด้วยหวังว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพอพระทัย[3] และทรงนำความรู้ที่ได้ถ่ายทอดแก่เน้ย นางทาสในพระองค์จนถึงขั้นอ่านและแปลภาษาอังกฤษได้[4] ต่อมาเจ้าจอมมารดาแก้วเล่นพนันอีกและเสียนางทาสชื่อเน้ยของพระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาไป คราวนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสั่งลงโบยคุณจอมท่านนี้[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญามีพระทัยเอื้อเฟื้อพระราชทานสิ่งของแก่กองเสือป่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463[6] ครั้นในช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพากันอพยพออกจากพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะพระตำหนักฝ่ายในแทบไม่มีเจ้านายประทับอยู่เลย ครั้งนั้นพระองค์ยังคงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระชันษาสูงและทรงพี ทำให้เสด็จพระดำเนินไม่สะดวกนัก พระองค์พำนักอยู่ร่วมกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[7]

พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นเวลาสองปี ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี พระเชษฐภคินีต่างพระมารดา ตราบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2478 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2479)[8] สิริพระชันษา 77 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2479 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2480) ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[9]

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[10]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[10]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 27 มกราคม พ.ศ. 2400 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 24 มกราคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา[11][12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 310
  2. เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 2.[ลิงก์เสีย]
  3. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 136-137
  4. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 138
  5. ลีโอโนเวนส์, แอนนา แฮร์เรียต (เขียน), สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562, หน้า 140
  6. "แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า เรื่อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญาทูลเกล้าฯ ถวายปลาหมึกกับบุหรี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 3828. 13 กุมภาพันธ์ 2463.
  7. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน. 2555, หน้า 134
  8. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0ง): 3196. 2 กุมภาพันธ์ 2478.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙ เล่ม 53, ตอน 0 ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
  10. 10.0 10.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
  13. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-30. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  16. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0ง): 2551. 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2013-04-23. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(26 สิงหาคม พ.ศ. 2476 – 25 มกราคม พ.ศ. 2479)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป