พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2419 พระบรมมหาราชวัง อาณาจักรสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 30 กันยายน พ.ศ. 2456 (36 ปี) พระบรมมหาราชวัง อาณาจักรสยาม |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาแสง ในรัชกาลที่ 5 |
ศาสนา | พุทธ |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี[1] (5 ธันวาคม พ.ศ. 2419 – 30 กันยายน พ.ศ. 2456) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง โดยพระนาม "บีเอตริศภัทรายุวดี" ทรงตั้งตามเจ้าหญิงเบียทริซ พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดีเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง (สกุลเดิม กัลยาณมิตร) ธิดาพระยาไชยวิชิต (ช่วง กัลยาณมิตร)[2] พระนาม ภัทรายุวดี มีความหมายว่า หญิงสาวผู้ประเสริฐ[3] มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระชนนี ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร,[2] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์[4] และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ[5] ตามลำดับ พระนาม "บีเอตริศภัทรายุวดี" ทรงตั้งตามเจ้าหญิงเบียทริซ พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศเจ้าของพระนาม[3][6]
พระองค์มีที่ประทับอยู่ภายในพระราชวังดุสิตซึ่งถูกแบ่งอย่างเป็นสัดส่วนแก่พระมเหสี บาทบริจาริกา และพระเจ้าลูกเธอ ที่ตั้งพลับพลาที่ประทับของพระองค์เจ้าภัทรายุวดีเรียกว่าสวนหนังสือใหญ่[7]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดีประชวรวัณโรคภายใน แพทย์ได้ถวายการรักษา พระอาการทรงบ้างทรุดบ้าง กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 11.21 น. ของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2456 ณ พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชันษา 36 ปี[8] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2457[1]
พระกรณียกิจและความสนพระทัย
[แก้]พระองค์มีศรัทธาในบวรพุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเขียนชมเชยพระองค์เจ้าภัทรายุวดีไว้ว่า "เปนผู้พอพระหฤทัยทรงสดับธรรมเทศนามาก ทรงแล้วจดบันทึกใจความแห่งพระธรรมเทศนานั้นไว้ เพื่อสู่ผู้อื่นอ่าน"[9] และปรากฏพระกรณียกิจเกี่ยวกับพระศาสนาในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา พร้อมด้วยพระองค์เจ้าภัทรายุวดีและพระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุได้ประทานเงิน 240 บาทสำหรับการปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามในมณฑลกรุงเก่า[10] ต่อมาช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2450 พระองค์ได้ประทานเงินจำนวน 2,136 บาทสำหรับปฏิสังขรณ์วัดสมุหประดิษฐ์ อำเภอสาวไห้ เมืองสระบุรี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ปู่ของเจ้าจอมมารดาแสงเป็นผู้สร้าง[11] แต่ต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะจัดตั้งโรงเรียนไทยขึ้นในวัดดังกล่าว พระยาพิไชยรณรงค์สงคราม ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีจึงจัดศาลาโรงธรรมในวัดดังกล่าวขึ้นเป็นโรงเรียน พระองค์เจ้าภัทรายุวดีประทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนประถมสมุหประดิษฐ์" เปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมปีเดียวกัน โดยพระองค์เจ้าภัทรายุวดีจะประทานเงินอุดหนุนโรงเรียนไว้ทุกหกเดือน หกเดือนละ 20 บาท[12]
พระองค์ทรงพระนิพนธ์หนังสือธรรมะได้แก่ หนังสือพระนิพนธ์และธรรมเทศนา และหนังสือปรารภการฟังธรรม ซึ่งทรงนิพนธ์จากการสดับพระธรรมเทศนา โดยทรงบรรยายประโยชน์ของการฟังธรรมไว้ว่า "การฟังธรรมจะเกิดประโยชน์ได้ ก็จะต้องอาศัยความตรึกตรองพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ให้เข้าใจ จนเกิดความเชื่อความจริงใจ ว่า พระธรรมวินัยนี้สามารถจะล่วงทุกข์ได้จริง จึงจะเปนเหตุให้กระตือรือร้นในการปฏิบัติตามธรรมที่ได้ฟังมาแล้วนั้น ๆ"[9] หนังสือธรรมะของพระองค์ถูกตีพิมพ์ในช่วงที่ยังทรงพระชนม์อย่างน้อยสองครั้งโดยไม่เปิดเผยพระนาม แต่หลังการสิ้นพระชนม์จึงมีการระบุพระนามของพระองค์เจ้าภัทรายุวดีในฐานะผู้แต่งในหนังสืออนุสรณ์งานพระศพของพระองค์เอง[9]
ด้านการแพทย์ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2452 พระองค์ได้ประทานเงินบำรุงโรงพยาบาลสามเสน 20 บาท[13] และอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมปีถัดมา เพราะบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันประสูติ[14] วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2454 พระองค์เจ้าภัทรายุวดีและพระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุประทานเงินแจกแก่คนไข้ในโรงพยาบาลคนเสียจริต 20.10 บาท และประทานเงินบำรุงโรงพยาบาลอีก 40 บาท[15]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท[16] |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า[16] |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2419 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 30 กันยายน พ.ศ. 2456 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี[17][18]
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[20]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[21]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[22]
สถานที่เนื่องจากพระนาม
[แก้]- โรงเรียนชุมชนวัดวิหารแดง (วรมิตรภัทรายุวราษฎร์ประดิษฐ์) จังหวัดสระบุรี – ตั้งตามพระนามของพระองค์ เนื่องจากโรงเรียนได้รับอาคารเก่าจากโรงเรียนวัดสมุหประดิษฐ์ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดีสร้างถวายไว้เป็นอาคารเรียนหลังแรกของจังหวัดสระบุรี[23]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 85
- ↑ 2.0 2.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 80
- ↑ 3.0 3.1 ไพกิจ คงเสรีภาพ (2553). พระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี : การวิเคราะห์โครงสร้างและความหมาย (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 137.
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 83
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 87
- ↑ ศรัณย์ ทองปาน (12 กันยายน 2561). "ชื่อจริงและชื่อเล่น (๑๐)". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ปราณชญะ (24 สิงหาคม 2556). "'พระที่นั่งวิมานเมฆ' รมณียสถานแห่งราชจักรีวงศ์ (1)". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 1450. 5 ตุลาคม 2456.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Dr. Martin Seeger (เขียน), นริศ จรัสจรรยาวงศ์ (แปล). ""สัมมาจาริณี" ของวัดเทพศิรินทราวาสสมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) : ความสำคัญของมุขปาฐะและความทรงจำในการศึกษาธรรมะ". Academia. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง กรมหลวงวรเสรฐฯ กับพระองค์เจ้าภัทรายุวดี พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ ประทานเงินปฏิสังขรณ์ วัดสุวรรณดาราราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (17): 258. 24 กรกฎาคม 2447.
- ↑ "คำอธิบาย โคลงนิราศวัดรวกและโคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งกระทรวงธรรมการ แผนกศึกษามณฑล เรื่อง พระองค์เจ้าภัทรายุวดีประทานได้จัดการปฏิสังขรณ์วัดสมุหประดิษฐ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (13): 305. 30 มิถุนายน 2450.
- ↑ "แจ้งความกรมศุขาภิบาล เรื่อง พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ ประทานเงินและผ้าห่มนอนแก่คนไข้ในโรงพยาบาลสามเสน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0ง): 2038. 19 ธันวาคม พ.ศ. 2452.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงนครบาล แผนกกรมศุขาภิบาล เรื่อง พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี ประทานเงินบำรุงโรงพยาบาลสามเสน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0ง): 2294. 1 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกรมศุขาภิบาล เรื่อง พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี กับพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ ทรงพระศรัทธาประทานเงินแจกคนไข้โรงพยาบาลคนเสียจริต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 701. 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2454.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 16.0 16.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
- ↑ "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0ง): 1179–1180. 14 กรกฎาคม 2478.
- ↑ "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1153. 27 ธันวาคม 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0ง): 2444. 22 มกราคม 131.
- ↑ "ประวัติโรงเรียนชุมชนวัดวิหารแดง (วรมิตรภัทรายุวราษฎร์ฯ)". โรงเรียนชุมชนวัดวิหารแดง (วรมิตรภัทรายุวราษฎร์ฯ). 9 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.